สจล.เปิด WMApp เอาใจคนกรุง เช็กสภาพจราจร-ฝนตก-นํ้าท่วมก่อนเดินทาง

17 ม.ค. 2561 | 04:50 น.
สจล. เปิดแอพตอบโจทย์ชีวิตคนกรุง จราจร-ฝนตก-นํ้าท่วม ผ่านแอพ WMApp แนะแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร ต้องปรับปรุงเป็นเมืองสมาร์ทซิตี นำระบบอัจฉริยะเตือนภัย-ขนส่ง-สาธารณูปโภค และ สารสนเทศ เหตุสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเมืองกรุง

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สจล.ได้พัฒนาแอพพลิเคชัน “WMApp” ที่มีความแม่นยำที่สุดในอาเซียน ความพิเศษ คือ สามารถระบุตำแหน่งพื้นที่ พร้อมบอกความหนักเบา และเวลาที่ฝนจะตก ได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. หรือ 1 วัน และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน หรือติดตามได้ทางเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สจล. พยากรณ์อากาศประเทศไทย”

MP20-3331-1B นอกจากนี้ยังแนะแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ ระบุหน่วยงานรัฐต้องศึกษาและปรับทุกระบบให้มีพร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ (Smart Disaster) ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะ (Smart Infrastructure) และระบบสารสนเทศอัจฉริยะ (Smart IT) เนื่องจากระบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง ชี้ปัญหา “ฝนตก” “นํ้าท่วมขัง” และ “รถติด” คือสิ่งบั่นทอนคุณภาพชีวิตคนเมืองหลวง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สจล. ในฐานะสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและผลกระทบดังกล่าว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพมหานครให้ดีขึ้น โดยจัดตั้งสถาบันวิจัยนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ (Smart City innovative Research Academy- SCiRA) ขึ้น เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานคร สู่การเป็นเมือง Smart City ที่สมบูรณ์แบบ พบว่าการจัดการและพัฒนาเมืองในอนาคตอย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องศึกษาและปรับทุกระบบให้พร้อมในหลายด้าน โดยเฉพาะระบบเตือนภัยพิบัติอัจฉริยะ (Smart Disaster) ระบบการขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility) ระบบสาธารณูปโภคอัจฉริยะ (Smart Infrastructure) ระบบสารสนเทศอัจฉริยะ (Smart IT) และระบบเศรษฐศาสตร์อัจฉริยะ (Smart Economy) เนื่องจากระบบเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนโดยตรง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการใช้ที่ดินอัจฉริยะ (Smart Land Use) ระบบการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living) ระบบสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment) ระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) ระบบสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Health) และระบบอาหารอัจฉริยะ (Smart Food)

728x90-03 ด้าน ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี ผู้รับผิดชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอากาศและระบบโลก (SESE) สจล. กล่าวว่า เนื่องจากในสภาพอากาศของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วฉับพลัน ประชาชนจึงควรหมั่นตรวจสอบสภาพอากาศ เพื่อวางแผนการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ด้วยการตรวจเช็กผ่านแอพพลิเคชัน WMApp เนื่องจากมีความแม่นยำและความละเอียดสูงที่สุด รายเขตปกครองในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ “อาเซียน” สามารถระบุตำแหน่งพื้นที่ พร้อมบอกความหนักเบาและเวลาที่ฝนจะตกได้ทั้งระยะสั้นล่วงหน้า 28 ชม. (1 วัน) และระยะยาวล่วงหน้า 5.5 วัน อันเป็นผลมาจากการวิจัยพัฒนาอัลกอริธึมประมาณค่าหยาดนํ้าฟ้า (ฝน หิมะ ลูกเห็บ) จากการสังเกตของดาวเทียม และพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเชิงเลขความละเอียดสูงสำหรับเขตร้อน (Tropics) ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งใช้ได้ทั้งระบบปฏิบัติการ Android และ iOS และเพื่อความสะดวกในการอัพเดตข้อมูล และขณะนี้ได้เปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจ “สจล. พยากรณ์อากาศประเทศไทย” ขึ้นอีกหนึ่งช่องทาง เพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงข้อมูลการพยากรณ์อากาศได้สะดวกยิ่งขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,331 วันที่ 14 - 17 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9