ราคายางพาราขยับขึ้นตามตลาดล่วงหน้า

01 ก.พ. 2561 | 12:37 น.
ราคายางพาราขยับขึ้นตามตลาดล่วงหน้า ไทยยันเสึยงแข็ง เปิดโต๊ะแถลง บ.ร่วมทุนยันจำกัดส่งออกยางตามสัญญา

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงาน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ยางแผ่นดิบ ตลาดกลางกลางยางพารา จังหวัดสงขลา ราคา 43.99 บาทต่อกิโลกรัม ราคาปรับเพิ่ม 0.29 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคา 47.09 บาทต่อกิโลกรัม ปรับเพิ่ม 0.1 บาทต่อกิโลกรัม จากเมื่อวาน

ทั้งนี้ราคายางตลาดกลางโดยภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกันกับตลาดล่วงหน้าโตเกียวจากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาของน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น มาตรการรักษาเสถียรภาพราคายางของภาครัฐ รวมทั้งนักลงทุนคลายความกังวลหลังธนาคารของสหรัฐ (เฟด)มีมติคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม พร้อมกับย้ำจุดยืนในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

วันนี้ (วันที่ 1 ก.พ.61) บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) จัดแถลงข่าว ดร. ไคริล อันวาร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศ จำกัด (IRCO) กล่าวว่า ประเทศสมาชิกอีก 2 ประเทศต่างดำเนินมาตรการ AETS อย่างจริงจัง โดยมีกฎหมายของแต่ละประเทศเข้ามาควบคุมด้วยเช่นกัน เช่น ประเทศมาเลเซียนำ พ.ร.บ. เสถียรภาพราคายาง (Rubber Price Stabilisation Act) มาใช้ในการควบคุม และประเทศอินโดนีเซียนำพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงการค้า (Trade Ministerial Decree) มาใช้ควบคุมปริมาณยางตามแผนการดำเนินมาตรการนี้ นอกจากนี้ สภาไตรภาคียางได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศสมาชิก เพื่อติดตาม ประเมิลผล และสรุปผลการดำเนินงานเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีของทั้ง 3 ประเทศ เป็นประจำทุกเดือน

[caption id="attachment_255548" align="aligncenter" width="503"] ดร.ธีธัช สุขสะอาด ดร.ธีธัช สุขสะอาด[/caption]

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า หลังจากเริ่มนำมาตราการ AETS มาใช้พบว่า วันนี้ราคายางปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ย (DCP: Daily Composite Price) ในเดือนพฤศจิกายน (ก่อนเริ่มมาตรการ AETS) เกือบ 15 เปอร์เซนต์ โดยที่ราคายางเฉลี่ยก่อนหน้านี้ อยู่ที่ประมาณ 140 US Cent ต่อ กิโลกรัม มาอยู่ที่ราคาเฉลี่ย 153-155 US Cent ต่อกิโลกรัม ณ วันนี้ จึงเป็นข้อมูลหนึ่งที่ยืนยันได้ว่าการดำเนินมาตรการดังกล่าว จะส่งผลดีต่อราคายาง และความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยาง รวมทั้งจะช่วยให้ราคายางมีเสถียรภาพยิ่งขึ้นในอนาคต

728x90-03-3-503x62-3-503x62 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า ประเทศไทยมีการดำเนินมาตรการควบปริมาณการส่งออก (AETS) ครั้งที่ 5 ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2561 โดยมีการนำเอา พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 เข้ามากำกับและดูแลการดำเนินมาตรการดังกล่าวซึ่งเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงของสภาไตรภาคียางให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ยังมีการนำกฎหมายในประเทศและระเบียบที่เกี่ยวข้องมาใช้อย่างจริงจัง
ได้แก่ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดปริมาณจัดสรรเนื้อยางสำหรับการส่งออก พ.ศ. 2561 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2561 ทั้งนี้ ยังมีการกำหนดนโยบายที่สามารถสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศให้มากขึ้น เช่น โครงการส่งเสริมการใช้ยางของภาครัฐ การสนับสนุนสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งส่งผลต่อการปรับราคายางไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานปริมาณน้ำยางสด ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ (คสร.) ทาง กยท. รายงานว่าน้ำยางสด 2,000 ตันรับซื้อครบแล้ว ทั้ง 5 จังหวัด ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว และปลายสัปดาห์นี้ได้เริ่มรับซื้อน้ำยางสดใหม่ 3,000 ตันได้มีการจัดสรรโควตาใหม่ แบ่งเป็น สงขลา จำนวน 500 ตัน สตูล จำนวน 500 ตัน นราธิวาส จำนวน 100 ตัน ปัตตานี จำนวน 100 ตัน  ตรัง จำนวน 300 ตัน นครศรีธรรมราช จำนวน 300 ตัน พัทลุง จำนวน 300 ตัน กระบี่ จำนวน 100 ตัน สุราษฎร์ธานี จำนวน 300 ตัน เขตภาคตะวันออก 300 ตัน และภาคเหนือ 200 ตัน ออร์เดอร์ที่รับเพิ่มเป็นการทำสต็อกหมุนเวียน และเป็นแผนสำรองเอาไว้เผื่อในกรณีที่มีหน่วยงานไหนรีบใช้จะได้สามารถหมุนเวียนสต็อกให้ลูกค้าได้ทัน อย่างไรก็ดีการทำน้ำยางข้นต้องใช้ระยะเวลาในการบ่มประมาณ 45 วัน ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว