บล.เคทีบี มองหุ้นสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในเชิงบวก

29 ม.ค. 2561 | 08:22 น.
KTBST มองดัชนีหุ้นสัปดาห์นี้ (29 ม.ค. - 2 ก.พ.) มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในเชิงบวก ตลาดมีทิศทางเดินหน้าต่อจากแรงบวกในหุ้นกลุ่มใหญ่ และปัจจัยกังวลต่างๆที่ลดลงไป การลงทุนเน้นในหุ้นกลุ่มใหญ่ ทั้งพลังงาน กลุ่มโทรศัพท์ กลุ่มนิคมฯ

[caption id="attachment_254249" align="aligncenter" width="503"] ดร.วิน  อุดมรัชตวนิชย์ ดร.วิน อุดมรัชตวนิชย์[/caption]

ดร.วิน  อุดมรัชตวนิชย์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด หรือ KTBST เปิดเผยว่าแนวโน้มตลาดหุ้นสัปดาห์นี้ (29 ม.ค. - 2 ก.พ.) ว่า จากสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดมีความผันผวนค่อนข้างมาก เป็นผลมาจากการที่นักลงทุนยังรอติดตามปัจจัยผลทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในสัปดาห์นี้ด้วยตัวแปรหลายตัวเริ่มคลี่คลายออกมา ทั้งเรื่องกำหนดการเลือกตั้ง ที่เรามองว่าไม่ได้ออกมาเป็นลบเท่าที่ตลาดคาด , ค่าเงินดอลลาร์เริ่มมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น, และผลการประชุม ECB ที่ไม่ได้มีการสร้างความประหลาดใจแก่นักลงทุนต่อเรื่องมาตรการ QE ดังนั้นจึงมองว่าปัจจัยเหล่านี้จะส่งเป็นแรงหนุนให้ตลาดหุ้นในสัปดาห์นี้สามารถปรับตัวขึ้นได้ แต่ก็มียังปัจจัยที่อาจมีผลต่อตลาดในสัปดาห์นี้ คือ เรื่องค่าเงินดอลล่าร์ , การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (30-31 ม.ค.) , รายงานตัวเลข GDP ยุโรป (30 ม.ค), และ มาตรการค่าแรงขั้นต่ำที่จะเข้าที่ประชุม ครม. (30 ม.ค.)

สำหรับกลยุทธ์ลงทุน คาดว่าตลาดจะมีการปรับตัวขึ้นแต่จะไปด้วยหุ้นบางกลุ่ม หุ้นที่จะขึ้นได้จะมีทั้งหุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัว และหุ้นที่ถูกขายไปในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา KTBST ปรับคำแนะนำโดยรวมเป็นการให้ “ถือ”  ไว้เนื่องจากเราประเมินตลาดหุ้นยังมีโอกาสเดินหน้าต่อ แต่ช้าลง  สำหรับการเข้าเก็งกำไร KTBST แนะนำหุ้นกลุ่มนำ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย พลังงาน (PTTEP, TOP, SPRC, LANNA) กลุ่มโทรศัพท์ (TRUE) และกลุ่มนิคมฯ (WHA, AMATA) ส่วนหุ้นที่เลือกมาเป็นรายตัว หุ้นล้อกับทิศทางตลาด (KBANK) รวมไปถึงหุ้นที่เก็งงบ Q4 (MTLS)

728x90-03-3-503x62-3-503x62 ทั้งนี้ปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ การประชุม FOMC ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ คาดว่าจะยังคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% จากช่วงก่อนหน้า โดยการประชุมรอบดังกล่าวจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของนางเจเน็ท เยลเลนก่อนที่จะหมดวาระในเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ขณะที่ตลาดยุโรปต้องติดตามการรายงานตัวเลข GDP ของยุโรป คาดว่าจะออกมาที่ 2.8% ดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้ารวมถึงอัตราการว่างงานคาดว่าจะออกมาที่ 8.7% ทรงตัวจากช่วงก่อนหน้า

ส่วนประเทศไทยจะมีการรายงานอัตราการว่างงาน คาดว่าจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อยจากช่วงก่อนหน้าที่ 1.1% สู่ระดับ 1.2% และตัวเลขเงินเฟ้อคาดว่าจะฟื้นตัวได้จากราคาน้ามันที่สูงขึ้น คาดว่าจะออกมาที่ 0.99% ในขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานนั้นคาดว่าจะยังคงทรงตัวอยู่ระดับ 0.65%

ขณะเดียวกันติดตามมาตรการค่าแรงขั้นต่ำที่อาจเข้า ครม. วันอังคารนี้ โดยทางคณะกรรมการค่าจ้าง (บอร์ดค่าจ้าง) ได้ข้อสรุปปรับขึ้นอัตราค่าจ้างทั่วประเทศ แบ่งเป็น 7 ระดับต่ำสุดอยู่ที่ 308 บาท ในกลุ่มจังหวัดสามชายแดนภาคใต้ และสูงสุดอยู่ที่ 330 บาท ซึ่งมองว่าโอกาสในการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวมีค่อนข้างสูง หากครม.อนุมัติก็จะเริ่มใช้ เม.ย.นี้เลย นอกจากนี้ยังมีมาตรการบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่มียอดขายไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อปี e-book