สธ.ชวนชาวพุทธช่วยกันดูแลสุขภาพพระสงฆ์

28 ก.พ. 2561 | 09:36 น.
กระทรวงสาธารณสุข เชิญชวนพุทธศาสนิกชน ดูแลสุขภาพพระสงฆ์ ลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ให้ความสำคัญกับอาหารถวายพระ ลดหวาน มัน เค็ม ขยายวัดส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพิ่มยาสมุนไพรในชุดสังฆทาน

[caption id="attachment_263868" align="aligncenter" width="503"] วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2561) ที่วัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เนื่องในวันมาฆบูชา วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2561) ที่วัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย พร้อมด้วยนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกันแถลงข่าวการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ เนื่องในวันมาฆบูชา[/caption]

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย  กล่าวว่า จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์รับสั่งถึงวิธีการดูแลพลานามัยของพระองค์ว่า “เน้นเรื่องลดหวาน มัน เค็ม ไม่เติมเครื่องปรุง รสชาติกลมกล่อม ไม่ต้องรสจัด ทุกอย่างต้องพอดี  จะช่วยเรื่องสุขภาพได้” กระทรวงสาธารณสุขจึงได้น้อมนำแนวทางดังกล่าวมารณรงค์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการเลือกอาหารที่จะถวายพระสงฆ์ วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นวันมาฆบูชา พุทธศาสนิกชนจะเข้าวัด ตักบาตร ฟังธรรม เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยจะเลือกอาหารที่คิดว่าดีที่สุด อาจทำให้พระสงฆ์มีภาวะโภชนาการเกิน เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือ NCDs ได้ โดยจากการคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์-สามเณรทั่วประเทศ  ในปี 2559 พบว่าป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะอ้วน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหลอดเลือดหัวใจ ตามลำดับ

12 นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ โดยกรมอนามัยจัดทำโครงการวัดส่งเสริมสุขภาพ บูรณาการการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับศิลปวัฒนธรรมในความเป็นวัด ใช้หลัก 5 ร. คือ สะอาดร่มรื่น สงบร่มเย็น สุขภาพร่วมสร้าง ศิลปะร่วมจิต (วิญญาณ) และชาวประชาร่วมพัฒนา ให้สามารถบริหารจัดการสุขภาพได้ด้วยตนเอง เพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ สร้างชุมชน ท้องถิ่นและองค์กรรอบรู้สุขภาพ สู่วัดรอบรู้สุขภาพ (Health Literate Temple) รณรงค์ให้ชุมชนจัดงานบุญปลอดเหล้า ถวายอาหารสุขภาพ เป็นต้น ปัจจุบันมีวัดที่ผ่านเกณฑ์ประเมินวัดส่งเสริมสุขภาพ 4,320 วัด และร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สสส. และพระสงฆ์นักพัฒนา พัฒนาหลักสูตรพระคิลานุปัฏฐาก (พระอาสาสมัครส่งเสริมสุขภาพประจำวัด-อสว.) เพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ภายในวัดให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและขับเคลื่อนการดำเนินงานธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ กล่าวว่า ได้คัดเลือก ผลิตภัณฑ์ยาจากสมุนไพรที่มีความจำเป็นและเหมาะสม 9 ชนิด สำหรับถวายสังฆทานแด่พระสงฆ์ ได้แก่ ยาฟ้าทะลายโจร แก้ไข้ ป้องกันหวัด บรรเทาอาการท้องเสีย ยาขมิ้นชัน บรรเทาอาการท้องอืด ยาหอม แก้ลมวิงเวียน ยาดมสมุนไพร บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ ทำให้สดชื่นผ่อนคลาย ยาอมมะแว้ง ขับเสมหะ บรรเทาอาการไอน้ำมันไพล/ยาหม่องไพล บรรเทาอาการปวดเมื่อย คาลาไมน์พญายอ แก้ผดผื่นคัน ตะไคร้หอม ป้องกันยุงกัด และยาเหลืองปิดสมุทร แก้อาการท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อ อุจจาระไม่เป็นมูกเลือด

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 นอกจากนี้ การถวายต้นสมุนไพรสดเป็นสิ่งที่อยากแนะนำ เพราะช่วยส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้วัดและชุมชนใกล้เคียงได้นำไปปลูกและใช้ประโยชน์ดูแลสุขภาพเบื้องต้น เช่น ตะไคร้ ช้าพลู บัวบก ฟ้าทะลายโจร มะกรูด มะระขี้นก ว่านหางจระเข้  สะระแหน่  ขิง กระเพรา เป็นต้น หรือหากประชาชนประสงค์จะเลือกรายการยาจากสมุนไพร สำหรับถวายพระสงฆ์เองตามที่ต้องการ สามารถสืบค้นสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการเจ็บป่วยโรคต่างๆ รวมถึงสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรใกล้บ้านท่านผ่านแอปพลิเคชัน สมุนไพรเฟิร์ส (samunpraifirst) ได้อีกช่องทางหนึ่ง

ด้าน นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิชย์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จากข้อมูลการสำรวจสุขภาพพระสงฆ์ของโรงพยาบาลสงฆ์ได้คัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ สามเณรทั่วประเทศ ในปี 2549 และปี 2559 เปรียบเทียบกันพบว่า พระสงฆ์กลุ่มสุขภาพดีร้อยละ 60.3 ลดลงเหลือ ร้อยละ 52.3 กลุ่มพระสงฆ์ภาวะเสี่ยงจากร้อยละ 22.2 ลดลงเหลือ ร้อยละ19.2 และกลุ่มพระสงฆ์อาพาธกลับ เพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 28.5 ซึ่ง 5 อันดับโรคแรกของพระอาพาธที่รักษาในแผนกผู้ป่วยนอก ของโรงพยาบาลสงฆ์ ปี พ.ศ. 2560 คือ โรคไขมันในเลือดสูง  โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน    โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้อเข่าเสื่อม และ 5 อันดับโรคแรกของพระอาพาธที่รักษาในแผนกผู้ป่วยใน คือ โรคต้อกระจก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  โรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ โรคท้องร่วง โรคเบาหวาน จากการสำรวจพบว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากภัตตาหารที่ได้รับมาจากการบิณฑบาตที่ไม่สามารถเลือกฉันได้ ประกอบกับในอาหารชุดสำเร็จรูปที่ขาย  ตามท้องตลาดส่วนใหญ่หรือที่แม่ค้าจัดไว้ให้ เป็นอาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายน้อย ในขณะที่มีปริมาณน้ำตาล น้ำมัน เกลือ กะทิ หรือโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการ เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารลักษณะนี้ไปติดต่อกันไปนานๆ จะทำให้อาพาธด้วยโรคต่างๆ

13 ด้าน นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  กรมควบคุมโรคได้จัดทำคู่มือ แนวทาง แผ่นพับ โปสเตอร์ วีดีทัศน์ องค์ความรู้การป้องกันโรคไม่ติดต่อสำหรับพระสงฆ์ ในเรื่องอาหาร การเคลื่อนไหวอิริยาบถ  การดูแลเสนาสนขันธ์ของพระภิกษุและสามเณร และได้มอบให้วัด เพื่อให้พระสงฆ์มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อให้กับตนเองและเผยแพร่ให้กับประชาชนที่มาทำบุญ พร้อมกันนี้ยังได้มีการอบรมพระสงฆ์ต้นแบบลดเสี่ยงลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และรณรงค์ให้ทำอาหารใส่บาตรเองหรือเลือกซื้ออาหารใส่บาตร    ที่เน้นอาหารสุขภาพตามหลักโภชนาการ ถวายพระแต่พอดี เลิกค่านิยมหรือความเชื่อ ต้องถวายของดี อร่อย และจำนวนมากๆ เพื่อตายไปจะได้มีกินมีใช้

ด้าน นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ประเทศไทยได้มี “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ” ฉบับแรก จัดทำขึ้นภายใต้มติมหาเถร-สมาคม ดำเนินงานเรื่องพระสงฆ์กับการพัฒนา สุขภาวะที่กำหนดให้ดำเนินการวัดส่งเสริมสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์เพื่อเป็นกรอบและแนวทางการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ทั่วประเทศ โดยยึดหลักการสำคัญ คือ การใช้ทางธรรมนำทาง มีหลักปฏิบัติประกอบด้วย 5 หมวด 37 ข้อ คือ หมวดที่ 1 ปรัชญาและแนวคิดหลักของธรรมนูญสุขภาพของพระสงฆ์แห่งชาติ หมวดที่ 2 พระสงฆ์กับการดูแลสุขภาพของตนเองตามหลักพระธรรมวินัย หมวดที่ 3 ชุมชนและสังคมกับการดูแลสุขภาพพระสงฆ์ที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย หมวดที่ 4 บทบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำด้านสุขภาวะของชุมชนและสังคม และหมวดที่ 5 การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติสู่การปฏิบัติ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว