สรรพากรเมินเสียงค้าน เดินหน้ารีดภาษีกองทุน

29 ธ.ค. 2560 | 03:23 น.
สรรพากรยืนยันเก็บภาษีเงินได้จากกองทุนรวมตราสารหนี้ หวังลดความเหลื่อมลํ้า สร้างความเท่าเทียมกับการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง

หลังจากที่กรมสรรพากร ปิดรับฟังความคิดเห็นร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม จากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรอบแรกไปเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน ปรากฏว่ามีเสียงไม่เห็นด้วยจำนวนมาก

[caption id="attachment_176867" align="aligncenter" width="392"] ประสงค์ พูนธเนศ ประสงค์ พูนธเนศ[/caption]

นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้เปิดสอบถามความคิดเห็น อีกครั้งระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2560-11 มกราคม 2561 หลังจากได้ปรับปรุงใหม่ โดยได้กำหนดการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกองทุนรวม เฉพาะรายได้ตามมาตรา 40(4) แห่งประมวลรัษฎากร และปรับปรุงการจัดเก็บจากกองทุนรวมทั้งระบบ เพื่อให้กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บภาษีจากเงินได้ตามมาตร 40 (4)ได้อย่างเท่าเทียมกับการลงทุนโดยตรงในตราสารหนี้ โดยไม่ผ่านกองทุนรวม

นอกจากนี้เพิ่มเติมบัญชีอัตราภาษีเงินได้ในท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรสำหรับรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆของกองทุนรวม เฉพาะรายได้ตามมาตรา 40(4) ในอัตรา 15%

วิทยุพลังงาน-17-503x73 นายประสงค์ กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวจะทำให้กองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารหนี้มีภาระภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดภาระหน้าที่แก่ผู้จ่ายดอกเบี้ยให้กองทุนรวมที่จะต้องหักภาษีเงินได้นำส่งให้กรมสรรพากร แต่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันทางภาษีระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมและการลงทุนในตลาดเงินและตลาดตราสารหนี้โดยตรงตามนโยบายรัฐบาล และในระยะยาว จะทำให้รัฐบาลมีรายได้จากภาษีนิติบุคคลเพิ่มขึ้นปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท

“หากประชาชนยังมีความเห็นที่แตกต่าง เราก็ต้องมาดูอีกรอบว่า สามารถอธิบายได้หรือไม่ แต่ยังยืนยันที่จะจัดเก็บภาษี”นายประสงค์ กล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,326 วันที่ 28 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-10