ทางออกนอกตำรา : ยึดอำนาจจากมหาชน เรื่องใหญ่ในตลาดหุ้น

03 มี.ค. 2561 | 08:59 น.
 

23656 182812-1024x576 มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่เห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่...) พ.ศ. .... ชุดยกระดับการกำกับดูแลตลาดทุนให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล (ร่าง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ชุดยกระดับฯ) ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 กำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่ในตลาดหุ้นไทย ที่นักลงทุน ผู้บริหารบริษัทมหาชน จำกัด ผู้ถือหุ้น จะต้องรับรู้และเข้าใจ

ใครจะว่าอย่างไรผมไม่รู้ แต่ผมเห็นว่า นี่คือการให้อำนาจสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการใช้ดุลพินิจตามกฎหมายเข้าไป “ควบคุมกิจการ” ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯชนิดที่ผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร เจ้าของกิจการเอกชน ไม่มีสิทธิมีเสียง
2392751a3917eb178bcf94c5548e3939 เหมือนกับกฎหมายสถาบันการเงิน และกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ให้อำนาจพิเศษแก่แบงก์ชาติเข้าไป “ควบคุมกิจการ” สั่งลดทุนเพิ่มทุนในสถาบันการเงินได้ เมื่อเห็นว่ากระทบกับผู้ฝากเงิน และระบบเศรษฐกิจโดยรวม

ความต่างอยู่ที่ที่กฎหมาย ก.ล.ต.นั้นคือการก้าวล่วงเข้าไปใช้สิทธิแทนผู้ถือหุ้นที่มีอำนาจเหนือกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เหนือกฎหมายบริษัทมหาชน เนื่องจากให้เข้าไปมีอำนาจสั่งให้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้กลไกปกติในการแก้ปัญหาได้ จะช่วยทำให้บริษัทจดทะเบียนสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามในวงกว้าง
pp รวมถึงปรับปรุงการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เป็นธรรม สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ขณะที่พ.ร.บ.สถาบันการเงิน และพ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศให้อำนาจแบงก์ชาติเข้าไปดูแลผู้ฝากเงินที่สถาบันการเงินนำเงินฝากของคนจำนวนมากไปปล่อยกู้หากำไร และรักษาเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจ

นี่คือเรื่องใหญ่ที่บริษัทมหาชนจำกัด เอกชนต้องรับรู้และศึกษา ว่าอำนาจพิเศษนั้นเข้าไปรอนสิทธิ์ใครหรือไม่
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ อย่าลืมว่า บริษัทมหาชนจำกัด มีพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 กำกับอยู่ มีข้อกำหนดให้บริษัทนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่มีสิทธิในทรัพย์สิน และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวัน กฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นต่อประชาชนจะถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คอยกำกับดูแล

แต่อำนาจที่ให้จากร่างกฎหมายใหม่นั้น ให้อำนาจเข้าไปแทรกแซงกิจการภายในของบริษัทจำกัด (มหาชน) แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด mp17-3251-a

ข้อมูลเบื้องต้นที่กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์ และก.ล.ต.อธิบายว่า มติดังกล่าว เพื่อ

1.ปรับปรุงบทนิยามการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ทุนจดทะเบียนขั้นตํ่าและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทที่รัฐมนตรีกำหนดเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้กฎหมายมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับนวัตกรรมและบริการรูปแบบใหม่ ส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน และทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง หลากหลาย ด้วยค่าใช้จ่ายที่ตํ่าลง

2. เพิ่มกลไกในการแก้ไขปัญหาของบริษัทจดทะเบียน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (คณะกรรมการ ก.ล.ต) มีอำนาจสั่งให้มีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน ในกรณีที่ไม่สามารถใช้กลไกปกติในการแก้ปัญหาได้ จะช่วยทำให้บริษัทจดทะเบียนสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และป้องกันมิให้ปัญหาลุกลามในวงกว้าง

3. ปรับปรุงการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เป็นธรรม สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
17-680x365_c 4. เพิ่มประสิทธิภาพ ความชัดเจน และความโปร่งใสในการดำเนินงานในตลาดทุน โดยปรับปรุงบทบัญญัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความชัดเจน และความโปร่งใสในการดำเนินงานของคณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ก.ล.ต.

5. ปรับปรุงบทกำหนดโทษ โดยการปรับปรุงบทกำหนดโทษและการเปรียบเทียบความผิด เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าว

อาจดูดีมีสาระ แต่อย่าลืมว่าก่อนหน้านี้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจพิเศษในมาตรา 44 ทำการรัฐประหารตลาดทุนไปแล้ว  (ดูกราฟิกประกอบ)

คราวนี้มาให้อำนาจตาม มาตรา 89/33 ให้อำนาจก.ล.ต.เบ็ดเสร็จไปจัดการ คำถามคือ ที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายเดิมเต็มที่หรือยัง ทำไมปล่อยให้บริษัทจำกัดมหาชนทำผิดกฎหมายเต็มไปหมด มีกรรมการไม่ครบก็ได้ รอนสิทธิ์ผู้ถือหุ้นก็ทำได้

ถ้ายังไม่ทำอย่างเต็มที่อย่าไปให้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเลยครับ

………………….
คอลัมน์: ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3345  ระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว