4คดีร้อนในมือศาลฎีกา ‘ทักษิณ’โทษสูงสุดคุกตลอดชีวิต

13 ม.ค. 2561 | 11:31 น.
เปิดศักราชใหม่ปี 2561 มี 4 คดีสำคัญในมือ “ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” (ศาลฎีกานักการเมือง) ที่ก่อนหน้านี้ถูกจำหน่ายออกจากสารบบ ซึ่งมี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ตกเป็นจำเลยอยู่ระหว่างการหลบหนีคดี แต่ผลจากกฎหมายใหม่ที่ให้ศาลฎีกานักการเมืองพิจารณาคดีลับหลังจำเลยได้นั้น จะกลับมาเพิ่มอุณหภูมิร้อนทางการเมืองในปีนี้อย่างไม่ต้องสงสัย

2 คดีที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติก่อนสิ้นปี 2560 ส่งเรื่องถึงศาลฎีกานักการเมือง ประกอบด้วย คดีอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยตํ่าของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ฟ้องนายทักษิณ เป็นจำเลยความผิดฐานใช้อำนาจหน้าที่กระทำผิด เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลเข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่นด้วยกิจการนั้น และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และ 157

TP14-3330-A และกรณีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว (คดีหวยบนดิน) โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายทักษิณ เป็นจำเลยที่ 1 และคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายทักษิณ รวมถึงผู้บริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลรวม 47 คน ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ

ศาลฎีกานักการเมืองได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ว่า นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.คลัง นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง และประธานบอร์ดกองสลาก มีความผิดตาม ป.อาญา ม.157 และ 83 ให้จำคุกนายวราเทพ เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 20,000 บาท ให้จำคุกนายสมใจนึก เป็นเวลา 2 ปี ปรับ 10,000 บาท

ส่วนนายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผอ.กองสลาก กระทำผิด ป.อาญา 157 และ 86 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ม.11 เป็นความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดฯ อันเป็นบทหนักสุดตาม ป.อาญา ม.90 ลงโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 10,000 บาท แต่จำเลยทั้ง 3 ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยทั้ง 3 ไว้คนละ 2 ปี

อีก 2 คดีที่ อัยการสูงสุด (อสส.) ได้มีมติยื่นศาลฎีกานักการเมืองแล้วเช่นกัน คือ คดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยให้แก่กลุ่มกฤษดามหานคร ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับรัฐ 9.9 พันล้านบาท โดยอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี, ร.ท.สุชาย เชาว์-วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย, นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย, กรรมการบริหาร, คณะกรรมการสินเชื่อ, เจ้าหน้าที่สินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทในเครือกฤษดามหานคร และ 3 บริษัทในเครือกฤษดามหานคร เป็นจำเลยที่ 1-27 ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ความผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ความผิดพ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ความผิด พ.ร.บ.หลักเกณฑ์และตลาดหลักทรัพย์พ.ศ.2535 และความผิดพ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

คดีนี้ศาลพิพากษาให้จำคุก ร.ท.สุชาย นายวิโรจน์ นาย มัฌชิมา กุญชร ณ อยุธยา และนายไพโรจน์ รัตนะโสภา คนละ 18 ปี ความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 ซึ่งเป็นบทหนักสุด และพิพากษาจำคุกพนักงานของธนาคารกรุงไทย ผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม.4 คนละ 12 ปี

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 คดีทุจริตออกกฎหมายแก้ไขค่าสัมปทานโทรศัพท์มือถือ และดาวเทียมเป็นภาษีสรรพสามิต ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 152, 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2542 มาตรา 4,100 และ 122

ทั้งนี้ หากเทียบเคียงบทกำหนดโทษโดยอ้างอิงจากตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 91 ระบุว่า เมื่อปรากฏว่า ผู้ใดได้กระทำการ อันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว โทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนด ดังนี้

1. 10 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงหนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี

2. 20 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปีแต่ไม่เกิน 10 ปี

3. 50 ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุด มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 30 ปีขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต

[caption id="attachment_248685" align="aligncenter" width="503"] พานทองแท้ ชินวัตร พานทองแท้ ชินวัตร[/caption]

++‘โอ๊ค’ลุ้นหนักคดีฟอกเงินกรุงไทย
กรณีที่ นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ กับพวกรวม 4 คน ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แจ้งข้อกล่าวหาในคดีฟอกเงินกรณีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)ให้กับกลุ่มกฤษดามหานคร

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคมที่ผ่านมา นายชุมสาย ศรียาภัย ทนายความของนายพานทองแท้ ได้เข้ายื่นเอกสารประกอบคำให้การแก้ข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมทั้งอ้างอิงพยานหลักฐานต่างๆ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนายพานทอง-แท้ และให้เจ้าหน้าที่สอบสวนขยายผลต่อไป ท่ามกลางข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้ว่า นายพานทองแท้ จะขอขยายเวลายื่นเอกสารออกไปอีก 60 วัน จากเดิมซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 18 ธันวาคม 2560 เนื่องจากอยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐานยังไม่เสร็จ โดยนายบัณฑิต สังขนันท์ ผู้อำนวยการส่วนพิจารณาสำนวนร้องทุกข์ เป็นผู้รับเอกสาร

ad-hoon

พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ เปิดเผยความคืบหน้าล่าสุด (15 ธันวาคม) ว่า ทางดีเอสไอได้รับเรื่องทั้งหมดไว้แล้ว และเร็วๆนี้จะนัดประชุมพนักงานสอบสวนซึ่งมีอัยการร่วมด้วยเพื่อพิจารณาว่า คำร้องที่นายพานทองแท้โต้แย้งว่า ไม่มีความผิดและร้องขอให้สอบพยานเพิ่มในหลายปากอย่างรอบคอบนั้นเป็นประโยชน์ต่อคดี และมีนํ้าหนักพอให้สอบพยานเพิ่มเติมหรือไม่ หากทำครบแล้วก็จะไม่สอบสวนซํ้าอีก พร้อมกล่าวยํ้าด้วยว่า คดีนี้พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.ยุติธรรมได้สั่งกำชับให้เร่งดำเนินการตามนโยบายคดีสำคัญเร่งด่วน และยืนยันว่า การทำงานของดีเอสไอให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม นายพานทองแท้ กับพวก ประกอบด้วย นางเกศินี จิปิภพ, นางกาญจนาภา หงส์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณป้อมเพชร และนายวันชัย หงส์เหิน ได้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา “สมคบกันโดยตก ลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป, ร่วมกันฟอกเงิน และได้กระทำความผิด ฟอกเงิน เพราะเหตุที่ได้มีการสมคบแล้ว” ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 กรณีผู้บริหารธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติสินเชื่อให้แก่กลุ่มบริษัท กฤษ-ดามหานคร จำกัด (มหาชน) โดยมิชอบ สำหรับคดีนี้จะหมดอายุความ 15 ปี ในเดือนมิถุนายน 2561 14-3330-1

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,330 วันที่ 11 - 13 มกราคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9