“ประยุทธ์” เเนะ! ทบทวนการปลูก 6 พืชเศรษฐกิจ 

15 ก.ค. 2560 | 00:28 น.
วันที่ 14ก.ค.60-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า “สำหรับ “พืชเศรษฐกิจ หลักของประเทศ ทั้ง 6 ประเภทนั้น เราควรต้องมาทบทวนกันใหม่แล้วว่า ปัญหาสำคัญอยู่ที่ไหนนะครับ

(1) มีการปลูกเกินความต้องการของตลาด มีการปลูกในพื้นที่บุกรุก ผิดกฎหมายหรือไม่

(2) มีการลงทุนเสียหายหลายครั้ง จากน้ำท่วม ฝนแล้ง คุณภาพดิน พื้นที่ไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชบางชนิด หรือไม่

(3) มีความต้องการทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งเป็นความเดือดร้อนของเกษตรกรที่รัฐบาลก็เข้าใจดีนะครับ แต่เราต้องคำนึงถึงประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่น พันธะสัญญาระหว่างประเทศ, ตลาดร่วม ตลาดค้าโลก หรือระบบการค้าเสรี ที่นอกเหนือการควบคุม ทำให้เราไม่สามารถจะกำหนดราคาเองได้มากนัก

เว้นแต่เราจะสามารถสร้างความแตกต่างในผลผลิตของเราให้ได้ มีคุณภาพ มีเอกลักษณ์ แข่งขันราคาได้ หรือไม่ อย่างไรนะครับ เราจึงต้องมาดูเรื่องเกษตรอินทรีย์, นวัตกรรม, การวิจัยและพัฒนา, การผลิตเอง ใช้เอง และส่งออก การสร้างมูลค่าเพิ่ม มากกว่าการขายที่เน้นปริมาณ หรือขายในลักษณะเป็นวัตถุดิบ เหล่านี้เป็นต้น

20170711022325 ประเด็นต่างๆเหล่านี้ หากเราไม่เข้าใจนะครับ ไม่ทบทวนตัวเอง หรือได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ก็อาจจะมีผลทางจิตวิทยา และความเชื่อมั่นในทางลบ กลับกลาย เป็นว่ารัฐบาลและ คสช. เพิกเฉย ไม่ดูแล ไม่ช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร ซึ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับรัฐบาลนี้นะครับ ไม่อยากให้มาซ้ำเติมปัญหาของพี่น้องเกษตรกร ซึงมีความทุกข์ร้อนใจอยู่มากมายอยู่แล้วในขณะนี้นะครับ

ขอให้ทุกคนได้เข้าใจให้ตรงกัน ร่วมมือแก้ไขกัน ตั้งแต่ต้นทาง (เกษตรกร, การผลิต) – กลางทาง (การแปรรูป, สร้างนวัตกรรม, สร้างมูลค่าเพิ่ม) และปลายทาง ก็คือการตลาด, การจับคู่ธุรกิจ ทั้งภายในและนอกประเทศเป็นต้น

ตัวอย่างเช่น ปัญหา “การบุกรุกป่า 1.6 ล้านไร่” ไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้านเศรษฐกิจ ก็คือมีปริมาณการผลิตที่เกินความต้องการตลาด อย่างไร้การควบคุมนะครับ ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ตามกลไกตลาด ส่งผลต่อปัญหาด้านสังคมและความมั่นคงตามมาอีกด้วย

20170711022324 ทั้งนี้ ที่ตรวจสอบพบเป็นการบุกรุกปลูกข้าวโพด 9 แสนกว่าไร่ ในปีนี้ได้ทวงคืนได้แล้วประมาณ 4 หมื่นกว่าไร่ จากเป้าหมาย 8 หมื่นไร่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลยนะครับ ผลที่ได้นี้ ก็ถือว่าน่าพอใจ เพราะที่ผ่านมาไม่เคยทำนะครับปล่อยปละละเลย แต่หากเราทำได้ในอัตราดังกล่าว คงจะต้องใช้เวลาในการทวงผืนป่าที่บุกรุกคืนนับ10 ปี แบบนี้ปัญหาก็ไม่ได้รับการแก้ไขแบบเบ็ดเสร็จนะครับ ในระยะเวลาอันใกล้

เพราะหากเราควบคุมปริมาณการผลิต  จากการบุกรุกไม่ได้ ก็คงแก้ปัญหาที่ต้นทางได้ไม่เรียบร้อย ปัญหาที่ปลายทาง ก็คือเรื่องปริมาณและราคา ก็ยังคงวนเวียนอยู่ทุกๆปีนะครับ ซึ่งรัฐบาลและ คสช. ก็ไม่ได้ละความพยายาม ใช้ทั้งหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหาในเรื่องของการบุกรุกดังกล่าว  เราจะต้องดูแลคนเหล่านั้นด้วยนะครับ นำคนออกมาหาที่ทำกินในพื้นที่ถูกกฎหมาย หางาน สร้างอาชีพ

ซึ่งหลายคนอาจจะไม่อยากจะเปลี่ยน แปลงตัวเองนะครับ เราจำเป็นต้องใช้มาตรการอื่นๆ ด้วย คู่ขนานเสริมกันไปนะครับ เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืช, การใช้เทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน เป็นต้น ไม่อยากให้ใครหยิบฉวยไปเป็นประเด็นทางการเมือง หรือขับเคลื่อนเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองในอนาคตนะครับ บนความทุกข์ใจของประชาชนอีกต่อไปนะครับ

ตัวอย่างการแก้ปัญหา Demand  Supply คือการผลิตและความต้องการ ที่ไม่สมดุลนะครับ เราจะต้องมีการจัดพื้นที่ให้เหมาะสมนั้น สำหรับบางผลผลิตที่มีความคุ้มค่า ขายได้ราคา ตรงความต้องการของตลาด เราควรจะใช้พื้นที่ที่ ดีที่สุดนะครับ มีน้ำเพียงพอ ไม่ท่วม ไม่แล้ง แล้วก็ดินดี เพื่อการปลูกข้าวพันธุ์ ดีที่สุด หรือพืชชนิดอื่นที่ดีที่สุดเช่นกันนะครับเพื่อสำหรับขาย หรือส่งออก ในราคาสูง

20170711022320 ส่วนพื้นที่ไม่ดีเท่าที่ควร ก็ให้ผลผลิตน้อย ก็ไม่ควรปลูกในปริมาณมากนะครับ ควรปลูกไว้กินเอง ข้าวนะครับ ถ้าปลูกทุกพื้นที่ก็คุณภาพไม่ได้นะครับ ที่ปลูกไม่ได้ผลดีก็ไปปลูกอย่างอื่นอาจจะเปลี่ยนเป็นผลไม้บ้าง ทำปศุสัตว์บ้างนะครับ ปลูก พืชพลังงาน พืชผัก ตามที่หน่วยงานราชการแนะนำ ให้เหมาะสมกับน้ำ พื้นดินที่เรามีอยู่นะครับ ราคาก็จะดีขึ้นเองนะครับ

ปัจจุบันเราก็นำเอาเทคโนโลยี “Agri map” นะครับ เข้ามาช่วยด้วย แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีธรรมาภิบาล ไม่เคยคิดถึงผลสัมฤทธิ์ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ไม่สนใจผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลแต่ผลประโยชน์ส่วนตนนะครับ เป็นใหญ่ มีทั้งการบุกรุกพื้นที่ป่า, มีการปล่อยปละละเลย มีการใช้น้ำมากเกินไป จนเกิดผลกระทบภาคการผลิตอื่นๆ มีการเรียกร้องหลายอย่างนะครับ ผลผลิตก็ไม่มีคุณภาพ เป็นปัญหาต่อเนื่องนะครับ  ลักษณะเช่นนี้ วันนี้เราคงปล่อยให้เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้นะครับ ต้องขออภัยประชาชนด้วยนะครับ พี่น้องเกษตรกร ท่านต้องเข้าใจ ไม่เข้าใจก็เป็นแบบเดิม เรียกร้องก็ไม่ได้อะไรดีขึ้นนะครับ ถ้าเราไม่ร่วมมือกันตั้งแต่วันนี้ เพราะมีผลกระทบคนอื่นไปด้วย รัฐบาลแก้ไขไม่ได้ทั้งหมดนะครับ ในการนี้ประเทศไทยถือว่าเป็นความโชคดีนะครับ ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานแนวทางศาสตร์พระราชาไว้มากมาย และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโประกระหม่อมให้ทำต่อเนื่อง ไปในรัชกาลปัจจุบันนะครับ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้มากที่สุดนะครับ"