‘เพนกวิน’โตแบบพอเพียง ขยายลงทุนแบบMVNOย้ำจุดเด่นคล่องตัว

15 ต.ค. 2560 | 04:31 น.
ไวท์สเปซ ผู้ให้บริการซิมเติมเงินแบรนด์ “เพนกวิน” ที่เน้นประหยัดและพอเพียง ขยายแขนขา “MVNO” ขอสิทธิ์ทำตลาดให้ “ทีโอที” บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ ชูคอนเซ็ปต์พอเพียง เตรียมเปิดให้บริการภายในเดือนพ.ย. นี้ ชี้ภาพรวมอุตสาหกรรมแข่งขันเรื่องราคา หลัง “ดีแทค ไตรเน็ต” ส่งแบรนด์น้องใหม่ “ไลน์ โมบาย” ลงตลาด

[caption id="attachment_217954" align="aligncenter" width="335"] ชัยยศ จิรบวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด ชัยยศ จิรบวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด[/caption]

นายชัยยศ จิรบวรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะ ไวท์สเปซ จำกัด ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง หรือ MVNO (Mobile Virtual Network Operator) ซึ่งให้บริการภายใต้แบรนด์ “เพนกวิน” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ได้อนุมัติให้บริษัทเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไม่มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง หรือ MVNO บนคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์

เหตุผลที่บริษัทยื่นขอเป็นผู้ให้บริการ MVNO จาก ทีโอที เนื่องจากเปิดกว้าง และที่สำคัญคลื่นความถี่ 2100 เมกะ เฮิรตซ์ เครื่องลูกข่ายที่ผลิตออกมานั้นรองรับได้เกือบทุกแบรนด์ แตกต่างจากคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากเครื่องลูกข่ายมีข้อจำกัดรองรับได้เฉพาะตลาดกลาง และบน เท่านั้น

“ประโยชน์ที่เราจะได้รับครั้งนี้ คือ บริษัทสามารถให้บริการได้หลากหลายจากเดิมที่มีข้อจำกัดเรื่องเครื่องลูกข่าย ไอโฟน-ซัมซุง และ ออปโป้ เป็นต้น”

สำหรับเงื่อนไขในการทำตลาดครั้งนี้ไม่แตกต่างจากเงื่อนไขของ แคท หรือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่บริษัทได้ขอเป็นผู้ให้บริการ MVNO และให้บริการภายใต้แบรนด์ “เพนกวิน” มากนักเพราะยึดหลักเดียวกัน แตกต่างแค่ในรายละเอียด ขณะที่สัญญาที่ให้บริการสิ้นสุดในปีเดียวกัน คือ ปี 2568

MP20-3304-A นายชัยยศ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับสถานีฐานของ ทีโอที มีจำนวนมากกว่า 15,000 สถานี มีความสามารถรองรับเครือข่ายได้ถึง 5 ล้านเลขหมาย ดังนั้นบริษัทมีแผนจะเปิดแบรนด์ MVNO ใหม่เพิ่มอีก 1 แบรนด์ นอกเหนือจาก “เพนกวิน” โดยจะเปิดให้บริการภายในระหว่างเดือนพฤศจิกายน และ ธันวาคมนี้ ส่วนการทำตลาดจะเน้นประหยัด และพอเพียง เหมือนซิมเพนกวิน เช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน “เพนกวิน” ให้บริการเฉพาะระบบเติมเงินเท่านั้น มีผู้ใช้บริการจำนวนทั้งสิ้น 5 แสนเลขหมาย ส่วนจำนวนสถานีฐาน แคท ได้ติดตั้งและให้บริการทั่วประเทศจำนวน 15,000 สถานี

นายชัยยศ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับภาพรวมการแข่งขันอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขณะนี้บรรดาผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะ
เน้นเรื่องราคาพอสมควร เพราะขณะนี้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด หรือ DTN บริษัทในเครือดีแทค ได้ซื้อลิขสิทธิ์ “ไลน์ โมบาย” เข้ามาทำตลาดเพิ่มอีก 1 แบรนด์ โดยเน้นเรื่องของราคาเป็นหลัก

นอกจากนี้นายชัยยศ ยังกล่าวต่ออีกว่า เหตุผลที่บริษัทยังสามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ MVNO ได้นั้น เนื่องจากว่ามุ่งเน้นธุรกิจด้านมือถือเป็นหลัก อีกทั้งยังมีทีมงานที่มีประสบการณ์ในธุรกิจนี้มานาน ดังนั้นบริษัทจึงมีเป้าหมายธุรกิจที่ชัดจน ที่สำคัญบริษัทเป็นบริษัทขนาดเล็กการตัดสินใจจึงรวดเร็วกว่าบริษัทขนาดใหญ่

ปัจจุบันผู้ให้บริการ MVNO มีเพียง 2 ราย คือ บริษัท 168 คอมมูนิเคชั่น จำกัด ที่ให้บริการแบรนด์ 168 และซิมเพนกวิน ที่ให้บริการภายใต้โครงข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่บนย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ของ แคท เท่านั้น ขณะที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบมีโครงข่ายของตัวเอง ประกอบไปด้วย เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,304 วันที่ 12 - 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1