เศรษฐกิจจีนเติบโตต่อเนื่อง … จับตาการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

20 ต.ค. 2560 | 11:39 น.
[caption id="attachment_221787" align="aligncenter" width="671"] kb1020-1-01 แหล่งที่มาข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน[/caption]

ตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงเติบโตได้ดีในไตรมาสที่สาม โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) สำหรับไตรมาสที่ผ่านมามีการขยายตัวร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว (YoY) ซึ่งเป็นการชะลอลงเพียงเล็กน้อยจากช่วงครึ่งแรกของปีที่เติบโตร้อยละ 6.9 YoY นอกจากนี้ ผลผลิตอุตสาหกรรมก็ได้มีการขยายตัวร้อยละ 6.6 YoY ในเดือนกันยายน จากที่มีการขยายตัวร้อยละ 6.0 YoY ในช่วงเดือนสิงหาคม

ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเร่งขึ้นของยอดค้าปลีกในเดือนกันยายนที่ร้อยละ 10.3 YoY จากร้อยละ 10.1  YoY ในเดือนสิงหาคม ซึ่งสื่อถึงความแข็งแกร่งด้านอุปสงค์ แม้การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรตั้งแต่ต้นปี (YTD) จะชะลอลงจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.8  YoY มาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 YoY ก็ตาม ด้วยการที่การลงทุนยังคงสูงพอควร และด้วยการที่ตัวชี้วัดเศรษฐกิจตัวอื่นๆอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เมื่อพิจารณาตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่ออกมาล่าสุดโดยรวมแล้ว สัญญาณเศรษฐกิจจีนก็ยังคงอยู่ในเชิงบวกอยู่ดี
4043b7bc6feb5a216d5937eb35f765d4 สถิติภาคเศรษฐกิจจริงที่ทางรัฐประกาศออกมาวันนี้ได้ช่วยเพิ่มความชัดเจนให้กับภาพเศรษฐกิจจีน  หลังจากที่ข้อมูลจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ทั้งภาคการผลิตและภาคการบริการของทางการและเอกชนส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกัน  กล่าวคือดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของทางการปรับตัวขึ้นจาก 51.7 สำหรับเดือนสิงหาคม เป็น 52.4 สำหรับเดือนกันยายน

ซึ่งเป็นค่าที่สูงที่สุดตั้งแต่เมษายน 2555 แต่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต Caixin จากบริษัทข้อมูลทางตลาด Markit กลับมีการปรับลงมาที่ 51.0 จาก 51.6 ในเดือนสิงหาคม สำหรับตัวเลขในภาคบริการก็เช่นกัน โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการของทางการ ได้ปรับขึ้นจาก 53.4 สำหรับเดือนสิงหาคมเป็น 55.4

สำหรับเดือนกันยายน ซึ่งเป็นค่าสูงสุดตั้งแต่พฤษภาคม 2557 แต่ในขณะเดียวกัน ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ Caixin ก็ได้มีการปรับลงสู่ 50.6 จาก 52.7 ในเดือนสิงหาคม โดยที่ค่าของเดือนกันยายนอยู่ในระดับต่ำที่สุดในรอบสองปี

ความแตกต่างดังกล่าวอาจมาจากการที่ดัชนี Caixin  จะเน้นไปยังวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือจากการที่ดัชนี Caixin เป็นผลผลิตของภาคเอกชน ซึ่งทำให้การคำนวณดัชนีดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐเทียบเท่ากับตัวดัชนีของทางการก็เป็นได้ และด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่าแม้ภาพรวมเศรษฐกิจจีนจะชี้ที่ถึงการเติบโตที่ดี การเติบโตดังกล่าวก็ยังคงมีความเปราะบางอยู่ และอาจสะท้อนว่าการเติบโตยังคงพึ่งพานโยบายรัฐผ่านการสนับสนุนรัฐวิสาหกิจอยู่ แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01 ข้อมูลการค้าของจีนก็ส่งสัญญาณบวกเช่นกัน โดยที่การส่งออกปรับตัวขึ้นร้อยละ 8.1 YoY และการนำเข้าก้าวกระโดดถึงร้อยละ 18.7 YoY ทำให้เกินดุลการค้า 28.47 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยที่ทั้งการส่งออกและนำการเข้าขยายตัวมากกว่าในช่วงเดือนสิงหาคมที่ทั้งสองมีการเติบโต ร้อยละ 5.5  และร้อยละ 13.3 ตามลำดับ มูลค่าการค้าที่แข็งแกร่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวม และอุปสงค์สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังคงแรงอยู่ รวมถึงปัจจัยเรื่องราคาของสินค้าโภคภัณฑ์ จำพวกแร่เหล็ก เป็นต้น

หากจะมองไปยังไตรมาสที่สี่แล้ว เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มจะชะลอลงเล็กน้อย ทั้งนี้เพราะผลกระทบจากฐานที่สูง (high base effect) จากไตรมาสที่สี่ในปีที่แล้ว ที่จะส่งผลเชิงลบต่ออัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจีนในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ และเพราะความอ่อนแรงในภาค SME ซึ่งถูกสะท้อนอยู่ในที่ดัชนี Caixin ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม การที่เศรษฐกิจจีนได้สร้างโมเมนตัมไว้มากพอควรแล้วในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาที่ขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 6.9 บวกกับการที่ทางรัฐบาลจีนน่าจะดำเนินนโยบายประคับประคองการเติบโตของเศรษฐกิจให้ไม่ต่ำจนเกินไปในไตรมาสที่สี่

[caption id="attachment_221789" align="aligncenter" width="503"] แหล่งที่มาข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน แหล่งที่มาข้อมูล: สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน[/caption]

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงคาดว่าเศรษฐกิจจีนจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยทั้งปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.7 YoY ในปีนี้ สำหรับด้านมาตรการนโยบายเศรษฐกิจ ประเด็นหลักสองประเด็นก็คือเรื่องนโยบายทางการเงิน และเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ หากเป็นเรื่องแรก ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าธนาคารกลางจีน  (People’s Bank of China) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้จนสิ้นปี

ทั้งนี้เพราะว่าไม่ว่าปัจจัยด้านเงินเฟ้อหรือด้านความเสถียรภาพ ต่างก็มิได้สร้างความกดดันให้ทางการปรับดอกเบี้ยขึ้นแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ปรับขึ้นร้อยละ 1.6 YoY ในเดือนกันยายน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 3.0 YoY พอควร หรือการที่ค่าเงินหยวนอยู่ในเกณฑ์ที่สูงอย่างเหมาะสมก็ตามที
1 ส่วนด้านการที่ทางการจะปรับโครงสร้างเศรษฐกิจนั้น ทางรัฐบาลจีนได้กล่าวเตือนถึงความเสี่ยงสามประการมานานแล้ว ซึ่งก็คือ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ การเติบโตของสินเชื่อที่เร็วเกินไป และปัญหาด้านประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจจีน

จากทั้งสามประเด็นดังกล่าว รัฐบาลจีนมีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับการจำกัดการขยายตัวของสินเชื่อ และการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจก่อน ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ราคาและอุปสงค์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้แผ่วลงบ้างแล้ว ในขณะที่การเติบโตของหนี้สินและปัญหาด้านประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจต่างเป็นปัญหาเรื้อรังซึ่งมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบเชิงลบในวงกว้าง และอาจทำให้การลงทุนซึ่งเป็นกลไกการขับเคลื่อนผลักดันเศรษฐกิจจีนมาทั้งปีต้องสะดุดก็เป็นได้   ล้วงให้ลึก-ทุกศักยภาพในจีน แต่การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจนั้น คาดว่าจะดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยที่หนึ่งในอุปสรรคต่อการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆก็คือระบบราชการที่ซับซ้อน และการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์ที่กำลังดำเนินการอยู่จะทำให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้รวบรวมอำนาจทางการเมืองให้ตนมีอิทธิพลมากยิ่งไปกว่าเดิม และมีการสับเปลี่ยนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญในพรรคคอมมิวนิสต์ให้มีบุคคลที่สนับสนุนแนวทางของ สี จิ้นผิง มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ย่อมทำให้การปฏิรูปดำเนินการได้ง่ายขึ้น

โดยมาตรการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจก็น่าจะเล็งที่รัฐวิสาหกิจที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางก่อนที่จะมีการจัดการรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมของการปกครองท้องถิ่นที่ดูแลมณฑลต่างๆ ทั้งหมดนี้ทำให้เศรษฐกิจจีนน่าจับตามองยิ่งในช่วงที่เหลือของปี

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว