ดีป้าแจก‘สมาร์ทวีซ่า’ล่อใจ หวังดึงต่างชาติ-นักลงทุนด้านดิจิตอลเข้าไทย

10 ก.พ. 2561 | 10:23 น.
ดีป้า ติดปีกอุตสาหกรรมดิจิตอลด้วยสมาร์ทวีซ่า เพิ่มสิทธิกลุ่มต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูงผู้ประกอบการด้านดิจิตอล พำนักในไทยได้ 4 ปี หวังดึงการลงทุนและความรู้ดันเศรษฐกิจไทย เริ่มแล้วตั้งแต่ 1 ก.พ. 61

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้า มุ่งการส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิตอลด้วยโครงการสำคัญ คือ สมาร์ทวีซ่า ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นเพื่อมอบสิทธิประโยชน์และความสะดวกที่มากกว่าเดิม ให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการมาทำงานหรือลงทุนในประเทศไทยในอุตสาหกรรมดิจิตอล ทั้งนี้เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถจากต่างชาติให้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และช่วยผลักดันเศรษฐกิจในประเทศไทย

[caption id="attachment_257297" align="aligncenter" width="335"] ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์[/caption]

โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือ บุคลากรในอุตสาหกรรมดิจิตอล เช่น ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง เป็นนักคิดสร้างสรรค์ที่จะเป็นผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ เพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับขับเคลื่อนประเทศไทย นักลงทุนด้านเทคโนโลยีดิจิตอล และผู้บริหารระดับสูง ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย

สำหรับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่ถือสมาร์ทวีซ่า ที่มากกว่าวีซ่าปกติ คือ สามารถอาศัยในประเทศไทยได้ 4 ปี โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน คู่สมรสและบุตรยังได้สิทธิอยู่อาศัยและทำงานในประเทศไทยได้เท่ากับผู้ถือสมาร์ทวีซ่า และขยายเวลาการรายงานตัวเป็นทุกๆ 1 ปี

TP05-3338-1A “ดีป้าได้ร่วมส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้านดิจิตอล นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรด้านดิจิตอล ตลอดจนสตาร์ตอัพ เพื่อได้รับสมาร์ทวีซ่า ในกรณีที่ผู้ขอได้รับการสนับสนุนหรือมีการดำเนินการร่วมกันกับดีป้า หรือมีความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรของ ดีป้า เพื่อให้ประเทศไทยสามารถขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยสามารถเริ่มขอสมาร์ท วีซ่า ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 นี้

สำหรับสมาร์ทวีซ่านั้น แบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ 1. Smart T (Talent) หมายถึงผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ที่จะเข้ามาทำงานในบริษัททางด้านดิจิตอลหรือกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย 2. Smart I (Investor) หมายถึง นักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิตอลรวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ 3. Smart E (Executive) หมายถึง ผู้บริหารระดับสูงในบริษัทหรือองค์กรทางด้านดิจิตอล และองค์กรในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4. Smart S (Startup) หมายถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นโดยสร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านดิจิตอลตลอดจนนวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทย และ 5. Smart O (Other) หมายถึงคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายที่จะได้รับ สมาร์ทวีซ่า พร้อมกับ 4 กลุ่มข้างต้นด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6