‘ลิลูน่า’ทางเดียวกันไปด้วยกัน ประหยัด ลดปัญหาลิลูน่า

25 ส.ค. 2560 | 23:58 น.
คนที่ดูหนังฝรั่งบ่อยๆ คงได้เคยเห็นบ้างกันฉากโบกรถ หรือชีวิตนักศึกษาที่ไปเขียนแปะบอร์ดไว้ ว่าอยากเดินทางไปไหน ขออาศัยร่วมทางไปด้วย ธรรมเนียมนี้ ต่างประเทศมีมานาน แต่เมืองไทย ต้องบอกเลยว่า ยังใหม่มาก ความไว้ใจ ความปลอดภัย ยังเป็นข้อจำกัดที่ติดอยู่ในใจของทั้งผู้อาศัยและผู้ให้อาศัยร่วมทาง แต่วันนี้ คนหนุ่มที่ชื่อ “นาย - นัฐพงษ์ จารวิจิต” ผู้พัฒนาแอพพลิเคชัน LILUNA กำลังพยายามสร้างให้มันเป็นจริง

[caption id="attachment_198132" align="aligncenter" width="335"] นัฐพงษ์ จารวิจิต นัฐพงษ์ จารวิจิต[/caption]

“นาย” บอกว่า ไอเดียการทำธุรกิจ หรือการเริ่มต้นเป็นสตาร์ตอัพของเขา เกิดขึ้นหลังจากทำงานในองค์กรด้านไอทีมาแล้วทั้งไทย และเยอรมนี ตามสายงานที่เรียนมาทางด้านโปรแกรมเมอร์ แต่การทำงานในองค์กรยังไม่ตอบโจทย์ความฝันของตัวเอง เขาจึงคิดถึงการเป็นสตาร์ตอัพ ที่ทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาบางอย่างให้ง่ายขึ้น แล้วเขาก็ได้ไอเดียจากที่เคยเรียนที่เยอรมนี กับวิถีการเดินทางแบบ Carpool ที่มีมานานแล้ว และก็มีแอพพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ต้องการใช้รถร่วมกับเพื่อนแบบ Carpool จนประสบความสำเร็จมาแล้ว แต่ในเมืองไทยยังไม่มี

จุดเริ่มต้นของแอพพลิเคชันลิลูน่าจึงเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 ระหว่างนั้นเขายังทำงานอยู่ในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่ทำได้ 3-4 เดือน ก็เกิดความรู้สึกว่าแอพพลิเคชันของเขาพัฒนาไปได้ช้า จึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อมาพัฒนาแอพพลิเคชันให้เดินหน้าไปเร็วขึ้น ตาม Passion ที่เขาต้องการทำให้แอพพลิเคชันนี้เกิดขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว

MP26-3290-6 “รถเก๋งในกรุงเทพฯ มีอยู่ 4 ล้านคัน ผมคิดว่าถ้า 1 ล้านคัน มาใช้ ลิลูน่า ก็จะมีเส้นทางเพิ่ม 1 ล้านเส้นทาง โดยที่รัฐบาลไม่ต้องลงทุนอะไรเลย และ 1 ล้านเส้นทางที่เกิดขึ้น จะทำให้รถในถนนลดลง เพราะเมื่อรู้ว่ามีคนไปเส้นทางเดียวกัน เราก็ไม่จำเป็นต้องขับรถไป หรือไปนั่งรอรถตู้ในเวลาเร่งด่วน ที่จะเจอแต่รถมีผู้โดยสารนั่งมาเต็มตลอด”

หลังพัฒนาแอพพลิเคชันเรียบร้อย ก็ต้องทำให้แอพพลิเคชันนี้เป็นที่รู้จัก ซึ่งตอนนั้นได้ขอความช่วยเหลือจาก Drama-
addict ในเฟซบุ๊ก ก็เลยเขียนแนะนำตัวเอง แนะนำแอพพลิเคชัน พอเริ่มประชาสัมพันธ์ออกไป 
คนเริ่มรู้จัก ทำให้มีคนเข้ามาดาวน์โหลดเยอะขึ้น และมีคนเข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้น จากที่มีเป็นหลักสิบ ก็ขึ้นมาเป็นหลักร้อยหลักพันและหลักหมื่น โดยมีคนเข้ามาใช้งานจริงๆ ประมาณเดือนที่ 4-5 และปัจจุบันมียอดดาวน์โหลดอยู่ประมาณ 1 หมื่นดาวน์โหลดต่อเดือน

“ปัญหาแรกๆ การแชร์เส้นทางยังน้อย อย่างคนเข้ามาแชร์ 20 เส้นทาง แต่มันยังไม่ใช่

เส้นทางที่เขาจะไป ขณะที่คนใช้แอพพลิเคชันของเราเป็นคนทั่วประเทศ อีกปัญหาคือ คนไทยยังไม่คุ้นกับบริการลักษณะนี้ เขาก็จะมองว่าแอพนี้เป็นแอพโลกสวย คิดดีทุกอย่าง แต่ไม่เกิดในประเทศไทยหรอก มันเป็นเส้นทางให้โจรมาทำมาหากิน”

“นาย” บอกว่า เขาไม่สามารถการันตีว่า คนที่เข้ามาใช้บริการ Carpool ของลิลูน่าจะปลอดภัย 100% แต่สิ่งที่เขาทำได้คือ คนที่จะเข้ามาใช้บริการ หรือโพสต์แชร์เส้นทางจะต้องลงทะเบียนโดยใช้เบอร์โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนั่นก็คือ การให้ข้อมูลบัตรประชาชน พอลงทะเบียนเสร็จ คนขับรถก็ต้องส่งป้ายทะเบียนรถ ส่ง พ.ร.บ.ภาษี รวมทั้งใบขับขี่เข้ามา เพื่อยืนยันว่าเป็นรถและคนขับที่ดำเนินการอย่างถูกกฎหมาย...เราการันตีไม่ได้ ว่าไปกับเราแล้วจะปลอดภัย เราทำได้แค่ว่าคนที่ไปกับคุณเป็นใคร มาจากไหน และที่สำคัญค่าใช้จ่ายในการแชร์เส้นทางนี้ คิดตามจริง โดยคนขับเป็นคนคำนวณราคา ซึ่งหากเขาคิดราคาแพง ก็คงไม่มีใครเดินทางไปด้วย

แนวคิดสตาร์ตอัพของ “นาย” กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ วันนี้ 
เขามีนักลงทุน Angel Investor ชาวมาเลเซียให้ทุนมาแล้วก้อนหนึ่ง ทำให้การทำงานของเขาเดินหน้า อนาคตหากมีเอกชนรายอื่นสนใจ หรือถ้าจะเป็นรัฐบาลก็ดี เขาอาจจะยกแอพพลิเคชันนี้ให้ฟรีๆ เพราะเขาต้องการเพียงแค่ ให้คนนำแอพพลิเคชันนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริง มีผู้เข้ามาใช้งานจริง นั่นคือ ความภาคภูมิใจของผู้ชายคนนี้แล้ว

วันนี้เขาบอกเพียงว่า ทั้งหมดเขาทุ่มให้กับการพัฒนาแอพพลิเคชันลิลูน่า ให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานของคนที่ต้องการได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้องแชตสด หรือ การให้บริการแบบเรียลไทม์ ที่ผู้ใช้บริการสามารถเห็นได้เลยว่า ตอนนี้มีรถคันไหน เดินทางไปเส้นทางไหน นักพัฒนาแอพพลิเคชันหนุ่มคนนี้ บอกว่า เขาพร้อมเปิดรับทุกความคิดเห็น เพื่อพัฒนาให้
ลิลูน่าดีขึ้นเรื่อยๆ มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ

เมื่อถามว่า เขามีกำหนดเวลาไหมสำหรับลิลูน่า ว่าเมื่อไรจึงจะเรียกว่า ไม่ไหว “นาย” บอกว่า เขาจะพยายามทำลิลูน่าให้เติบโตไปเรื่อยๆ รวมทั้งหาคนที่จะทำให้ลิลูน่าไปได้ไกลกว่านี้...คำว่าไม่ไหวสำหรับผม อยู่ที่
แอพของเรามีคนใช้หรือไม่มีคนใช้ ถ้าวันหนึ่งเงินหมด แต่แอพยังมีคนเข้ามาใช้ ยังมีประโยชน์ ก็จะทำไปเรื่อยๆ เพราะมันคือแอพพลิเคชันที่มีประโยชน์จริงๆ ช่วยลดปัญหาการเดินทาง 
ลดปัญหารถติด และประหยัดพลังงาน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,290 วันที่ 24 - 26 สิงหาคม พ.ศ. 2560