‘นิพิฐ’ รุกยื่นป.ป.ช. ห้าม ‘สุภา’ ยุ่งคดี ปาล์มอินโดฯ

22 พ.ย. 2560 | 07:23 น.
“นิพิฐ” ยื่น ป.ป.ช. ห้าม “สุภา ปิยะจิตติ” และคณะเดินทางไปสอบพยานและเกี่ยวข้องในการไต่สวนคดีปาล์มอินโดฯ เหตุอยู่ระหว่างฟ้องศาลคดีทุจริตฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ 1502775630320-960x0 นายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.กรีน เอ็นเนอร์ยี จำกัด(PTTGE) เข้ายื่นหนังสือต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาห้ามไม่ให้นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ที่เดินทางไปสอบพยาน

เพื่อให้ขั้นตอนกระบวนการไต่สวนชอบด้วยกฎหมาย เกิดความเป็นธรรมตามกระบวนการยุติธรรม และไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย “ขอให้คณะกรรมการป.ป.ช.ได้โปรดพักการไต่สวนไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด มิฉะนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง” หนังสือระบุนายนิพิฐ ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาตามคดีหมายเลขดำที่ 02-2-322 ถึง326/2557 โดยมีนางสาวสุภา หนึ่งในคณะกรรมการป.ป.ช. ผู้รับผิดชอบสำนวน
วิทยุพลังงาน ได้ยื่นฟ้องคดีอาญานางสาวสุภา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ หมายเลขดำที่ อท.492/2560 ในข้อหาหรือฐานความผิดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ ขัดต่อบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ฝ่าฝืนระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติว่าด้วยประมวลจริยธรรมฯ

โดยนายนิพิฐ เดินทางไปสำนักงาน ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา หลังจากเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นางสาวสุภา ต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ
tp16-3256-1 คดีสืบเนื่องมาจากนางสาวสุภา ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.และเป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปสอบข้อเท็จจริง โดยนางรสยา เธียรวรรณ ผู้ถูกกล่าวหาต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ในคดีอาญาว่าเกี่ยวข้องสัมพันธ์โดย ตรงกับคดีทุจริตปาล์มนํ้ามันอินโดนีเซีย ได้เดินทางไปในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ได้ทราบเป็นอย่างดีว่านางรสยา เป็นผู้ถูกกล่าวหา และถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญามากถึง 5 คดี นอก จากนี้ นางรสยา มีพฤติกรรมเข้าข่ายติดสินบนพยาน

โดยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 นำส่งถุงสินบนมอบให้กับ นายบูลฮันนุดดิน (Burhanuddin) ผู้ร่วมลงทุนในโครงการ PT.KPI และเป็นพยานปากสำคัญ เพื่อให้พยานให้ถ้อยคำบิดเบือนข้อเท็จจริง ก่อนที่นางสาวสุภาเดินทางไปสอบข้อเท็จจริงจากพยานเข้าสอบสวนนายบูลฮันนุดดิน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ระยะเวลาห่างก่อนสอบปากคำประมาณ 2 วัน ซึ่งเป็นผลร้ายต่อนายนิพิฐ
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01

ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 นางรสยาได้เดินทางกลับจากประเทศอินโดนีเซีย ด้วยสายการบินเที่ยวเดียวกันพร้อมกับเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.“นางสาวสุภา และพนักงานเจ้าหน้าที่ป.ป.ช.สอบ ปากคำพยานนายบูลฮันนุดดิน และจัดทำบันทึกถ้อยคำพยาน ไม่ตรงตามที่ให้ถ้อยคำไว้ และปรักปรำบุคคลภายนอกผู้สุจริต เป็นเหตุให้พยานโกรธมากจึงไม่ยอมลงลายมือชื่อ”

นอกจากนี้ได้ยื่นหนังสือ ร้องขอความเป็นธรรมถึงนางสาวสุภาและคณะกรรมการ ป.ป.ช. พร้อมพยานหลักฐานที่สำคัญในคดี ที่ปรากฏชัด เจนว่ามีกลุ่มบุคคลที่ทำให้เกิดความเสียหายที่แท้จริงต่อปตท. และ PTTGE ไม่น้อยกว่า 12 ครั้ง แต่ก็เพิกเฉยไม่ดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้องแต่อย่างใด “นางสาวสุภา ที่ขยันทำงานในคดีปาล์มอินโดนีเซียเป็นพิเศษกว่าคดีอื่นๆ ทั่วไป จะแสดงความรับผิดชอบโดยการถอนตัวออกจากคณะกรรมการไต่สวนหรือไม่ และคณะกรรมการป.ป.ช.ยังจะฝืนให้นางสาวสุภา เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนอีกหรือไม่”

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว