ทางออกนอกตำรา : อย่าล็อกสเปก ขุมทรัพย์พลังงานไทย

01 มี.ค. 2561 | 11:06 น.
หัวคอลัมน์-Recovered 5545485 ฉบับที่แล้ว ผมนำเสนอเรื่องการตัดสินใจของ ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ตัวแทนของรัฐบาลไทยที่กล้าประกาศ “เปิดสนามชิงเค้กพลังงานของประเทศ” ให้มีการประมูลแหล่งปิโตรเลียมในอ่าวไทยคือ “แหล่งบงกช-แหล่งเอราวัณ” ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นตำนานหน้าใหม่ของประเทศ (อ่าน..ทางออกนอกตำรา : ยกแรก ‘เค้กปิโตรเลียม’ ขาใหญ่พรึ่บ)

แน่นอนว่า การเปิดประมูลแหล่งพลังงานของไทยไม่เพียงจำกัดวงแคบแค่ “THAILAND”เท่านั้น หากแต่จะสร้างความฮือฮาในวงการพลังงานระดับภูมิภาคอย่างแน่นอน เพราะในย่านเอเชียแล้วเค้กด้านพลังงานกลายเป็นประเด็นของโลกที่จับจ้องมองอยู่

แหล่งก๊าซและแหล่งนํ้ามันดิบในกลุ่มแหล่งก๊าซเอราวัณและแหล่งใกล้เคียง แปลง 10 11 12 13 มีแหล่งผลิตก๊าซที่สำคัญ 4 กลุ่ม และแหล่งผลิตนํ้ามัน 1กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มแหล่งก๊าซเอราวัณ(Erawan Complex) กลุ่มแหล่งก๊าซและนํ้ามันดิบปลาทอง (Platong Complex) กลุ่มแหล่งก๊าซสตูล (Satun Complex) และกลุ่มแหล่งก๊าซฟูนาน(Funan Complex)
9-7-2560-11-49-54 แหล่งก๊าซและแหล่งนํ้ามันดิบในกลุ่มแหล่งก๊าซบงกช แปลง 15 16 17 ประกอบด้วยแหล่งบงกช และ บงกชใต้ ผลิตก๊าซรวมกันได้ประมาณ 885 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ประมาณ 32,480 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งมีหลุมผลิตประมาณ 440 หลุม จากแท่นหลุมผลิต 32 แท่น

ขุมทรัพย์พลังงานทั้ง 2 แหล่ง ปัจจุบันมีกำลังผลิตอยู่ประมาณวันละ 2,214 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 76% ของปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ถือเป็นแหล่งที่ใหญ่ที่สุดในอ่าวไทย จึงเป็นเค้กก้อนใหญ่ที่ใครๆก็อยากได้

แม้จะมี “สัญญาณที่กดดันราคา” จากบรรดาขาใหญ่ในวงการพลังงานว่า การสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่อ่าวไทยมีความเสี่ยงสูงในเรื่องของการขุดพบพลังงานที่มากกว่าในอดีต และมีปริมาณก๊าซมากกว่านํ้ามันดิบก็ตาม
aaaP1-2-3162 แต่เราจะเห็นร่องรอยว่าขาใหญ่ในวงการพลังงานของโลกประกาศตัวขอลงชิงชัยในเวทีการประมูล ข้อมูลที่ผมมีที่แน่ชัดว่าเข้าประมูลแน่ประกอบด้วย

1.บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ผู้ผลิตในแหล่งบงกช

2.บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ที่ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตและขุดเจาะในแหล่งเอราวัณ

3.กลุ่ม Mubadala Petroleum (MP)บริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน Mubadala Investment Companyสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือ UAE

4.กลุ่ม CNOOC (China National Offshore Oil Corporation) ยักษ์ใหญ่พลังงานของจีน

5.กลุ่มบริษัท มิตซุยฯ ซึ่งมีบริษัท โมเอโกะฯ ที่มาลงทุนในไทยอยู่แล้ว ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้พร้อมเข้าร่วมประมูลขุมทรัพย์พลังงานไทยอย่างแน่นอน
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1
ผมเห็นว่า ไม่ว่ารัฐบาลจะนำวิธีการใดมาใช้บริหารจัดการกับแหล่งสัมปทานที่กำลังจะหมดอายุลงทั้งแหล่งเอราวัณ และแหล่งบงกช ผู้ตัดสินใจทางนโยบายและข้าราชการในกระทรวงพลังงานจะต้องขบคิดให้รอบคอบ เพื่อมิให้มีการกดราคา และหาประโยชน์เข้าแผ่นดิน

เรื่องแรกคือ ความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติจากทั้ง 2 แหล่ง ที่จะถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี การผลิตไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม มีความเสี่ยงจากการบริหารจัดการที่กำลังจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน

เรื่องที่ 2 คือปริมาณพลังงานในแหล่งเอราวัณ-บงกช ซึ่งว่ากันว่าตัวเลขระหว่างราชการไทยกับเอกชนนั้น เป็นตัวเลขเดียวกันยังกับแกะมาจากพิมพ์เขียวเดียวกันว่า จะสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ได้ต่อไปอีกแค่ 10 ปีเท่านั้น ทำไมจึงมีการสื่อความกันเป็นเช่นนั้นเพราะเรื่องนี้มีผลมากต่อราคาและเงินลงทุนที่จะต้องนำมาใช้ในการขุดเจาะพัฒนาแหล่งเมื่อเทียบกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เหลืออยู่
dmf112 เรื่องที่ 3 ทำไมต่างชาติจึงสนใจเข้ามาร่วมขุดเจาะ ถ้าปริมาณมีเพียงแค่น้อยนิดและสภาพภูมิศาสตร์ในการขุดเจาะมีความยากลำบาก และต้องใช้เงินสูงเกินกว่าหลุมละ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มีอำนาจจะต้องตัดสินใจ เพื่อรักษาผลประโยชน์กับรัฐมากที่สุด

ขณะเดียวกันนั้น TOR การเปิดประมูลจะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ เพื่อป้องกันการล็อกสเปกให้กับผู้หนึ่งผู้ใด ทำได้มั้ยครับ 1519826809071 ..............................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3344 หน้า 6 ระหว่างวันที่ 1-3 มี.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว