ธปท.ยันรับฟังคลังเสนอลดดอกเบี้ย ย้ำนโยบายการเงินต้องดูหลายมิติ

18 ก.ย. 2560 | 11:14 น.
ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ  ชี้ธปท.พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะปรับดอกเบี้ยลง ยันพูดคุยกับกระทรวงคลัง-ภาคธุรกิจ เผยนำข้อมูลส่งให้กนง.พิจารณาผลการประชุมต่อไป ย้ำนโยบายการเงินต้องดูหลายมิติ เหตุมีผู้ได้-ผู้เสียประโยชน์ จับตาการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างโลกสะท้อนเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบใหม่

[caption id="attachment_209489" align="aligncenter" width="353"] นายวิรไท สันติประภพ นายวิรไท สันติประภพ[/caption]

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า กรณีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องของนโยบายการเงิน ธปท.ยินดีรับความคิดเห็นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ทั้งในส่วนของกระทรวงการคลัง ภาคธุรกิจ ในข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อตัดสินใจนโยบายการเงิน แต่การตัดสินใจนโยบายการเงินจะเป็นรอบๆ ที่มีกำหนดชัดเจนโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และทางธปท.จะเป็นเลขานำเสนอข้อมูลในมิติต่างๆ เพื่อให้กนง.พิจารณา

อย่างไรก็ดี การดำเนินนโยบายการเงินในจปัจจุบันจะเห็นว่าธนาคารกลางของแต่ละประเทศทุกแห่งพยายามทบทวนนโยบายการเงินในสอดคล้องกับระบบการเงินที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมองไปข้างหน้าว่ากรอบนโยบายการเงินที่ใช้อยู่เหมาะสมหรือไม่ โดยคำนึงถึงเสถียรภาพที่ต้องดูในหลายมิติ ทั้งมิติด้านราคา ต้องแน่ใจว่าปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเอื้อต่อการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง และเสถียรภาพการเงินเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงในระบบการเงินของประเทศที่เป็นจุดเปราะบางระยะยาว โดยหน้าที่ธนาคารกลางทุกประเทศต้องมองความสมดุลระหว่างระยะสั้นและระยะยาว เพื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้เหมาะสม

ขณะเดียวกัน นโยบายการเงิน จะต้องไม่สร้างจุดเปราะบางในระบบการเงิน รวมทั้งต้องคำนึงถึงคนกลุ่มต่างๆ ทั้งผู้ฝากเงิน ผู้กู้เงิน เพราะว่านโยบายการเงินเป็นเหรียญ 2 ด้าน ไม่มีนโยบายอะไรไม่มีต้นทุน จะมีคนได้และเสียประโยชน์ เป็นหน้าที่ธนาคารกลางต้องชั่งน้ำหนัก ซึ่งกรณีประเทศไทยจะมีกนง.พิจารณาน้ำหนักในด้านต่างๆ ประกอบกันในหลายมิติ

“เราต้องขอบพระคุณในคำแนะนำ จะเห็นว่าที่ผ่านมากนง.พิจารณาหลายมิติ และทุกประเด็น เพราะที่ทราบกันดีนโยบายการเงินเปรียญเหมือนเหรียญที่มี 2 ด้าน มีคนที่ได้ประโยชน์และคนเสียประโยชน์ โดยต้องคำนึงถึงผลระยะสั้นและระยะยาวที่เราต้องรักษาสมดุล เป็นเรื่องปกติที่บางครั้งเราอาจจะมองระยะสั้น ให้ความสำคัญมากกว่าในมุมมองของคนในสังคม แต่เราต้องไม่ลืมว่าต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะยาวด้วยเช่นเดียวกัน เพราะธนาคารกลางมีหน้าที่สำคัญในการรักษาเสถียรภาพ และหากมองย้อนกลับไปในตอนที่กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง เนื่องจากมองว่าเศรษฐกิจต้องการการกระตุ้น และพร้อมจะใช้เครื่องมือนโยบายการเงินและยินดีฟังข้อเสนอแนะทุกด้าน”

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 สำหรับประเด็นเรื่องค่าเงินบาทและเงินไหลเข้านั้น มองว่าเป็นช่วงที่นักลงทุนมีความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้น เนื่องจากภาพใหญ่เห็นการฟื้นตัวดีขึ้น แม้ว่าจะมีปัญหาเรื่องการกระจายตัว และมีความกังวลเรื่องความเสี่ยงการเมืองน้อยลง ดังนั้น จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะมีนักลงทุนเข้ามาเพิ่มการลงทุนในไทย ประกอบกับที่ผ่านมาไทยมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกิดดุลสูง และเงินที่ไหลเข้ามาจะเข้ามาในการเกินดุลมากกว่า เพราะไทยขายสินค้าบริการได้เงินตราต่างประเทศมากกว่าที่จ่ายออกไป จึงเป็นช่องทางหลักมากกว่า ส่วนสัญญาณการเก็งกำไรมีเป็นช่วงๆ แต่เมื่อธปท.เห็นสัญญาณได้ดำเนินการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เชื่อว่ามีธุรกรรมหน้าแน่นหรือผิดปกติ

นายวิรไท กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนปัจจัยการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเฝ้าระวังในการดำเนินนโยบายการเงิน จะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหลายอย่างที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งไทยอาจจะคิดว่าเกิดเฉพาะในไทย แต่จริงๆ เกิดขึ้นในหลายประเทศในโลก โดยการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ทำให้ธุรกิจหลายประเภทต้องปรับตัวอย่างเลี่ยงไม่ได้ และส่งผลให้เกิดผลพลวัตรของเงินเฟ้อ ทำให้ผลิตภาพการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตสินค้าถูกลง จากหลายประเทศสามารถผลิตสินค้าเกษตรได้ ทำให้ปริมาณซัพพลายออกมาค่อนข้างมาก หรือการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปสู่การแข่งขันในรูปแบบใหม่ๆ มีการแข่งขันผ่านอีคอมเมิร์ซมากขึ้น ทำให้ต้นทุนผ่านอีคอมเมิร์ซถูกลง ทำให้ราคาสินค้าไม่เพิ่มเร็ว แม้เศรษฐกิจขยายดี จากทั้งโลกฟื้นชัดเจนมากขึ้น ทั้งสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น แต่เงินเฟ้อไม่ได้เพิ่มเร็วเหมือนในช่วงก่อน

ส่วนการลงทุนของภาคเอกชนที่อยู่ในระดับต่ำทั้งโลก ด้านเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญ ทำให้โลกที่เข้าสู่สังคมเชิงแบ่งปันทำให้การลงทุนเป็นเจ้าของเองอาจจะไม่จำเป็นเหมือนเดิม เป็นประเด็นเรื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกรอบนี้การลงทุนจะไม่ฟื้นแรงเหมือนรอบที่ผ่านมา

การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พฤติกรรมการใช้จ่ายจะต่างออกไป ที่สำคัญคือผู้สูงอายุพึ่งรายได้จากดอกเบี้ย จากการออมประจำ เริ่มกังวลว่าดอกเบี้ยต่ำนาน ๆ หรือจะลดลงอีก จะกระทบกับเงิน  ออมผู้สูงอายุและความมั่นใจผู้บริโภค เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางหลายแห่งให้ความสำคัญ

ขณะที่เรื่องเสถียรภาพการเงิน ดอกเบี้ยต่ำนาน ทำให้ฐานเงินออมของแต่ละประเทศต่ำ ไะทำให้มีพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนสูง โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงทางการเงินที่ดีพอ และจะทำให้เกิดความเปราะบางในอนาคตได้ อันนี้เป็นเรื่องที่ธนาคารกลางทุกประเทศระมัดระวังมากขึ้น โดยธปท.ได้ทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในการติดตามพฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทน (Search For Yield) โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดตราสารที่ไม่มีการจัดอันดับความเชื่อถือ และความเสี่ยงจากการกระจุกตัวในกองทุนต่างประเทศ

“ธนาคารกลางทุกแห่งพยายามทบทวนตลอดเวลา เพราะโลกเปลี่ยนภาคธุรกิจเปลี่ยนระบบการเงินเปลี่ยน โลกการเงินในตลาดการเงินโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอด เราต้องพยายามมองไปข้างหน้า จะเห็นแนวคิดเรื่องการนำเสถียรภาพการเงินเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณาตัดสินนโยบายการเงิน ไม่ใช่เน้นเรื่องเงินเฟ้อ กรอบเฟ้อแบบยืดหยุดก็จะพิจารณาถึงเสถียรภาพการเงินของประเทศระยะยาวด้วย” ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1