พร้อมเพย์กดรายได้ค่าฟี KBANKปรับเป้าโต4-5%

06 มี.ค. 2561 | 03:50 น.
กสิกรไทย ปรับเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าธุรกิจ ลดเหลือ 4-5% เหตุธุรกรรมบริหารเงินสดโตช้าลง ผลจากพร้อมเพย์เป็นที่นิยมกดรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติหรือNational e-Payment ของภาครัฐ โดยเฉพาะธุรกรรมรับโอนเงินรูปแบบใหม่ (พร้อมเพย์) ที่เติบโตเพิ่มขึ้นตามพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าและผู้บริโภค กำลังมีผลกระทบต่อค่าธรรมเนียมการโอนเงินของธนาคารพาณิชย์ ที่ทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไป

[caption id="attachment_74754" align="aligncenter" width="334"] ศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ศีลวัต สันติวิสัฎฐ์[/caption]

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รายได้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Transaction Fee) ในส่วนของสายงานผลิตภัณฑ์บรรษัทและผู้ประกอบการปีนี้ น่าจะเติบโตชะลอที่ 4-5% จากปีก่อนที่สูงถึง 12% จากผลกระทบจากระบบโอนเงินใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เพราะนอกจากพร้อมเพย์แล้วยังมี National Digital ID หรือ National e-Payment for Capital Market ซึ่งจะเป็นอีกแรงกดดันให้รายได้ค่าธรรมเนียมปรับลดลง

“ปีก่อนเราทำได้ค่อนข้างดี เพราะพร้อมเพย์ยังไม่ได้มีผลมาก แต่ปีนี้น่าจะเริ่มมีผลบ้าง เราจึงปรับเป้าเหลือแค่ 4-5% เพราะธุรกรรมบริหารเงินสดอาจจะลดลง แต่ในทางกลับกันต้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ของธนาคารปรับลดลงด้วย ถือว่าธนาคารยังมีความสามารถทำรายได้อยู่ ไม่ได้เป็นการหายฝั่งเดียว”

บาร์ไลน์ฐาน ทั้งนี้ กลยุทธ์ในปี 2561 ภายใต้บริการดิจิตอลเพื่อลูกค้าธุรกิจ ธนาคารจะมุ่งเน้นช่วยลูกค้าลดต้นทุนทางด้านธุรกรรม ธุรกรรมมีความสะดวกรวดเร็ว ลดระยะเวลาของลูกค้าผ่านการเชื่อมระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยในการบริการ ภายใต้ 3 บริการหลักๆ คือ 1. บริการบริหารสภาพคล่องบนอินเตอร์เน็ต (K-Connect-Liquidity) โดยจะช่วยลูกค้าบริหารเงินระหว่างบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และง่ายต่อการควบคุมและตรวจสอบ

2. บริการหนังสือคํ้าประกันบนอินเตอร์เน็ต (K-Connect-LG) ที่ลูกค้าสามารถตรวจและแก้ไขฉบับร่างก่อนออกฉบับจริงได้ ซึ่งปีที่ผ่านมาเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 21% และลดต้นทุนเฉลี่ยจากเดิมอยู่ที่ 3,000 บาทเหลือหลักร้อยบาทเท่านั้น

3.บริการโอนเงินต่างประเทศผ่านฟินเทค ซึ่งลูกค้ารู้วันรับเงินแน่นอน ค่าโอนเงินชัดเจน ได้รับเงินเต็มจำนวนและสามารถใช้ผ่าน K PLUS ได้ โดยปัจจุบันธนาคารมีพันธมิตรฟินเทค 4 ราย มีผู้ใช้งานบริการการค้าระหว่างประเทศอิเล็ก ทรอนิกส์ในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 20% และยังพบว่า ผู้ใช้งานบริการธนาคารอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 60% มีปริมาณธุรกรรมการรับชำระผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น 57% เช่น รับเงินจาก ATM, K Cyber Banking, K PLUS ตัวเลข เหล่านี้สะท้อน ถึงทิศทางการใช้ระบบอิเล็ก ทรอนิกส์สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,345 วันที่ 4 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว