นายกฯห่วงใยเกษตรกร แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก

23 ต.ค. 2560 | 09:17 น.
นายกฯ ห่วงใยเกษตรกร แนะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก มุ่งเน้นลดรายจ่ายเพิ่มมูลค่าผลผลิต ย้ำรัฐบาลยินดีช่วยเหลือทุกรูปแบบ วอนทุกฝ่ายร่วมมือขจัดปัญหาการเกษตรที่เรื้อรัง

[caption id="attachment_222665" align="aligncenter" width="470"] พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด[/caption]

-23 ต.ค.60-พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้เวลาช่วงวันหยุดทบทวนภารกิจและปัญหาสำคัญของบ้านเมืองโดยเฉพาะปัญหาปากท้องและชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องเกษตรกรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศโดยย้ำว่า การจัดสรรพื้นที่เพาะปลูกอย่างเหมาะสมการทำไร่นาสวนผสมควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา สุกร ฯลฯ เพื่อให้มีรายได้เสริมและลดรายจ่ายของครอบครัวตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เป็นแนวทางที่ควรนำไปประยุกต์ใช้

“การทำให้สินค้าเกษตรมีราคาดีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ที่สำคัญคือการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรควรพิจารณาปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกโดยใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ ใช้วิธีอินทรีย์และนวัตกรรมเข้ามาช่วย เช่น ปลูกข้าวอินทรีย์ แปรรูปยาง หรือปลูกปาล์มที่ให้น้ำมันสูงขึ้น เพราะตลาดมีความต้องการมาก ขณะเดียวกันต้องลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งการจ้างคน การใช้ปุ๋ยเคมีที่ไม่จำเป็น และประหยัดการใช้น้ำ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 นอกจากนี้ ควรรวมกลุ่มให้เกิดความเข้มแข็ง สร้างอำนาจต่อรอง เพื่อไม่ให้ถูกกดราคา โดยรัฐบาลกำลังจัดหาและพัฒนาตลาด ทั้งตลาดทั่วไปและตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้รักสุขภาพ กลุ่มที่ชอบสินค้าแปลกใหม่ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ค้าสามารถขายสินค้าได้โดยตรง โดยจะกระจายอยู่ทั่วประเทศและขยายไปยังต่างประเทศด้วย”

นายกรัฐมนตรียังกล่าวด้วยว่า หากพี่น้องเกษตรไม่ร่วมมือหรือปรับเปลี่ยนวิธีการทำการเกษตรกร ก็คงไม่มีรัฐบาลใดช่วยแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนได้ นอกจากใช้วิธีพยุงราคาซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้น เปรียบเหมือนการให้ยาเลี้ยงไข้แต่ไม่มีวันหาย ที่ผ่านมาการปลูกพืชตามกระแสจนปริมาณล้นตลาดเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ ดังนั้น เมื่อทุกคนมองเห็นจุดอ่อน มีการยื่นข้อเรียกร้อง และภาครัฐบาลรู้ความต้องการของตลาด ทั้งเกษตรกรและรัฐบาลจึงต้องพร้อมใจกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง

“รัฐบาลยินดีสนับสนุนส่งเจ้าหน้าที่ลงไปให้คำแนะนำเพื่อทำงานร่วมกันรวมทั้งอยากให้พี่น้องเกษตรกรไปติดต่อพูดคุยปรึกษาหารือกับบุคลากรด้านการเกษตรทุกระดับที่อยู่ในพื้นที่หรือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก)ที่มีอยู่กว่า880แห่งทั่วประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลพัฒนาความรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการเพาะปลูกให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ยกระดับรายได้และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ตนเองและครอบครัว” ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว