กรมการค้าต่างประเทศ แจงการระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ

23 ก.ย. 2560 | 05:17 น.
นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงประเด็น“กรณีนายวัชระ  เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ตั้งข้อสังเกตว่า มีข้อพิรุธในการระบายข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม” นั้น

[caption id="attachment_211790" align="aligncenter" width="503"] นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ[/caption]

กรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ขอเรียนว่า

• กรณีบริษัท วีออร์แกนนิก ที่เข้าประมูลซื้อข้าวไปทำปุ๋ย นั้น ซึ่งจากการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน ที่บริษัทฯ ใช้ยื่นประมูล โดยคณะทำงานเปิดซองร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรากฏว่ามีคุณสมบัติถูกต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประกาศประมูลข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 1/2560 และเมื่อบริษัทฯ ได้รับมอบข้าวที่ซื้อไปแล้ว จะต้องนำข้าวที่ซื้อไปทำปุ๋ยตามที่แจ้งไว้ในการประมูล ซึ่งตามเงื่อนไขประกาศประมูลกำหนดไว้ หากปรากฏว่า บริษัทนำข้าวที่ได้จากการประมูลไปใช้ไม่ตรงตามวัตถุประประสงค์ที่แจ้งไว้ในการประมูล ก็เป็นความรับผิดชอบของบริษัท ที่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา โดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) ในฐานะคู่สัญญาจะเป็นผู้รับผิดชอบบังคับให้เป็นไปตามที่บริษัทต้องรับผิดต่อไป

• กรณีหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้ระงับการจำหน่ายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ ครั้งที่ 2/2560 และการระงับการทำสัญญาซื้อขายข้าวสารในสต็อกของรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน ครั้งที่ 2/2560 ทำให้สามารถดำเนินการระบายข้าวได้ตามปกติต่อไป ซึ่งในประเด็นนี้มีสื่อบางสำนักกล่าวหาในทำนองว่าผู้ปฏิบัติงานชะลอการปฏิบัติงานไม่ดำเนินการระบายข้าวในสต๊อก (เกียร์ว่าง) นั้น การระบายข้าวในสต๊อกของรัฐ เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเป็นระบบกล่าวคือ ต้องผ่านการพิจารณาของคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวในสต็อกของรัฐ และคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ตามกรอบที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ให้ความเห็นชอบ ซึ่งมิได้เป็นการตัดสินใจของกรมการค้าต่างประเทศเพียงหน่วยงานเดียวตามลำพัง ส่วนที่ยังไม่มีการระบายข้าวโดยทันทีทันใดหลังจากที่ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น เนื่องจากมีข้อร้องเรียนจากเจ้าของคลังบางรายที่มีข้อข้องใจเรื่องการตรวจสอบคุณภาพข้าว รัฐบาลจึงให้มีการตรวจสอบในเรื่องนี้ จนได้ทราบชัดเจนแล้วว่า การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความถูกต้อง ประกอบกับการที่รัฐบาลจำเป็นต้องระบายข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมที่มิใช่การบริโภคของคน ต้องมีการกำหนดมาตรการ และการกำกับควบคุมดูแลมิให้ผู้ซื้อข้าวลักลอบนำข้าวดังกล่าวไปขายในตลาดการค้าข้าวปกติเพื่อผู้บริโภค ดังนั้น การระบายข้าวที่เตรียมการไว้แล้วในครั้งต่อไปซึ่งมีปริมาณมาก จำเป็นต้องรอความพร้อมในด้านบุคลากรของหน่วยงานปฏิบัติที่มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลมิให้มีการลักลอบนำข้าวไปขายในตลาดข้าวบริโภค ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการระบายข้าวในครั้งต่อไปได้ในไม่ช้า มิได้มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเกียร์ว่าง ตามที่กล่าวหาแต่อย่างใด

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ • กรณีข้อร้องเรียนคลังสินค้า บจก. เจ อาร์ ดีไบรท์ มอเตอร์อินดัสทรีส์ จังหวัดสงขลา นั้น ข้อเท็จจริงข้าวในคลังดังกล่าวได้นำออกมาทยอยขายแล้วหลายครั้ง เมื่อเดือนธันวาคม 2557 เดือนมิถุนายน 2559 และเดือนมีนาคม 2560 ซึ่งผู้ซื้อทุกรายได้ไปทำสัญญาซื้อขายข้าวกับ อคส. แล้ว แต่มีปัญหาในขั้นตอนการรับมอบข้าวระหว่างเจ้าของคลังกับผู้เช่าช่วง ทำให้ผู้ซื้อไม่สามารถรับมอบข้าวได้ตามสัญญา มิใช่ปัญหาปล่อยปะไม่ระบายข้าวในคลังดังกล่าวแต่อย่างใด ซึ่ง อคส. ในฐานะคู่สัญญา เป็นผู้กำกับดูแล ได้อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

• การดำเนินการระบายข้าวในสต็อกของรัฐในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการ นบข. ให้ความเห็นชอบ โดยมีขั้นตอนกระบวนการทำงานและแบ่งความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานอย่างชัดเจน จึงยืนยันว่าขั้นตอนการระบายข้าวในส่วนของกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ได้พยายามเร่งรัดการระบายข้าวตามแผนงานและแนวทางการระบายที่คณะกรรมการ นบข. ให้ความเห็นชอบ ด้วยความสุจริตและโปร่งใสมาโดยตลอด ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1