ปักธงศูนย์ซ่อม‘อู่ตะเภา’ ‘World Class MRO’ อันดับ 1 ของโลก

23 ธ.ค. 2560 | 00:23 น.
ใกล้ความเป็นจริงขึ้นมาอีกก้าว สำหรับการผลักดันโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา (MRO : Maintenance, Repair and Overhaul) ภายใต้ชื่อโครงการ “TG MRO Campus” หนึ่งในบิ๊กโปรเจ็กต์มหานครการบินตามนโยบายระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ของรัฐบาล ที่ล่าสุดทั้งการบินไทยและแอร์บัส ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือเพื่อประเมินโอกาสทางธุรกิจของโครงการดังกล่าว (CA:Cooperation Agreement) เพื่อเตรียมนำไปสู่การร่วมลงทุนระหว่างกัน (JV Agreement) ซึ่ง “สมคิด จาตุศรีพิทักษ์” รอง นายกรัฐมนตรี ได้วางไทม์ไลน์ให้เร่งผลักดันให้เกิดการร่วมลงทุนภายในไตรมาสแรกของปีหน้า

MP22-3324-2A **อีบิตดา มาร์จิน 10-20%
วันนี้สถานะของโครงการ MRO สนามบินอู่ตะเภา หลังใช้เวลากว่า 9 เดือนนับจากการบินไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 และจากการศึกษาร่วมกับหน่วยราชการต่างๆ ด้วย ผลการศึกษาก็พบว่า มีความเป็นไปได้ ทุกผลตอบแทนทางการเงินได้ตามเป้า
ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายด้านรายได้ ที่ภายในปีที่ 10 จะเพิ่มจ่าย 3 พันล้านบาท เป็น 2.2 หมื่นล้านบาทภายในปีที่ 50 ขณะที่เป้าหมายด้านผลตอบแทนจากการลงทุน ก็คาดว่าจะมีผลตอบแทนจากการลงทุนราว 12-15% มีอัตรากำไรก่อนหักภาษีเงินได้และค่าเสื่อม (อีบิตดา มาร์จิน) อยู่ที่ราว 10-20% คาดว่าจะคืนทุนภายในไม่เกิน 10 ปี (ตารางประกอบ) และคาดว่าหลังดำเนินการจริง มีโอกาสได้สูงกว่าเป้าดังกล่าวด้วยซํ้า เพราะที่ใส่สมมติฐานไว้ เป็นแบบที่ conser vative หรือขั้นตํ่าในการทำยอดขาย และให้ค่าเช่าแก่ภาครัฐที่สูง

ขณะที่เงินลงทุนในโครง การดังกล่าวก็จะอยู่ที่ราว 1.03-1.1 หมื่นล้านบาท เบื้องต้นรัฐบาลโดยกองทัพเรือ (ทร.) จะลงทุนสิ่งปลูกสร้างและงานโยธา เช่น อาคาร ถนน นํ้า มูลค่าการลงทุนราว 6-7 พันล้านบาท ส่วนการบินไทยและแอร์บัส จะร่วมลงทุนงานระบบ เครื่องจักร และอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุนราว 4 พันล้านบาท โดยจ่ายค่าเช่าให้ทร. 3% ของเงินลงทุนในส่วนที่ภาครัฐลงทุนไป รวมถึงการจ่ายรายได้จากการดำเนินงานในอัตรา 1% ของรายได้ที่เกิดขึ้น
โดยรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการนี้ได้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิจารณาอนุมัติต่อไป ซึ่งเดินคู่ขนานไปกับกระบวนการ PPP หากได้รับ อนุมัติก็สามารถลงนามร่วมทุนได้

MP22-3324-1A ++แจง 7 กิจกรรม MRO
เมื่อผ่านก้าวแรกมาแล้ว ก้าวต่อไปที่การบินไทยและแอร์บัสกำลังอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกัน หลังการทำสัญญาความร่วมมือเพื่อประเมินโอกาสทางธุรกิจหรือ CA เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2560 คือ การตั้งคณะกรรมการร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่าย เพื่อเจรจา ศึกษา วิเคราะห์ ประเมิน และตัดสินใจในการทำธุรกิจร่วมกัน ซึ่งสิ่งที่ต้องทำคือ การร่วมกันกำหนดรูปแบบ ขนาดและจำนวน ของอาคารและสิ่งปลูกสร้างในโครงการนี้ การร่วมกันกำหนดเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ร่วมกันกำหนดสัดส่วนการลงทุนของแต่ละฝ่ายและการหาแหล่งทุน เป็นต้น

ต่อเรื่องนี้ ร.ท.รณชัยวงศ์ชะอุ่ม ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา กล่าวว่า การบินไทยและแอร์บัส จะกำหนดขอบเขตในการหารือและวิเคราะห์เพื่อประเมินโอกาสทางธุรกิจระหว่างกัน ซึ่งในระยะแรก กำหนดโอกาสทางธุรกิจไว้ 7 กิจกรรม สำหรับธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา

ได้แก่ 1.การจัดตั้ง 3 ธุรกิจหลัก คือ การซ่อมใหญ่อากาศยาน (Heavy Maintennance) การซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอด (Line Main tenance) และการพ่นสีอากาศ ยาน 2.การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมช่างซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา โดยจะประสานงานกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสถาบันการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย 3.การจัดตั้งโรงซ่อมชิ้นส่วนวัสดุอากาศยานแบบผสม หรือ Aircraft Composite Repair Shop 4.การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการซ่อมบำรุงอากาศยานเพื่อให้เป็นโรงซ่อมอากาศยานอัจฉริยะ (Smart Hangar) 5.การจัดตั้งคลังอะไหล่และศูนย์โลจิสติกส์ เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยาน 6.การออกแบบและก่อสร้างอาคารและศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานให้เหมาะสม และ7.การจัดตั้งโรงซ่อมบริภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนการซ่อมบำรุงอากาศยานระดับลานจอด
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6
ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างกันของทั้ง 2 ฝ่าย ก็คาดหวังว่าจะพัฒนาไปสู่ความสำเร็จในการร่วมลงทุน (JV Agreement) ซึ่งจากการที่รองนายกฯสมคิด ต้อง การเร่งให้เกิดการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า ก็คาดว่าจะทำให้ศูนย์ซ่อมดังกล่าวสามารถเริ่มดำเนินการพัฒนาได้ภายในปี 2562 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงต้นปี 2564 ซึ่งศักยภาพสูงสุดของศูนย์ซ่อมแห่งนี้ สามารถรองรับเครื่องใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง A380 พร้อมกัน 3 ลำ แต่ถ้าเป็นเครื่องบินขนาดอื่นๆ ก็รองรับได้ 8-12 ลำพร้อมกัน ซึ่งการซ่อมใหญ่ที่เกิดขึ้นจะอยู่ที่ปีละ 50-100 ครั้งสำหรับการซ่อมใหญ่

โครงการนี้จึงไม่เพียงเป็นไฮไลต์ที่รัฐบาลต้องการนำร่องให้แจ้งเกิดตามนโยบายอีอีซี แต่ยังเอื้อประโยชน์ให้ไทยอย่างมหาศาลในการสร้างรายได้เข้าประเทศ และเป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ไทยเป็นเอวิเอชั่น ฮับ อีกด้วย

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,324 วันที่ 21 - 23 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9