ชี้ทิศเงินบาทแข็งค่าสิ้นปีหน้าแตะ 31บาทต่อดอลล์

18 ต.ค. 2560 | 11:58 น.
 

นักลงทุนไทย-ต่างประเทศ ตอบรับปฎิทินการเมืองชัดเลือกตั้งพ.ย.ปีหน้า จับตากิจกรรมแต่ละพรรค ขณะที่เศรษฐกิจไทยได้รับแรงหนุน 4 นโยบายรัฐเดินหน้า “โครงการลงทุนพื้นฐานเกิด-อีอีซีผนึกรัฐเอกชนลงทุน-ไทยเป็นจุดศูนย์กลางกลุ่มประเทศ CLMV เติบโตในอีก 5 ปีข้างหน้า-ไทยแลนด์ 4.0คืบหน้า” ขณะสัญญาณเบิกจ่ายปี61 กว่า 2 แสนล.

[caption id="attachment_221129" align="aligncenter" width="335"] นายดิฟยา ดาเวช นายดิฟยา ดาเวช[/caption]

นายดิฟยา ดาเวช นักกลยุทธ์ด้านอัตราแลกเปลี่ยน ประจำทวีปเอเชีย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ผลจากเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น ทั้งในสหรัฐ อียู จีน เป็นส่งแรงหนุนให้เศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่เติบโตขึ้นเช่นกัน แต่แนวโน้มอีก 6 เดือนข้างหน้าสกุลเงินดอลล่าร์อาจเผชิญความเสี่ยงจากค่าจ้าง และเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากนโยบายปฏิรูปภาษี  ขณะที่ ตลาดเกิดใหม่ยังคงเติบโตต่อไปใน 6 เดือนข้างหน้าและเฟดน่าจะขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนค่าเงินบาทยังแข็งตัวอย่างต่อเนื่องเป็นผลจากดุลบัญชีเงินสะพัดที่ยังเกินดุลอยู่ และรายได้ที่มาจากการท่องเที่ยวโดยประเมินสิ้นปีนี้เงินบาทแตะ 32.5บาทต่อดอลล์และปีหน้าอยู่ที่ระดับ 31 บาทต่อดอลล์

[caption id="attachment_221127" align="aligncenter" width="335"] นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นายทิม ลีฬหะพันธุ์[/caption]

นายทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ประจำประเทศไทย และนักเศรษฐศาสตร์สายงานตลาดเงินและตลาดทุน ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องโดยปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากภาคการส่งออก โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาภาคการส่งออกเติบโตได้ที่ระดับ  9%สะท้อนทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่เติบโตได้ 2หลักซึ่งทั้งปีนี้จีดีพีน่าจะเติบโตที่ 3.6% และปีหน้าเติบโตได้ 4.3% แม้จะต่ำกว่าศักยภาพที่จะเติบโตได้ที่ระดับ 5% แต่เนื่องจากการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ตอบสนอง  แม้จะมีปัจจัยหนุนเดินหน้า   ไม่ว่าปฏิทินการเมืองที่ชัดเจนด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561  และได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยตลาดจับตากิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะคึกคัก ส่วนหนึ่งจากนโยบายจากพรรคการเมือง  อีกทั้งแนวโน้มเงินทุนไหลเข้าในตลาดหุ้นเพราะมีการเดินหน้าสู่การเลือกตั้งอย่างเป็นรูปธรรม

“แรงหนุนเศรษฐกิจไทยในระยะยาว 4 ประการ ซึ่งเป็นผลจากการดำเนินนโยบายของคสช.คือ  1.ความต่อเนื่องทางการเมือง ทำให้การลงทุนปัจจัยพื้นฐานเกิดขึ้น 2. โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน 3. การที่ประเทศไทยเป็นจุดศูนย์กลางของกลุ่มประเทศ CLMV ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในอีกห้าปีข้างหน้า 4. นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แม้จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ในบางภาคอุตสาหกรรม เช่น การเงิน ก็มีความคืบหน้าที่เห็นได้ชัด”

ส่วนการลงทุนปัจจัยพื้นฐาน 1.79ล้านล้านบาทนั้นปีหน้าคาดว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้กว่า 2แสนล้านบาท จากที่มีหลายโครงการที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติและเซ็นต์แล้วทั้งโครงการขนาดกลาง-เล็กเดินหน้าได้จริง แม้ว่าที่ผ่านมาจะเบิกจ่ายค่อยข้างช้าและโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เวลา และแนวโน้มภาระหนี้สาธารณะที่ยังคงอยู่ในระดับไม่เกิน 50%แม้ประเทศไทยจะต้องกู้ยืมเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้แล้วเสร็จโครงการ และทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีหน้ายังสะท้อนวัฏจักรขาขึ้น ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) น่าจะปรับดอกเบี้ย 2-3 ครั้ง โดยอิงจากเสถียรภาพทางการเงิน และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ