ดีเดย์! เปิด “สายสีนํ้าเงิน” ส่วนต่อขยาย ปลายปี 61

07 พ.ย. 2560 | 09:38 น.
1550

ดีเดย์! รฟม. เร่งเปิดเดินรถ “สายสีน้ำเงิน” ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค ปลายปี 61 ก่อนเร่งส่วนต่อช่วงบางซื่อ-ท่าพระต่อเนื่องกันไป ส่วน “สีม่วงใต้” ส่วนต่อขยาย ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ แบ่งเฟสดำเนินการระยะแรก ให้เชื่อมถึงสถานีวังบูรพา เพื่อป้อนผู้โดยสาร พร้อมเร่งศึกษา พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์


นายกฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า อยู่ระหว่างการเร่งดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ-บางแค ให้สามารถเปิดบริการในปลายปี 2561 ก่อนที่จะเร่งเปิดให้บริการในส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ต่อเนื่องกันไป

 

[caption id="attachment_226471" align="aligncenter" width="344"] ฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)[/caption]

“ดังนั้น ช่วงตั้งแต่สถานีหัวลำโพง-ท่าพระ จึงจะสามารถเปิดให้บริการได้ก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งรัดวางราง ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาให้แล้วเสร็จ พร้อมตกแต่งในส่วนที่เหลืออีกบางส่วนเท่านั้น กลางปีหน้าก็จะทยอยทดสอบเพื่อให้สามารถเปิดบริการในช่วงปลายปีได้ตามแผนต่อไป”

รักษาการผู้ว่าการ รฟม. กล่าวอีกว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนปี 2556 ในโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วงเหนือ) ช่วงบางใหญ่-เตาปูน เพื่อให้ได้ข้อมูลรายละเอียดอย่างครอบคลุม ก่อนนำไปสู่กระบวนการอื่น ๆ ต่อไป

ทั้งนี้ เบื้องต้นนั้น ไม่จะเป็นจะต้องว่าจ้างให้ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (บีอีเอ็ม) รับไปดำเนินการเท่านั้น ซึ่งนโยบายของผู้บริหารระดับสูงของ รฟม. อยากให้ตั้งบริษัทลูกของ รฟม. เอง ขึ้นมาดำเนินการ เนื่องจากจะง่ายต่อการดำเนินการมากกว่าจะไปว่าจ้างให้บีอีเอ็มดำเนินการทั้งหมดทุกโครงการ


1607

“ปัจจุบัน ปริมาณผู้โดยสารยังไม่ดึงดูดใจให้เอกชนมาลงทุน รฟม. จึงต้องเร่งเพิ่มปริมาณผู้โดยสารให้มากกว่าปัจจุบันนี้ขึ้นไปอีก จึงหากลยุทธ์ดึงดูดประชาชนให้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีม่วงให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ การเร่งรัดโครงการส่วนต่อขยายจากเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ซึ่งหากสามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณผู้ใช้บริการมากกว่าปัจจุบันนี้ ที่เพิ่มขึ้นจาก 2-3 หมื่นคนต่อวัน เป็น 4-5 หมื่นคนต่อวัน โดยในเบื้องต้นนั้น มีแผนการก่อสร้างระยะแรก จากช่วงเตาปูน-สถานีวังบูรพา ของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (MRT) ส่วนต่อขยายให้ได้ก่อน เพื่อเพิ่มความสะดวก อีกทั้งยังจะเป็นการเพิ่มปริมาณผู้โดยสารได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ก่อนที่จะเร่งส่วนที่เหลือต่อเนื่องกันไป”

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,310 วันที่ 2-4 พ.ย. 2560 หน้า 12

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว