PTTGC พร้อมเจรจาต่อยอดลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอีอีซี

12 ก.ย. 2560 | 13:27 น.
PTTGC พบนักลงทุนต่างชาติชั้นนำ พร้อมเจรจาต่อยอดลงทุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ EEC

S__4448797 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ  “New Emerging Opportunities Thai-Japan Partnership” ในงานสัมมนา “ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น” Symposium on Thailand 4.0 towards Connected Industries ระหว่างนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและไทย  PTTGC ในฐานะ Chemical Flagship ของ กลุ่ม ปตท. ดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี มาเป็นเวลา 30 กว่าปี ตั้งแต่เริ่มโครงการ Eastern Seaboard ที่ถือเป็นพื้นฐานอุตสาหกรรมอันหลากหลายของไทย และเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก ก่อให้เกิดการลงทุนตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ เช่น อุตสาหกรรมโรงกลั่นและปิโตรเคมี จนถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เช่น อุตสาหกรรมพลาสติกและเคมีภัณฑ์ครบวงจร

พื้นที่ Eastern Seaboard ถือว่าเคยเป็น New S-Curve ของประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จ  ในอดีต สามารถก่อให้เกิดการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เกิดอุตสาหกรรมใหม่ ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ มานับแสนล้านบาท เป็นกลไกสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจของภาคตะวันออกและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เป็นต้นแบบของการพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน

PTTGC มีแผนการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับ EEC ในระยะ 5 ปีข้างหน้า ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท เพื่อที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามเป้าหมายในการเข้าสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ประกอบด้วย ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม ขนส่งและการบิน การแพทย์ครบวงจร การแปรรูปอาหาร และ ดิจิตอล โดย PTTGC ได้ตัดสินใจลงทุนหลายโครงการในระยะเวลา 1-2 ปี ซึ่งจะมุ่งเน้นทั้งการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจปัจจุบันให้เข้มแข็ง แข่งขันได้ และส่งผลให้ PTTGC สามารถดึงดูดพันธมิตรที่มีเทคโนโลยีสูงให้เข้ามาลงทุนเพิ่มเติม

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 แผนการลงทุนของบริษัทฯ ใน EEC ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ดังนี้ 1) โครงการ Map Ta Phut Retrofit เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันการผลิตโรงงานที่มาบตาพุด ก่อสร้างโรงงานแนฟทาแครกเกอร์ขนาดกำลังการผลิต เอทิลีนที่ 500,000 ตันต่อปี และโพรพิลีน 250,000 ตันต่อปี 2) โครงการ PO/POLYOLS ได้ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับ Sanyo Chemical Industries, Ltd. (SCI) และ Toyota Tsusho Corporation (TTC) จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อตั้งโรงงานผลิต Polyols & PU System ภายใต้บริษัทร่วมทุน GC Polyols เพื่อขยายธุรกิจขั้นปลายน้ำสู่กลุ่มอุตสาหกรรม Polyurethane ที่มีมูลค่าสูง   ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตลาดกำลังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ตามการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีกำลังการผลิต โพลีออล 130,000 ตันต่อปี และ PU Systems กำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปี โดยคาดว่าจะผลิตเชิงพาณิชย์ได้ประมาณปี 2563

3) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงประเภท High-Heat Resistant Polyamide-9T (PA9T) และ Hydrogenated Styrenic Block Copolymer (HSBC) แห่งแรกในประเทศไทย  โดยได้ลงนาม           ในสาระสำคัญของข้อตกลงสัญญาร่วมทุนเบื้องต้น (Key Terms Joint Venture Agreement) กับบริษัท Kuraray Co., Ltd และบริษัท Sumitomo Corporation จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในรายละเอียด โครงการร่วมทุนดังกล่าวมีกำลังการผลิตของ PA9T อยู่ที่ 13,000 ตันต่อปี และ HSBC อยู่ที่ 16,000 ตันต่อปี โดยใช้วัตถุดิบจาก PTTGC   4) โครงการ Biocomplex PTTGC มีนโยบายด้านการดำเนินงานธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยให้ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GGC) เป็นบริษัทแกนนำของธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Flagship Company) ของกลุ่ม PTTGC

นอกจากนี้ การลงทุนของ PTTGC ยังคำนึงถึงการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนตามหลัก 2E 1S ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจ เน้นการลงทุนต่าง ๆ การสร้างงาน ด้านสิ่งแวดล้อม มีการลงทุนผ่าน GGC รวมทั้งมีการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และด้านสังคม มีการดูแลชุมชน สังคม และการศึกษา การวิจัยผ่านสถาบัน VISTEC

PTTGC พร้อมที่จะร่วมเป็นพันธมิตรที่มีศักยภาพกับกลุ่มนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศอื่น ๆ  ด้วยความเชี่ยวชาญและประสบการณ์อันยาวนานของ PTTGC ประกอบกับการได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนด้านการตลาด การจัดจำหน่ายและการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ในทั่วทุกภูมิภาคของโลก จะส่งผลให้การดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายในพื้นที่ EEC มีศักยภาพและต่อยอดสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S- Curve) ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อมุ่งสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1