ชี้ผังอีอีซีเสร็จไม่ทันกลางปีนี้

04 ก.พ. 2561 | 03:53 น.
นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยถึงความคืบหน้าการวางผังเมืองรวม 3จังหวัด ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ อีอีซี ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ที่คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 กำหนดให้ กรมโยธาฯและสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่ แผนแม่บทอีอีซีผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอีอีซี ในเดือนมกราคมนี้ แต่ยอมรับว่าแผนดังกล่าว ไม่สามารถเข้าสู่บอร์ดอีอีซีได้ทันภายในเดือนดังกล่าว ทำให้ต้องเลื่อนการบังคับใช้ออกไปจากกลางปี 2561 เป็นประมาณเดือนสิงหาคม หากประกาศใช้จะยกเลิกผังเมืองเดิมที่มีอยู่ของ3 จังหวัดออกไป ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 12 ผังย่อยแต่ละชุมชนและ 3 ผังใหญ่ซึ่งเป็นผังจังหวัดและนำผังรวม 3 จังหวัดอีอีซีใหม่มาบังคับใช้แทน หลังจากนี้ต้องใช้เวลาในการจัดทำผังย่อยขึ้นมาใหม่คาดว่าจะใช้เวลาในราว 1 ปีเพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่

อย่างไรก็ดี การจัดทำผังไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งนี้มีทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทั้งนี้พื้นที่ที่ควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินใน3 จังหวัด มีพื้นที่รวม 13,000ตารางกิโลเมตร หรือ 8 ล้านไร่ในจำนวนนี้กันเขตป่าออกไป 1ล้านไร่ พื้นที่อื่นๆ อาทิ นิคม เก่า1 ล้านไร่ ที่ใช้ประโยชน์จริง ตามผังอีอีซี มี 5 ล้านไร่ ใน 3 จังหวัดที่ต้องกำหนดโซนพัฒนาว่าพื้นที่ไหนเป็นเมืองใหม่ ที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม เป็นต้น

1MP40-3083-A นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การจัดทำผังอีอีซี จะกำหนดพื้นที่สีม่วง ประเภทอุตสาหกรรมเฉพาะพื้นที่ที่คณะกรรมการอีอีซีกำหนดไว้ แต่ที่ผ่านมา มักมีเจ้าของที่ดินเรียกร้องให้ปรับพื้นที่สีเขียวหรือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรมเป็นพื้นที่สีม่วง ซึ่งกรมไม่สามารถปรับให้ได้

ด้าน นางพจณี อรรถโรจน์ภิญโญ รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรืออีอีซี ว่า นอกจากงบ 1.5 ล้านล้านบาท เฟสแรก 5 ปี ในการขับเคลื่อนอีอีซี ซึ่งเป็นเม็ดเงินลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ล่าสุดได้รับอนุมัติแล้ว 6 โครงการ เช่น รถไฟความเร็วสูงคาดเดือนกุมภาพันธ์เปิดยื่นซองทีโออาร์ และในเดือนกรกฎาคมได้ตัวผู้ลงทุน เปิดบริการปี 2566

728x90-03-3-503x62-3-503x62 ที่สำคัญ เมืองใหม่ซึ่งขณะนี้ มอบกรมโยธาธิการและผังเมืองศึกษา เบื้องต้นมี 11เมือง ทั้งเมืองเก่าและเมืองใหม่ซึ่งทั้ง 3 จังหวัด จะต้องมีเมืองใหม่ แต่เมื่อพิจารณาแล้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีความน่าสนใจเป็นเมืองที่อยู่อาศัย รองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานครและกลุ่มคนทำงานใน 2 จังหวัดคือ ระยองและชลบุรี ซึ่งชลบุรีถูกกำหนดเป็นศูนย์บริการการเงินและธุรกิจการเงิน เมืองการบินในทำเลใกล้สนามบินอู่ตะเภาขณะที่ระยองกำหนดให้เป็นเมืองวิจัยและพัฒนา เมืองการศึกษา เพราะมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่หลายแห่ง

อย่างไรก็ดี สำหรับการพัฒนาเมืองใหม่ รูปแบบ กำหนดให้เอกชนเป็นผู้พัฒนา หรือเป็นเจ้าของที่ดิน อีกวิธีอาจนำที่ดินมาร่วมพัฒนาเป็นบล็อกๆ ได้แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างออกแบบหน้าตาของเมืองให้แล้วเสร็จรวมทั้งตำแหน่งของเมือง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,336 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9