สพฉ.เผยผู้ใช้บริการตามสิทธิ UCEP กว่า 8 พันรายไร้ปัญหา

17 ก.ค. 2560 | 07:30 น.
สพฉ.เปิดสถิติการให้บริการตามสิทธิ UCEP  ตั้งแต่ให้บริการ  3 เดือนไร้ปัญหา  มีผู้ใช้สิทธิกว่า 8 พันราย พบคนกรุงใช้สิทธิมากขึ้น  ขณะที่ประชาชนเข้าใจการใช้สิทธิมากขึ้น พร้อมเน้นย้ำประชาชนจดจำ 6 อาการฉุกเฉินวิกฤต

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน แห่งชาติ (สพฉ.) ได้สรุปผลการปฏิบัติงานของศูนย์ ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเ ฉินวิกฤต สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  (ศคส.สพฉ.) หรือ  UCEP Coordination Center ประจำเดือน มิถุนายน 2560 พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น  2,176  ราย เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 1,051  ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกั นสุขภาพถ้วนหน้า  679    ราย จากสิทธิประกันสังคม 124  ราย จากสิทธิข้าราชการ   211  ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก  16   ราย  โดยกลุ่มที่ใช้สิทธิมากที่สุดคือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รองลงมาคือสิทธิประกันสังคม และสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

ขณะที่ยอดสะสมรวม 3 เดือน  ตั้งแต่เริ่มให้บริการตามนโยบาย  “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่”  พบสถิติผู้ขอใช้สิทธิทั้งสิ้น   8,232  ราย   เป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ 3,507 ราย คิดเป็นร้อยละ 42.60  ซึ่งเป็นผู้ป่วยจากสิทธิประกัน สุขภาพถ้วนหน้า 2,299   ราย จากสิทธิประกันสังคม   437  ราย จากสิทธิข้าราชการ 645  ราย และสิทธิกองทุนอื่น ๆ อีก   126 ราย และจังหวัดที่เข้ารับบริ การมากที่สุด   คือ  กรุงเทพมหานคร  รองลงมา คือ  สมุทรปราการ ชลบุรี พิษณุโลก นนทบุรี และสมุทรสาคร

เรืออากาศเอก นพ.อัจฉริยะ กล่าวเพิ่มเติมถึงการดำเนินงานตามสิทธิ UCEP ว่า ที่ผ่านมาประชาชนเริ่มเข้าใจการ ใช้สิทธิมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากสถิติตัวเลขผู้ป่วยที่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในแต่ละเดือนลด ลงเรื่อยๆ และ การประสานงานระหว่าง ฝ่ายต่างๆ มีปัญหาอุปสรรคลดน้อยลงเรื่อยๆ     โดยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ร้องเรียน จำนวน 24  ราย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องความเห็นต่าง กับผลการวินิจฉัยของแพทย์ และการขอใช้สิทธิ   นอกจากนี้มีการขอคำปรึกษาทางก ารแพทย์กับแพทย์เวรของศูนย์ประส านคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิ นวิกฤต จำนวน 63 สาย  และมีสายโทรสอบถามจากประชาชน 3,662 สาย

สำหรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่จะใช้สิทธินี้ได้ต้องเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ตามหลักเกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ  หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือมีอาการชักร่วม  เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือชักต่อเนื่องไม่หยุด ซึ่งอาการทั้งหมดนี้อยากให้ประช าชนจำให้แม่น หากพบเห็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต  ตาม 6 อาการ ให้รีบโทรสายด่วน 1669 เพื่อเข้าให้การช่วยเหลือนำส่งโ รงพยาบาลที่เหมาะสมทันที หรือหากสถานพยาบาลมีข้อสงสัยสอบ ถามได้ที่ โทร 02-8721669 หรือ [email protected]ตลอด24ชั่วโมง