ทางออกนอกตำรา : ‘ยิ่งลักษณ์’โยนบาป‘บุญทรง’ ความมืดมนของผู้นำก็มาเยือน

05 ส.ค. 2560 | 04:15 น.
2546879

ทางออกนอกตำรา

‘ยิ่งลักษณ์’โยนบาป‘บุญทรง’ ความมืดมนของผู้นำก็มาเยือน


messageImage_1501906432309

ใครที่ได้ฟัง ได้อ่านคำแถลงปิดคดีด้วยวาจาโครงการรับจำนำข้าวของ"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2560 คงได้เห็นและสัมผัสกับทัศนคติ วิธีคิด “ภาวะผู้นำประเทศ” ของนายกฯหญิงคนแรกของประเทศไทย ถ้ายังมองไม่ชัด ลองพิจารณาจากถ้อยแถลงตามเอกสาร…


เริ่มจากคำชี้แจงเรื่องที่ 3 ว่า "ไม่ได้เพิกเฉย ละเลย และไม่มีอำนาจระงับยับยั้งโครงการตามอำเภอใจ...ดิฉันขอ
กราบเรียนว่า รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบร่วมกัน แต่โจทก์เข้าใจผิดว่า นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเต็มในมือคนๆ เดียว และจะใช้อำนาจอย่างไรก็ได้

20507682_1681165348594580_4351340779682416816_o

"ดิฉันขอเรียนว่า แม้ดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ในการปฏิบัติงาน กระทรวงและส่วนราชการที่ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการ กขช. และคณะอนุกรรมการต่างๆ มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามกฎหมายของแต่ละฝ่ายกำกับไว้อยู่แล้ว"

"ดิฉัน จึงไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจ และไม่อาจกระทำการใดๆ ที่จะไปล้วงลูกสั่งการ หรือชี้นำในระดับปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใด"

อดีตนายกฯคงลืมไปว่า...ท่านเป็นผู้นำประเทศที่มีอำนาจเต็มในการจัดการปัญหา และการตัดสินใจทางนโยบาย ถ้าเห็นว่านโยบายใด แนวทางใดมีปัญหาอย่างหนักหน่วง ท่านต้องสั่งการให้แก้ไขได้ทันที และมีกฎหมายให้อำนาจนายกรัฐมนตรีไว้เต็มที่ตาม พ.ร.บ.ระเบียบวิธีบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 11 นายกรัฐมนตรีในฐานะ
หัวหน้ารัฐบาลมีอํานาจหน้าที่ดังนี้....

(1) กํากับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการนี้จะสั่งให้ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และส่วนราชการซึ่งมีหน้าที่ควบคุมราชการส่วนท้องถิ่น ชี้แจงแสดงความคิดเห็น ทํารายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ในกรณีจําเป็น จะยับยั้งการปฏิบัติราชการใดๆ ที่ขัดต่อนโยบาย หรือมติของคณะรัฐมนตรีก็ได้ และมีอํานาจสั่งสอบสวนข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปฏิบัติราชการของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น...

จากข้อบัญญัติทางกฎหมายแสดงว่าท่านทำได้ แต่ท่านไม่ได้ทำ...

20452010_1681165638594551_7415330719963989956_o

คำชี้แจง เรื่องที่ 5 ที่ตอบโต้ว่า "ไม่ได้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลใดหรือโดยทุจริต"ตามมาตรา 157 ประมวลกฎหมายอาญาหรือ มาตรา 123/1 พ.ร.บ. ป.ป.ช."

เธอระบุว่า ในกรณีที่ ป.ป.ช. และ สตง. มีหนังสือท้วงติงมายังรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าวนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า 2 หน่วยงานดังกล่าวไม่มีภารกิจและหน้าที่ตามกฎหมายที่จะสั่งให้ฝ่ายบริหารยับยั้งการดำเนินนโยบายสาธารณะ ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา นอกจากนั้น สตง. และ ป.ป.ช. ก็ไม่ได้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ ไม่มีการตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง ซึ่งไม่มีกฎหมาย ใดๆ บังคับให้ฝ่ายบริหารต้องยับยั้งโครงการตามหนังสือของ 2 หน่วยงานดังกล่าว

"ดิฉันเห็นว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวไม่ได้ให้อำนาจดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรียับยั้งโครงการที่ไม่ขัดต่อนโยบายหรือมติคณะรัฐมนตรีไว้"

"ดิฉันต้องรับฟังหน่วยงานของรัฐที่มีความเชี่ยวชาญ และมีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรง เช่น สภาพัฒน์และกระทรวงการคลัง"

20449229_1681165445261237_501447765393652687_o

ผมว่าอดีตนายกฯท่านน่าจะเข้าใจอะไรคลาดเคลื่อน เพราะกฎหมาย สตง.นั้นชัดเจนมาก ...มาตรา 44 ในกรณีที่สตง.พิจารณาผลการตรวจสอบแล้ว ปรากฏว่า มีข้อบกพร่องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ให้คณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้หน่วยรับตรวจชี้แจง หรือแก้ไขข้อบกพร่องหรือปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือให้ดำเนินการตามกฎหมาย

ขณะที่กฎหมาย ป.ป.ช.ยิ่งมีนํ้าหนัก เพราะองค์กรนี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อ “ป้องกันและปราบปรามการทุจริต” เมื่อหน่วยงานนี้ชี้มูล ชี้ประเด็น เสนอแนะไป “นายกรัฐมนตรี” ต้องกระโดดเข้ามารับลูกจึงจะถูกต้อง มิใช่บอกว่า ไม่มีอำนาจสั่งคณะรัฐมนตรี

คำชี้แจงเรื่องที่ 6 ไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในการระบายข้าว อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์บอกว่า "จากที่มีข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตในการระบายข้าวแบบจีทูจีนั้น ขอเรียนว่า การระบายข้าว เป็นงานในระดับปฏิบัติที่มีคณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวเป็นผู้รับผิดชอบเป็นการเฉพาะ"

20507793_1681165635261218_8967358223432042123_o

"ดิฉันขอกราบเรียนว่า การระบายข้าว เป็นไปตามยุทธศาสตร์การระบายข้าวในสต๊อกของรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายความรับผิดชอบให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกรมการค้าต่างประเทศไปแล้ว ปรากฏตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2554..."

"ดิฉันขอกราบเรียนว่าเรื่องการระบายข้าว เป็นขั้นตอนการปฏิบัติที่กรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์จะต้องดำเนินการ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดำเนินการมาทุกยุคทุกสมัยตามยุทธศาสตร์การระบายข้าวของแต่ละรัฐบาล ดังนั้น วิธีการระบายข้าว รวมถึงการทำสัญญาทั้งปวง จึงเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของหน่วยงานดังกล่าว เมื่อหน่วยงานปฏิบัติตามขั้นตอนแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะต้องเป็นผู้รายงานผลการระบายข้าวให้คณะรัฐมนตรีทราบ..."

1501492980021

แต่ไม่ปรากฏว่ามีการรายงานผลการระบายข้าวให้ดิฉัน และคณะรัฐมนตรีทราบแต่ประการใด ไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลังการปรับคณะรัฐมนตรีแล้วก็ตาม ก็ไม่มีการรายงานเรื่องนี้ให้ดิฉันในฐานะนายกรัฐมนตรี และ
เข้าสู่การรับรู้รับทราบของดิฉัน และคณะรัฐมนตรี จนกระทั่งพ้นจากหน้าที่

เมื่อไม่ทราบจะถือว่า ดิฉันปกปิดการระบายข้าวเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้หนึ่งผู้ใดตามที่กล่าวหาได้อย่างไร"

จะเห็นได้ชัดว่า อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ประกาศชัดว่า ไม่เกี่ยวกับการขายข้าว เป็นเรื่องของกระทรวงพาณิชย์... และเธอไม่เคยรับรู้เรื่องว่า "มีการขายข้าวจีทูจีเก๊..."

ทั้งๆ ที่เธอยืนอธิบายการขายข้าวจีทูจีให้นักข่าวรับทราบ โดยมีนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ ยืนประกบ...

และเธอคือผู้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กขช.เลขที่ 153/2554 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2554 มีลายมือชื่อของยิ่งลักษณ์เซ็นกำกับไว้ชัดเจน

ca7eba55cbe94c3185bfd1d3c2581342_620

ยังมีคำสั่งคณะกรรมการ กขช.ที่ 5/2554 วันที่ 12 กันยายน 2554 ที่ยิ่งลักษณ์ในฐานะประธาน กขช.ลงนามแต่งตั้ง “ภูมิ สาระผล” เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว

ถ้ายังไม่หนำใจก็ยังมีคำสั่งคณะกรรมการ กขช. ที่4/2555 วันที่ 24 กันยายน 2555 ที่ยิ่งลักษณ์และประธาน กขช.ลงนามแต่งตั้ง บุญทรง เป็นประธานอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวแทน “ภูมิ”

ในฐานะผู้นำประเทศยิ่งลักษณ์ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบ ไม่รู้ไม่เห็นการทุจริตในการขายข้าวจีทูจีปลอมที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก เพราะรับซื้อข้าวจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ในราคาถูก มาเวียนเทียนจำนำข้าวให้รัฐบาลในราคาตันละ 15,000 บาท แทนที่ชาวนา...

แต่ผู้นำประเทศปฏิเสธที่จะรับรู้...ประเทศนี้มืดมนจริงหนอ..

คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3285 ระหว่างวันที่ 6-9 ส.ค.2560

E-BOOK แดง