สถานะ4กฎหมายลูก ‘กุญแจ’ปลดล็อกพรรคการเมือง

21 ธ.ค. 2560 | 13:13 น.
พูดถึงการปลดล็อกพรรค การเมือง ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถ้าไม่ใช้วิธีนิ่งเงียบก็มักจะหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม หรือไม่ก็บอกกล่าวด้วยประโยคสั้นๆ ว่า “ตอนนี้ยังไม่ ถึงเวลา”

กระทั่งล่าสุดเมื่อวันอังคารที่ 12 ธันวาคมที่ผ่านมา ระหว่างยืนแถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และตอบข้อซักถามสื่อมวลชน พล.อ.ประยุทธ์ได้กล่าวถึงประเด็นนี้เอาไว้หลายนาที มีใจความสำคัญว่า

“...เรื่องปลดล็อกพรรคนั้นพูดกันมานานแล้ว ผมบอกแล้ว เมื่อทุกอย่างเรียบร้อย กฎ หมายเรียบร้อย ผมก็จะปลดล็อก ปลดล็อกที่ว่า จะทำเป็นขั้นๆ ไป ต้องบอกกันไว้ตั้งแต่วันนี้เลย ทุกพรรคการเมืองมีความจำเป็นที่แตกต่างกัน พรรคเล็ก พรรคใหญ่ พรรคใหม่ พรรคเก่า ต้องให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 พวก จะมาอ้างว่า พรรคเก่าสมาชิกเยอะต้องใช้เวลามากกว่า ทำไมไม่คิดถึงพรรคเล็กบ้างซึ่งก็ไม่ได้หมายความถึงพรรคอะไรที่ได้กล่าวอ้างกัน ตอนนี้ยังไม่มีอะไรทั้งนั้น
สิ่งสำคัญคือ ต้องเตรียม การเรื่องของการสมัครเป็นสมาชิกพรรค และการบริจาคเงินตามที่กฎหมายกำหนด จะปลดล็อกให้ทำกันได้ เป็นเรื่องของ คสช.ที่จะดำเนินการ

ส่วนกฎหมายลูกต้องผ่านคณะกรรมการเพื่อนำขึ้นไปพิจารณาในชั้น สนช. เขาก็ทราบดีผมคงไปสั่งไม่ได้ สั่งได้แต่เพียงว่า เอากฎหมายขึ้นไปพิจารณาและตั้งคณะกรรมการขึ้น คงสั่งได้แค่นั้นจะไปเร่งให้ทำกฎหมายลูกให้เร็ว คงทำไม่ได้เพราะมีกรอบเวลา มีวาระการพิจารณา 3 วาระ...”

tp16-3323-a ++ก.ม.เสร็จเลือกตั้งใน150 วัน
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “srisutthiyakorn somchai” คาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา หากมีการปลดล็อกพรรคการเมือง และกรณีที่กฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับได้มีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่งเขาเชื่อว่า การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นภายใน 150 วันโดยในช่วง 75 วันหรือภายใน 2 เดือนครึ่ง กกต.จะเปิดรับสมัครผู้สมัคร ส่วนอีก 75 วันที่เหลือนั้นจะเป็นเวลาสำหรับการหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ พ่วงด้วยการจัดการให้มีการเลือกตั้ง

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นได้ สำหรับพรรคการเมืองที่ประสงค์จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องดำเนินการ 10 เรื่องดังต่อไปนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการเปิดรับสมัครคือ

บาร์ไลน์ฐาน 1.แจ้งการเปลี่ยนแปลงสมาชิก 2.หาสมาชิกพรรคให้ครบ 500 คน 3.หาทุนประเดิม1 ล้านบาท 4.ให้สมาชิกพรรค 500 คนชำระค่าสมาชิก 5.จัดตั้งสาขาพรรคใน 4 ภาค 6.จัด ให้มีตัวแทนพรรคในจังหวัดที่ประสงค์จะส่งผู้แทน 7.จัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค 8.เลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค9.จัดให้มีไพรมารีโหวตทั้งแบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อในระดับจังหวัด สุดท้ายคือ ประชุมกรรม การบริหารพรรคเพื่อให้ความเห็นชอบ ชื่อผู้สมัคร ซึ่งนายสมชัยมองว่า ทั้งหมดนี้มีเวลาดำเนินการ 75 วัน หรือประมาณ 2 เดือนครึ่ง

++พรรคใหม่ยุ่งกว่าพรรคเก่า
สำหรับพรรคการเมืองใหม่ที่จะส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งมีเรื่องที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในช่วงเวลา 75 วันนั้น มาก กว่าพรรคเก่า 1 ขั้นตอน นั่นก็คือ การจดทะเบียนจัดตั้งพรรค โดยจะต้องดำเนินการหาสมาชิก ก่อตั้งให้ได้ไม่น้อยกว่า 500 คน จากนั้นให้สมาชิกก่อตั้งร่วมชำระทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท และไม่เกิน 50,000 บาท จัดประชุมผู้ร่วมจัดตั้งพรรคไม่น้อยกว่า 250 คนเพื่อจัดทำข้อบังคับพรรค และเลือกหัวหน้าและกรรมการบริหารพรรค และยื่นคำขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่ง กกต.จะต้องมีเวลาในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างน้อย 45 วัน

ส่วนขั้นตอนในการจัดตั้งสาขาพรรคใน 4 ภาค การจัดให้มีตัวแทนพรรคในจังหวัดที่ประสงค์จะส่งผู้สมัคร และการให้มีไพรมารีโหวตนั้น กกต.รายนี้ บอกว่า สามารถดำเนินการคู่ขนานไปกับการรอ กกต.ให้ความเห็นชอบการจดทะเบียนได้ เพียงแต่ต้องกะจังหวะเวลาให้นายทะเบียนอนุมัติให้มีจดทะเบียนให้ทันกับจังหวะเวลาเปิดรับสมัคร โดยนายทะเบียนมีเวลาอย่างน้อย45 วันในการพิจารณา พรรคใหม่จึงควรยื่นขอจดทะเบียนกับ กกต. ภาย ใน 1 เดือน เพื่อให้ส่งผู้สมัครทันเวลา และขั้นตอนสุดท้ายคือ จัดให้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคเพื่อให้ความเห็นชอบรายชื่อผู้สมัคร

ก่อนระบุทิ้งท้ายเอาไว้ว่า...ทุกอย่างดูเร่งรีบ แต่ถ้าเตรียมการพร้อมก็เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาใดๆ ในการดำเนินการ รวมถึงกกต.เองที่เชื่อเช่นเดียวกันว่า คงคาดการณ์และเตรียมความพร้อมกันไว้แล้ว...

อย่างไรก็ดี เราต้องไม่ลืมว่า การคาดการณ์เรื่องกรอบเวลาข้างต้นของกกต.รายนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานกรณีที่กฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว!!!!!

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ++เวลาก.ม.ลูกกระชั้นชิด
ในขณะที่มือกฎหมายของรัฐบาลอย่าง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้มุมมองโดยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า แม้จะมีการปลดล็อกพรรคการเมืองในวันนี้แต่ก็กระชั้นกับกรอบเวลาในกฎหมายลูก ซึ่งคสช.ทราบเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นแล้วว่า หากเกิดอะไรขึ้นคงต้องแก้กฎหมายเพื่อผ่อนปรน ขยายเวลาออกไปซึ่งจะทำให้พรรคการเมืองไม่เสียสิทธิกรณีปฏิบัติไม่ทันเวลา และสามารถส่งคนลงสมัครได้แบบไม่ต้องรีบร้อน

เมื่อหันมามองขั้นตอนและกระบวนการตรากฎหมายลูกทั้ง 4 ฉบับของ สนช.ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน โดยที่ผ่านมา พบว่า มี 2 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และร่างพ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีผลบังคับใช้แล้ว

อีก 2 ฉบับที่เหลือ คือร่าง พ.ร.ป.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และร่างพ.ร.ป. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภานั้น ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่า จะผ่านความเห็นชอบในวาระ 3 ได้ประมาณปลายเดือนมกราคม 2561 แต่ถ้ามีความเห็นแย้งก็ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมขึ้นมาพิจารณา ซึ่งก็จะต้องใช้ กรอบเวลาดำเนินการอีกประมาณ 30-50 วัน จึงคาดการณ์ได้ว่า จะผ่านความเห็นชอบของ สนช.ได้ภายในวันที่ 20-22 มีนาคม 2561 จากนั้นจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ

และหากนำมาเทียบเคียงกับกรอบเวลาดำเนินการกฎหมายลูก 2 ฉบับแรกที่ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ดังนั้น การดำเนินการร่างพ.ร.ป. 2 ฉบับที่เหลือก็น่าจะดำเนินการได้ภายในกรอบเวลาเดียวกันที่น่าจะสามารถออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ภายในวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2561

เมื่อเป็นดังนี้แล้วการปลด ล็อกให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมได้ ก็คงต้องรอยาวไปถึงช่วงกลางปี 2561 ซึ่งนักการเมืองก็ต้องร้องเพลงรอไปอีกราวครึ่งปี...

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,323 วันที่ 17 - 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-5-503x62