“อีอีซี” จับมือสามหน่วยงาน สร้างคนรองรับ ”อุต” เป้าหมาย

04 พ.ค. 2561 | 13:39 น.
- 4 พ.ค. 61 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สํานักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกรศ.) หรือ อีอีซี รุกหนักแผน ผลิตและพัฒนาคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่เเละมีการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 4 ฉบับ กับ สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกอ.) หรือ บีโอไอ ด้วยแนวคิด “พัฒนา – เพิ่ม – สนับสนุน” โดยมีพระพรหมมังคลาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร (เจ้าคุณธงชัย) ร่วมอำนวยพรเเละเป็นสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือของหน่วยงานดังกล่าวเพื่อความเป็นสิริมงคลในครั้งนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความร่วมมือคร้ังนี้ ครอบคลุมการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและทักษะสูงตามความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ท้ังในเชิงปริมาณและคุณภาพ แก้ปัญหาสถานประกอบการขาดแคลนบุคลากร และ ลดปัญหาว่างงานที่เกิดจากการผลิตบุคลากรไม่ตรงความต้องการ รวมถึงการเพิ่มทักษะบุคลากรในระบบการจ้างงาน ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีท่ีก้าวกระโดด ผ่านกระบวนการจัดการศึกษา “สัตหีบโมเดล” เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ผ่านการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และสนับสนุนการ วิจัย สร้างนวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการต่อยอดเชิง พาณิชย์ต่อไป

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออก กล่าวว่า “การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ สอศ. สกอ. และบีโอไอ ในครั้งนี้ เป็นความ ตั้งใจจริงของท้ัง 4 หน่วยงานที่มุ่งผลิตเเละพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ของ อีอีซี เพื่อให้การพัฒนาโครงการ อีอีซี เกิดข้ึนได้อย่างเป็นรูปธรรม และชัดเจน โดยมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสําคัญ” IMG_1121

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง สกรศ. สอศ. สกอ. และสกท. มีทั้งสิ้น 4 ฉบับ โดยมีขอบเขต ความร่วมมือ ดังนี้

1. ความร่วมมือผลักดันสถานศึกษานําร่องและสถาบันระดับอุดมศึกษาระหว่าง สกรศ. สอศ. สกอ. และสกท. โดยทุกฝ่ายจะร่วมกันผลักดันสถานศึกษานําร่องและสถาบันระดับอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนา บุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะตรงตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขต อีอีซี โดยขยาย ความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการในการสนับสนุนการจัดการศึกษาตามรูปแบบ “สัตหีบโมเดล” พร้อมทั้ง ร่วมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานด้านการผลิตและพัฒนากําลังคนเพื่อรองรับการส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาค ตะวันออกตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของรัฐบาล

2. สกรศ. แต่งต้ังคณะทํางานวิจัยและพัฒนากําลังคน EEC เพื่อสร้างเครือข่ายและประสานงาน ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และขยายรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ตามแบบสัตหีบ โมเดล โดยมุ่งพัฒนาสู่มาตรฐาน EEC Model (EEC+) ต่อไป และจะดําเนินการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อ การผลิตและพัฒนากําลังคน EEC ขึ้นท่ีวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี

3. ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง สกรศ. สอศ. และ สกอ. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการ ปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้น ให้บุคลากร รวมถึงครูและวิทยากร ที่มีความรู้ความสามารถ และทรัพยากรที่เพียงพอ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพครอบคลุมถึงการ สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานวิชาชีพระดับนานาชาติในสาขาเฉพาะทาง ในอุตสาหกรรม เป้าหมาย เพื่อให้การรับรองสมรรถนะของบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้มีคุณภาพเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล

4. ความร่วมมือระหว่าง สอศ. สถานศึกษานําร่อง และ สกอ. จะร่วมมือกันในการผลิตและพัฒนา บุคลากรเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายตามความเช่ียวชาญของแต่ละสถานศึกษาในรูปแบบ “สัตหีบ โมเดล” และร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดําเนินงาน รวมถึงใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุดในการดําเนินงาน

5. ความร่วมมือระหว่าง สกรศ. และ สกท. ในการแนะนําบริษัทเอกชนที่เข้ามาลงทุนในเขตพัฒนา พิเศษภาคตะวันออก ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและสมรรถนะ รองรับความต้องการของผู้ประกอบการผ่านการจัดการเรียนการสอนเเบบ“สัตหีบโมเดล” รวมทั้งร่วมกัน ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ฐานข้อมูลความต้องการบุคลากร และความสามารถในการผลิตและพัฒนาของ สถานศึกษาในพื้นที่ภาคตะวันออก เพื่อจับคู่ให้นักลงทุนเเละสถานศึกษาในการผลิตเเละพัฒนาบุคลากรให้เป็นไปตามความต้องการของตลาด นอกจากนี้ สกท. จะช่วยรวบรวมข้อมูลความต้องการแรงงาน (แยกตาม สาขาการศึกษา) ของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในพื้นท่ีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเพื่อ ประโยชน์ในการศึกษาและวิเคราะห์ฐานข้อมูลความต้องการบุคลากรให้เป็นไปตามความต้องการตลาด

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กล่าวว่าสกท. ปรับการส่งเสริมมาสู่การนําเทคโนโลยีเป็นส่วนหลักในการพัฒนา และเป็นการนําเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดไปได้นั้นยังจําเป็นต้องอาศัยสมอง ทักษะและความสามารถของมนุษย์ สกท.ร่วมงานกับหน่วยงานทั้งหมดในการผลิต และพัฒนาบุคลากรขึ้นมาทําหน้าท่ีดังกล่าวทั้งในปัจจุบันและ อนาคต”