เตะถ่วงประมูลคลื่น 5จี! กสทช. รับลูก 'เอไอเอส-ทรู' โยนบอร์ดใหม่ทำคลอด

11 เม.ย. 2561 | 13:36 น.
110461-1953

‘ฐากร’ ประกาศเลื่อนการประมูลคลื่น 1800 ในระบบ 5จี ออกไปจากกำหนดเดิม โยนให้ “บอร์ด กสทช. ชุดใหม่” เป็นผู้ดำเนินการ เชื่อ ‘เอไอเอส-ทรู’ เมินประมูล 1800 เหตุ 2 ค่าย มีคลื่นตุนอยู่ในมือเพียบ

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช. ในวันที่ 11 เม.ย. มีวาระพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ 45 เมกะเฮิรตซ์ โดยเป็นคลื่นในย่านที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ (ดีแทค) จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 16 ก.ย. นี้ โดยสํานักงาน กสทช. จะจัดให้มีการประมูลล่วงหน้าก่อนหมดสัมปทาน โดยคาดว่าจะจัดประมูลในช่วง มิ.ย. นี้

 

[caption id="attachment_275074" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ฐากร ตัณฑสิทธิ์
เลขาธิการ
สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)[/caption]

อย่างไรก็ดี หลักเกณฑ์การประมูลทุกอย่าง สำนักงาน กสทช. จัดทำเรียบร้อยแล้ว แต่ในการประชุมรอบนี้ สำนักงาน กสทช. จะเสนอให้บอร์ดไม่ลงมติพิจารณาอนุมัติหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 เนื่องจากในวันที่ 19 เม.ย. นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะประชุมร่วมกันว่า “จะโหวตเลือก กสทช.ชุดใหม่ หรือไม่” บอร์ดรักษาการก็ไม่ควรก้าวล่วงอำนาจของ กสทช.ชุดใหม่ ควรให้ กสทช.ชุดใหม่ เป็นผู้พิจารณา

แต่หาก สนช. ยังไม่พิจารณาโหวตเลือก กสทช.ชุดใหม่ ในวันดังกล่าว สำนักงาน กสทช. ก็จะเรียกประชุม และให้บอร์ดชุดนี้ลงมติพิจารณารับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 ดังกล่าว


แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์

สำนักงาน กสทช. ยังจะเสนอวาระการประชุม เรื่อง "หลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในปี 2561" นี้ ว่า จะยึดหลักเกณฑ์การประมูลเดิม คือ การเปิดประมูล 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตขนาดละ 15 เมกะเฮิรตซ์ รวมเป็น 45 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องการได้ประมูลใบใหญ่

นายประวิทย์ ลี่สถาพวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ในการประชุมยังคลุมเครือว่า บอร์ดคนอื่น ๆ ในที่ประชุมจะลงความเห็นเรื่องดังกล่าวอย่างไร เนื่องจากบอร์ดแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ กลุ่มแรกต้องการให้เคาะหลักเกณฑ์ทุกอย่างให้แล้วเสร็จตามที่กฤษฎีกาได้ตอบหนังสือกลับมาแล้วว่า บอร์ดชุดนี้ที่เป็นรักษาการมีอำนาจในการดำเนินการ แต่กลุ่มที่ 2 มองว่า ในวันที่ 19 เม.ย. นี้ สนช. จะมีการโหวตเลือกบอร์ด กสทช.ชุดใหม่ แล้ว ดังนั้น เพียงแค่เวลาอีกไม่กี่วัน บอร์ดควรจะยกหน้าที่ให้บอร์ดเป็นผู้พิจารณาตัดสินว่า จะเลือกหลักเกณฑ์ใด และจำนวนใบอนุญาตกี่ใบในการประมูลที่จะเกิดขึ้น


shutterstock219464686

“ผมมองว่า เราจะตัดสินใจอย่างไร ก็น่าจะโดนตำหนิทุกทาง หากบอร์ดรักษาการไม่ยอมเคาะหลักเกณฑ์ ก็อาจจะโดน 157 ที่ไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ แต่หากไปเคาะเลือกหลักเกณฑ์แล้วในอนาคตมีผลเสียหรือผลกระทบอะไรตามมา บอร์ดก็จะถูกฟ้องร้องภายหลัง” นายประวิทย์ กล่าว

นายประวิทย์ กล่าวว่า ความจำเป็นในการเข้าประมูลคลื่น 1800 กับเรื่องขอขยายงวดการประมูลคลื่น 900 ก็มีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ประเด็นที่ดีแทคออกมาเรียกร้องให้หลักเกณฑ์ประมูลกลับไปใช้ร่างเดิม คือ แบ่งคลื่นออกเป็น 9 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ก็เพราะดีแทคเองต้องการอยากจะประมูลจำนวน 4 ใบอนุญาต รวมเป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ เพราะความต้องการคลื่นดีแทคมากกว่าผู้ประกอบการอีก 2 ราย ที่มีคลื่นดังกล่าวไปก่อนหน้านี้แล้ว 15 เมกะเฮิรตซ์ ดังนั้น หากทั้ง 2 ราย อยากจะประมูลก็อาจจะต้องการแค่ 1 ใบอนุญาต จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น ซึ่งเมื่อรวมกับที่มีอยู่ก็จะเป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ โดยปัจจุบัน เอไอเอสมีคลื่นความถี่อยู่ทั้งสิ้น 45 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนทรูมูฟ เอช มี 55 เมกะเฮิรตซ์ ขณะที่ ดีแทคมีคลื่นเหลือเพียง 15 เมกะเฮิรตซ์ ในย่าน 2100 เท่านั้น ภายหลังจากสิ้นสุดสัมปทานใน ก.ย. นี้ ดังนั้น ก็คาดว่า หากสำนักงาน กสทช. สรุปกลับมาใช้หลักเกณฑ์แบบ 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 15 เมกะเฮิรตซ์ ก็จะมีเพียงดีแทคที่เข้าประมูลเท่านั้น


โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

“ตอนแรกก็ไปสรุปกันว่า จะแบ่งเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งแต่ละรายต้องการคลื่นไม่เท่ากัน แต่ไป ๆ มา ๆ สำนักงานฯ เปลี่ยนมาใช้แบบดราฟต์แรก คือ แบ่ง 3 ใบ ใบละ 15 เมกะเฮิรตซ์ ก็คงมีดีแทคที่เข้าประมูลรายเดียว แต่ก็คงไม่ตรงใจดีแทคนัก เพราะต้องการถึง 20 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนอีก 2 ราย เชื่อว่า ไม่เข้าแน่นอน เพราะไม่เหลือเงินประมูลแล้ว ตัวสถาบันการเงินเองก็มีเพดานปล่อยกู้กันเต็มหมดแล้ว และหากไม่เข้าประมูลก็ไม่เสียหายอะไร เพราะคลื่นดีแทคมีก็ยังตามไม่ทันอยู่ดี”

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การเลื่อนการประมูลคลื่นของ กสทช. มีผลต่อการจัดงบประมาณและรายได้ของรัฐบาล เนื่องจากได้มีการนำรายได้ที่จะเกิดขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปแล้ว จึงต้องรีบหารือกับทาง กสทช. เป็นการด่วน เพราะการเลื่อนออกไปจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้มือถือในบางค่ายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและสร้างฐานลูกค้า


23592041_1868436853175861_8976374326674883920_o

เชื่อ! คลื่น 1800 เหลือ
แหล่งข่าวจาก กสทช. เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” เกี่ยวกับประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ว่า การยืดชำระค่างวดให้กับเอไอเอสและทรู ไม่น่าจะมีผลต่อการประมูลคลื่น 1800 ในครั้งต่อไป เพราะถ้า กสทช. ยังยืนยันราคาตั้งต้นประมูลไว้ที่ 37,457 ล้านบาท เคาะครั้งละ 75 ล้านบาท เชื่อว่าเอไอเอสและทรู ไม่เข้าร่วมประมูล เนื่องจากผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย ถือครองคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ รายละจำนวน 15 เมกะเฮิรตซ์อยู่แล้ว นั่นจึงเป็นที่มาที่ กสทช. ตัดสินใจซอยคลื่นจากเดิม 15 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 3 ใบอนุญาต มาเป็น 5 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 9 ใบอนุญาต ประมูลได้สูงสุด 4 ใบอนุญาต หรือประมาณ 20 เมกะเฮิรตซ์ ส่วนดีแทคจำเป็นต้องประมูลคลื่น เพราะสัญญาสัมปทานหมดลงในวันที่ 30 ก.ย. 2561

“หากนำคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ออกมาประมูล กสทช. คงจัดสรรได้ไม่หมด เพราะทรูและเอไอเอสไม่จำเป็นต้องได้คลื่นความถี่เพิ่มอีกต่อไป เพราะคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ประมูลได้มาก่อนหน้านี้มีเหลือเฟือที่จะให้บริการกับลูกค้า” แหล่งข่าว กล่าว


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,356 วันที่ 12-14 เม.ย. 2561 หน้า 02
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ศึกชิง “คลื่น 5G” เดือด! “ดีแทค” สู้ตาย “ซิคเว่” ดอดพบ “ประจิน” AIS-TRUE-JAS รุมกินโต๊ะ
โยนบอร์ดใหม่ประมูล 5 จี


e-book-1-503x62