‘ดีป้า’ห่วงเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์

16 ก.พ. 2561 | 09:59 น.
ดีป้า ผนึก สพฐ. ทำแบบสำรวจวัดทักษะความฉลาดทางดิจิตอลของเด็กไทย พบเด็กไทยเสี่ยงภัยออนไลน์สูงถึง 60% ชี้ผู้ใหญ่เข้าไม่ถึงวิถีเด็กยุคใหม่

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กไทยเสพและใช้ข้อมูลดิจิตอลต่างจากผู้ใหญ่ ทำให้เกิดช่องว่างที่ผู้ใหญ่ไม่สามารถให้คำแนะนำในการเลือกใช้เทคโนโลยีแก่เด็กได้อย่างถูกวิธี ดีป้าจึงได้ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ และ DQ institute ผลักดัน DQ report 2018 เพื่อวัดทักษะความฉลาดทางดิจิตอลของเด็กไทย โดยศึกษาเด็กไทยอายุ 8-12 ปี ทั่วประเทศ 1,300 คน จากการศึกษาพบว่า MP20-3339-2C เด็กไทยมีความเสี่ยงจากภัยออนไลน์สูงถึง 60% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของการศึกษาครั้งนี้อยู่ที่ 56% (จาก 29 ประเทศทั่วโลก) เมื่อเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ 73% อินโดนีเซียอยู่ที่ 71% เวียดนามอยู่ที่ 68% สิงคโปร์ 54% มาเลเซีย 57% ภัยออนไลน์ที่พบจากการศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ หรือ Cyber bullying, ถูกล่อลวงออกไปพบคนแปลกหน้า, ปัญหาเด็กติดเกม, การเข้าถึงสื่อลามกอนาจาร, ดาวน์โหลดภาพหรือวิดีโอที่ยั่วยุอารมณ์ทางเพศ และพูดคุยเรื่องเพศกับคนแปลกหน้า
ad-bkk
ขณะที่เมื่อเดือนกันยายน 2559 เวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรั่ม ได้เผยแพร่ถึงคุณลักษณะของความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) ที่จำเป็นสำหรับเด็กในปัจจุบัน แบ่งเป็น 8 ทักษะ คือ 1.การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตนเอง 2.การจัดสรรเวลาหน้าจอ 3.การรับมือกับการคุกคามทางโลกออนไลน์ 4.การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลกออนไลน์ 5.การรักษาข้อมูลส่วนตัว 6.การคิดวิเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 7.การบริหารจัดการข้อมูลที่ผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ และ 8. การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
e-book-1-503x62