เกษตรฯเผยพิษหย่อมความกดอากาศต่ำ นาข้าวเสียหายสิ้นเชิง 1.14 ล้านไร่

08 พ.ย. 2560 | 04:18 น.
กระทรวงเกษตรฯ เผยพิษหย่อมความกดอากาศต่ำ นาข้าวเสียหายสิ้นเชิง 1.14 ล้านไร่

-8 พ.ย.60-แหล่งข่าวจากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ศูนย์ติดตามและการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สถานการณ์อุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม-ปัจจุบัน สาเหตุมาจากหย่อมความกดอากาศต่ำ ร่องมรสุม ทำให้ได้รับผลกระทบน้ำท่วม 40 จังหวัด ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ จำนวน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิจิตร สุโขทัย นครสวรรค์ พิษณุโลก ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ มหาสารคาม ขอนแก่น อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ หนองบัวลำภู ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี นนทบุรี ปทุมธานี และสุพรรณบุรี

"เกษตรกรได้รับผลกระทบรวม 1.94 แสนราย แบ่งเป็นด้านพืช ได้รับผลกระทบ 38 จังหวัด เกษตรกร 1.73 แสนราย พื้นที่ 1.56 ล้านไร่ ข้าว 1.14 ล้านไร่ พืชไร่ 0.38 ล้านไร่ ด้านประมงได้รับผลกระทบ 23 จังหวัด เกษตรกร 1.07 หมื่นราย พื้นที่บ่อปลา 1.17 หมื่นไร่ กระชัง 1,997 ตรม. และด้านปศุสัตว์ ได้รับผลกระทบ 16 จังหวัด เกษตรกร 1.01 หมื่นราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 3.25 แสนตัว แบ่งเป็น โค กระบือ 2.6 หมื่นตัว สุกร 1.15 หมื่นตัว แพะแกะ 5,144 ตัว สัตว์ปีก 2.87 แสนตัว แปลงหญ้า 460 ไร่"

S__12410962 ด้านนายกอบชัย บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ มีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ โดยจะมีฝนเป็นบางแห่งบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีลงไป จนถึงจังหวัดนราธิวาส และอาจมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ได้แก่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง คลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร โปรดระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าสู่ฝั่ง เรือเล็ดควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้
ส่วนสภาพน้ำท่าในภาพรวมระดับน้ำในลุ่มน้ำต่างๆ มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้ ภาคเหนือ ลุ่มน้ำยม บริเวณจังหวัดพิจิตร สุโขทัย พิษณุโลก ลุ่มน้ำน่าน จ.พิจิตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี บริเวณขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร ลุ่มน้ำมูล จ.บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ภาคกลาง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา

วิทยุพลังงาน นายกอบชัย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันทางกรมชลประทานลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนระดับน้ำล้นตลิ่งบริเวณที่ลุ่มต่ำมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับพื้นที่ยังคงมีน้ำท่วมและระดับน้ำทรงตัวได้แก่ ลุ่มน้ำท่าจีน จ.นครปฐม สุพรรณบุรี ปริมาตรน้ำในเขื่อน ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก (21 แห่ง) ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ปรับลดการกระบายน้ำจะช่วยให้สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ท้ายเขื่อนมีแนวโน้มคลี่คลาย คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายในเดือนพฤศจิกายนนี้

"สรุปภาพรวมสถานการณ์อุทกภัย ปี 2560 แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค.-7 พ.ย. 60 มีสถานการณ์อุทกภัย ใน 60 จังหวัด 582 อำเภอ 3,024 ตำบล 2.17 หมู่บ้าน 85 ชุมชน 7.46 แสนครัวเรือน 2.26 ล้านคน ผู้เสียชีวิต 65 ราย และสถานการณ์ปัจจุบัน ระหว่างวันที่ 10 ต.ค.-7 พ.ย.60 ยังคงมีสถานการณ์ใน 5 ลุ่มน้ำ 14 จังหวัด 52 อำเภอ 361 ตำบล 1,968 หมู่บ้าน 1.03 แสนครัวเรือน 2.69 แสนคน ผู้เสียชีวิต 18 ราย ช่วยเหลือแล้วทั้ง 18 ราย"

นายประลอง ดำรงค์ไทย โฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยตามที่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ห่วงใยความเป็นอยู่ ประชาชนที่ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะในพื้นที่ 17 จังหวัด จึงได้ให้หน่วยงานต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือประชาชน ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ จึงมอบหมายผู้บริหารระดับสูงในสังกัด และ ผต.ทส. ลงพื้นที่ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อบูรณาการร่วมกันในการช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย อย่างรวดเร็ว และทันเหตุการณ์

สำหรับพื้นที่ที่มีสภาพน้ำท่วมขัง/เน่าเสีย ก็จะฟื้นฟูโดยการเท และมอบ น้ำหมักชีวภาพ(EM) เพื่อเป็นการฟื้นฟูน้ำที่เน่าเสีย รวมถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ นอกจากนี้. ยังได้ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานภายใต้สังกัด ทส. และเครือข่าย ทสม.เยี่ยมผู้ประสบอุทกภัย พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือราษฎร พร้อมมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ ประกอบไปด้วย น้ำดื่มสะอาด(ที่ผลิตโดย กรมทรัพยากรน้ำบาดาล) และถุงยังชีพ เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเบื้องต้นแก่ผู้ประสบอุทกภัย ไปแล้วทั้ง 17 จังหวัด ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว