จับตาปฏิกิริยาอุตฯน้ำตาล ก่อนราคาลอยตัวตามตลาดโลก

22 ก.ค. 2560 | 14:39 น.
โค้งท้ายก่อนที่จะประกาศลอยตัวราคานํ้าตาล 1 ธันวาคมนี้ ภาครัฐ โรงงานนํ้าตาล ชาวไร่อ้อย กำลังกลับมาสู่โหมดการเคลื่อนไหวอีกครั้ง แต่คราวนี้ไม่ใช่เรื่องม็อบชาวไร่อ้อยหรือกองทัพมดนำนํ้าตาลลักลอบส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน แต่เป็นเรื่องที่ภาครัฐ โรงงานนํ้าตาล และชาวไร่อ้อย ยังถกเถียงกันอยู่ว่า เมื่อไปสู่การลอยตัวของราคานํ้าตาล รวมทั้งการยกเลิกระบบโควตา ก. (บริโภคภายในประเทศ) โควตาข. (ส่งออกโดยผ่านบริษัทอ้อยและนํ้าตาลไทยฯหรืออนท.) โควตาค.(ส่งออกโดยโรงงานนํ้าตาล) แล้วทั้ง 3 ฝ่ายจะคุยกันไม่จบ ในเรื่องการกำหนดราคาอ้อยว่า จะกำหนดอย่างไรต่อไป แล้วบทบาทในการส่งออกของผู้ส่งออก 7-8 รายที่มีอยู่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปด้วยหรือไม่น่าสนใจ

ล่าสุดนายภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทค้าผลผลิตนํ้าตาล จำกัด ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า ให้มองข้อดีของราคานํ้าตาลที่จะไปอิงกับราคาในตลาดโลกก่อนว่า1. จะไม่มีราคานํ้าตาลในตลาดโลกเป็น 2 ราคาอีกต่อไป โดยยึดที่ราคาเดียวตามตลาด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการลักลอบส่งออกในกรณีที่ราคาในตลาดโลกดีกว่าราคานํ้าตาลภายในประเทศ 2.เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามข้อกำหนดของตลาดโลก การกีดกันการค้าในรูปแบบต่างๆจะไม่เกิดขึ้น 3.ถ้าราคานํ้าตาลอิงตลาดโลกผู้บริโภคจะมีนํ้าตาลเพียงพอ

[caption id="attachment_181127" align="aligncenter" width="430"] ภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทค้าผลผลิตนํ้าตาล จำกัด ภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทค้าผลผลิตนํ้าตาล จำกัด[/caption]

ส่วนประเด็นที่ยังคุยกันไม่จบ คือการกำหนดราคาที่ใช้ในการคำนวณราคาอ้อยว่า จะอิงที่ราคาเท่าไหร่ หรือควรจะมีวิธีคิดอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ชาวไร่อ้อยกับโรงงานนํ้าตาลจะต้องมาหารือกันก่อน และจะต้องหารือให้จบก่อนวันที่ 1 ธันวาคมนี้ ก่อนที่ราคานํ้าตาลจะลอยตัว ตามราคาตลาดโลก

นอกจากนี้ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า การลอยตัวราคานํ้าตาลและยกเลิกโควตาก.ข.ค.นั้น จะกระทบต่อการส่งออกนํ้าตาลที่มีบริษัทส่งออก 7-8 รายในขณะนี้หรือไม่นั้น ตรงนี้ต้องอธิบายว่า การส่งออกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ที่เปลี่ยนแปลงไปมีเพียงราคานํ้าตาลในประเทศที่ยกเลิกการควบคุมราคา และปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก ซึ่งตรงนี้ชาวไร่กับโรงงานนํ้าตาลจะต้องไปตกลงกันว่า จะใช้สูตรไหนในการกำหนดราคาอ้อย

++6 เดือนลดลง 7.56%
ปัจจุบันปริมาณส่งออกนํ้าตาลทรายของไทยไปต่างประเทศ ในช่วง ม.ค.-มิ.ย.2560เปรียบเทียบปี 2559 มีปริมาณลดลง โดยปี 2560 มีปริมาณส่งออกรวม 3.676 ล้านตัน เปรียบเทียบปี 2559 ในช่วงเดียวกันมีมากถึง 3.976 ล้านตัน หรือลดลงในสัดส่วนราว 7.56% โดยปริมาณส่งออกนํ้าตาลทรายในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้กระจายไปยังประเทศสำคัญ 6 อันดับแรกที่นำเข้านํ้าตาลจากไทยมากที่สุดไล่ตั้งแต่อินโดนีเซีย กัมพูชาเมียนมา ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น(ดูตาราง)
ทั้งนี้ปริมาณส่งออกโดยผ่านบริษัท อ้อยและนํ้าตาลไทยฯหรืออนท. จะยังคงยืนอยู่ที่ 8 แสนตันต่อปี รวมถึงการส่งออกโดยโรงงานนํ้าตาลที่ผ่าน 7 บริษัทก็ยังมีอยู่ เช่น บริษัทแปซิฟิกชูการ์คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ส่งออกนํ้าตาลให้กับกลุ่มมิตรผลจำนวน 10 บริษัท, บริษัท ค้าผลผลิตนํ้าตาล จำกัด ส่งออกนํ้าตาลให้กับกลุ่ม นํ้าตาลบ้านโป่งจำนวน 17 บริษัท เป็นต้น

ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทค้าผลผลิตนํ้าตาล จำกัด กล่าวยํ้าว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่ได้มีผลกระทบต่อระบบแบ่งปันผลประโยชน์ เพราะกฎหมายอ้อยและนํ้าตาลก็ยังอยู่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ไม่มีการควบคุมราคานํ้าตาลในประเทศ รวมถึงการยกเลิกโควตาทั้งหมดออกไป

TP10-3280-ABB นอกจากนี้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานํ้าตาลในประเทศขาดแคลน ล่าสุดทุกฝ่ายเห็นพ้องตรงกันว่า ควรมีนํ้าตาลสำรองในประเทศเดือนละ 2.5 แสนตันเพื่อแสดงให้เห็นว่า ไม่ว่านํ้าตาลในตลาดโลกจะผันผวนแค่ไหนแต่ในประเทศยังมีปริมาณนํ้าตาลสำรอง เพื่อให้ผู้บริโภคอุ่นใจมากขึ้น

อย่างไรก็ตามปัจจุบันในประเทศไทยมีปริมาณการผลิตนํ้าตาลรวมจำนวน 10 ล้านตันในจำนวนนี้แบ่งเป็นส่งออก 7ล้านตัน และบริโภคภายในประเทศประมาณ 2.5-2.8 ล้านตัน

++ตํ่าสุดในรอบ16เดือน
สำหรับสถานการณ์ราคานํ้าตาลดิบในตลาดโลกขณะนี้ปรับตัวลดลงถึงระดับตํ่าสุดในรอบ 16 เดือน ราคานํ้าตาลทรายดิบตลาดโลก ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากระดับสูงสุดที่ประมาณ 24 เซ็นต์ เมื่อปลายเดือนกันยายน 2559 มาถึงระดับตํ่าสุดเมื่อปลายเดือนมิถุนายน2560 ที่ระดับตํ่ากว่า 13 เซ็นต์โดยปัจจุบันราคาเคลื่อนไหวขึ้นลงอยู่ในช่วง 13-14 เซ็นต์

++สาเหตุราคาปรับตัวลดลง
สุดท้ายนายภิรมย์ศักดิ์กล่าวถึง สาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคานํ้าตาลปรับตัวลดลงในขณะนี้ว่า เกิดจากที่กองทุนและนักเก็งกำไรเทขายตั๋วซื้อนํ้าตาลที่ถืออยู่จำนวนมากเป็นประวัติการณ์ถึงประมาณ 17 ล้านตันนํ้าตาล จนกระทั่งปัจจุบันกลายเป็นผู้ถือตั๋วขายนํ้าตาลจำนวนมากประมาณ 5 ล้านตันนํ้าตาล อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่า ในฤดูการผลิตปี 2560/2561 ผลผลิตนํ้าตาลทั่วโลก จะเพิ่มขึ้นเกินปริมาณความต้องการบริโภคถึงประมาณ5 ล้านตัน โดยผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในบราซิล อินเดีย และไทย

นอกจากนี้ค่าเงินเรียลบราซิลอ่อนตัวลง เนื่องจากสถานการณก์ ารเมอื งภายในประเทศ จึงจูงใจให้บราซิลทำการขายนํ้าตาลออกมาจำนวนมากรวมถึงบราซิล ประกาศลดราคานํ้ามันภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงฉุดให้ราคาเอทานอลลดลงด้วย ส่งผลให้มีการผลิตนํ้าตาลเพิ่มขึ้น ขณะที่อินเดีย ในปีนี้แม้ผลผลิตนํ้าตาลลดลงมากกว่าปีก่อนถึง 5 ล้านตัน แต่ทำการนำเข้านํ้าตาลจำนวนน้อยมาก และจีน ปรับเพิ่มภาษีนำเข้านํ้าตาล ยิ่งทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้านํ้าตาล

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,280 วันที่ 20 - 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2560