O2O ทางรอดภัยดิจิตอล

09 ธ.ค. 2560 | 02:00 น.
แบงก์ปรับกลยุทธ์รับโจทย์ดิจิตอลรุกคืบ กสิกรไทยชี้ทางรอดต้องใช้กลยุทธ์ผสมผสานแบบ O2O เปลี่ยน Offline สู่ Online ยํ้าเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องยาก กรุงศรีอยุธยา เชื่อ 3-5 ปีธุรกิจการเงินเจอคลื่นเปลี่ยน แปลงลั่นระบบเพย์เมนต์โดนก่อน

นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การทำธุรกิจระยะข้างหน้าจะเป็นแบบ O2O คือ ระบบ Offline สู่ Online จะเห็นว่าการขยายธุรกิจหรือการเปิดสาขาต่างประเทศ วันแรกนั้น จะต้องไปแบบ Physical หรือการตั้งสาขาหรือเปิดสาขา เพื่อสร้างความมั่นใจว่ามีธุรกิจ มีสาขาธนาคารอยู่จริง แต่หลังจากนั้นจะเป็นการเดินเข้าสู่ออนไลน์ และท้ายที่สุดรูปแบบการทำธุรกิจจะเป็นแบบผสม Offline to Online โดยธนาคารจะเป็นทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการ

[caption id="attachment_239347" align="aligncenter" width="503"] พิพิธ เอนก พิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

ดังนั้นรูปแบบการขยายสาขา ธนาคารมีแพลตฟอร์มพื้นฐาน เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้หรือขยาย ซึ่งจากเดิมจะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ปัจจุบันเหลือเวลาแค่ 2 เดือนก็สามารถเปิดสาขาได้แล้ว อย่างไรก็ดีรูปแบบอาจจะมีการเปลี่ยนเปลี่ยนเล็กน้อยตามกฎระเบียบกติกา กฎหมาย และพฤติกรรมผู้บริโภค เนื่องจากรูปแบบโมเดลจะขึ้นอยู่กับตลาดนั้นๆจะสามารถรับดิจิตอลได้มากน้อยแค่ไหน

ขณะที่สาขาแบบปกติ แม้จะยังอยู่ แต่บทบาทจะต้องเปลี่ยนไปเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างธนาคารและลูกค้า แต่การสร้างจะมีมากหรือน้อย จะเป็นในห้างหรือนอกห้าง หรือจะเป็นบนสถานีรถไฟฟ้า เป็นเรื่องที่ธนาคารต้องคิด โดยวิเคราะห์จากข้อมูลจากปริมาณธุรกรรมบนมือถือผ่าน Bill Payment มีสูงถึง 60% และธุรกรรมการโอนเงิน 60-70% เอทีเอ็ม 2% และสาขาธนาคารเติบโต 1%

“บริษัทที่รู้โจทย์ว่าตลาดต้องการอะไร ลูกค้าต้องการอะไร เป็นสิ่งสำคัญ เพราะวันนี้เรื่องเทคโนโลยีไม่ยากแล้ว มีทั้ง Build มีทั้ง Buy และ Collaborations เรามี KBTG เป็นคนสร้าง ส่วนซื้อเราหาได้จากทั่วโลก และร่วมกันเราจะสามารถสร้างไทยให้ดึงดูดแค่ไหน หรือจะเป็นอาลีเพย์ และวีแชท เพย์ เราก็เริ่มทำมาแล้ว 2 ปี จะเห็นว่าเรื่อง Payment ที่จีน ถูก Disruption ไปนานแล้ว เหลือในมือแบงก์แค่ 20% แต่นอกนั้น 80% อยู่กับนอนแบงก์ หรือพวกอาลีเพย์ วีแชทเพย์ ส่วนเรื่องของสินเชื่อ และ P2P ยังไม่ถูกคุกคาม แต่ในท้ายที่สุดขึ้นกับความท้าทาย การบริหารจัดการ ผู้กำกับดูแล ซึ่งแต่ละประเทศเปิดปิดไม่เท่ากัน รวมถึงสัดส่วนการใช้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นเรื่องสำคัญ”

[caption id="attachment_118061" align="aligncenter" width="503"] ฐากร ปิยะพันธ์ ฐากร ปิยะพันธ์[/caption]

นายฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิตอลแบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผย“ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ไป จะเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเงิน โดยเฉพาะ 4 พื้นที่หลัก ได้แก่ ระบบการชำระเงิน การปล่อยสินเชื่อ ธุรกิจความมั่งคั่ง และระบบการโอนเงินข้ามประเทศ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงและเห็นการ Disruption ทางธุรกิจและเศรษฐกิจ

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 ปัจจุบันเริ่มเห็นคลื่นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของระบบการชำระเงินก่อน แต่คนที่ได้รับคลื่นกระทบจะเป็นคนในพื้นที่กรุงเทพฯ เนื่องจากมีกระแสของโมบายเข้ามา ทำให้เกิดการรวมกันระหว่างโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและระบบการชำระเงิน ที่มี QR Code และการรับโอนเงินแบบพร้อมเพย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงที่เร็วของพื้นที่ระบบการชำระเงิน อย่างไรก็ดีตามสิ่งที่เกิดขึ้นจะเป็นในส่วนของลูกค้า แต่ในส่วนของธนาคารพาณิชย์ จะเป็นฝั่งร้านค้าที่ธนาคารจะต้องเร่งขยายการรองรับ

“ภายใน 3 ปี เราจะเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้น คนจะใช้เงินสดน้อยลงตามกระแสเครื่องมือและเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาท แบงก์เองมีฐานลูกค้า มีธุรกิจและโปรดักต์มาก แต่อาจจะเคลื่อนตัวช้า เราจึงหาโอกาสร่วมมือกับฟินเทคที่มีศักยภาพพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับโจทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปและวิ่งตามให้ทัน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,320 วันที่ 7 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว