ปลัดแรงงานย้ำ!ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 61 ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้าย

28 พ.ย. 2560 | 04:59 น.
ปลัดแรงงาน ย้ำชัด กระบวนการพิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 61 ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้าย ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ใช้เกณฑ์พิจารณาบนพื้นฐานปัจจัยเศรษฐกิจรอบด้าน นำข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ

[caption id="attachment_236161" align="aligncenter" width="503"] นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน[/caption]

-28 พ.ย.60-นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงหลักเกณฑ์การพิจารณาการปรับค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2561 ว่า ขณะนี้กระบวนการพิจารณายังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้ายว่า มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำออกมาเป็นเท่าไหร่ อย่างไร ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของของคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองที่จะต้องพิจารณาประกอบหลักเกณฑ์ต่างๆ โดยได้กำหนดแนวทางการใช้สูตรคำนวณที่มีการเพิ่มเติมตัวชี้วัดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดค่าครองชีพ อัตราค่าเฉลี่ยเงินเฟ้อ มาตรฐานค่าเฉลี่ยค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิตราคาสินค้าและบริการ ความสามารถในการประกอบธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ (จีดีพี) รวมทั้งคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อไปว่า การพิจารณาการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละครั้งจะมีคณะกรรมการค่าจ้าง เป็นระบบไตรภาคี มีผู้แทนทั้งฝ่ายลูกจ้าง นายจ้าง และภาครัฐ ฝ่ายละ 5 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ จากหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ที่จะให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างตามหลักการดังกล่าวอีกด้วย

“ค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเครื่องมือในการปกป้องแรงงานแรกเข้าสู่ตลาดแรงงาน เพื่อมิให้แรงงานแรกเข้าทำงานถูกปฏิบัติจากนายจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หรือจ่ายค่าจ้างที่ต่ำจากที่ควรจะเป็น แต่หากแรงงานได้พัฒนายกระดับฝีมือของตนเองให้มีมาตรฐาน เพื่อเพิ่มศักยภาพและผลิตภาพของงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่สูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งขณะนี้ประกาศใช้แล้ว 67 สาขาอาชีพ และอยู่ระหว่างรอประกาศอีก 16 สาขาอาชีพ ทั้งนี้ การที่จะเข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ทุกฝ่ายควรจะให้ความสำคัญกับศักยภาพแรงงานเป็นลำดับแรก” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวในท้ายสุด e-book