การเมือง-ส่งออก‘หนุน-รั้ง’จีดีพีครึ่งหลัง

15 ก.ค. 2560 | 09:35 น.
สํานักพยากรณ์เศรษฐกิจภาครัฐและเอกชน ทยอยปรับเพิ่มประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปี2560 หลังภาคการส่งออกที่ส่งสัญญาณการฟื้นตัวต่อเนื่องตลอด 5 เดือนที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เพิ่มจีดีพีปีนี้เป็น 3.5% จากเดิม 3.4% ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) จะทบทวนจีดีพีอีกครั้ง ส่วนศูนย์วิจัยกสิกรไทย เพิ่มเป้าจาก 3.3% เป็น 3.4%

[caption id="attachment_129346" align="aligncenter" width="379"] สมประวิณ มันประเสริฐ ที่ปรึกษาและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สมประวิณ มันประเสริฐ ที่ปรึกษาและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา[/caption]

“ฐานเศรษฐกิจ” สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจและธุรกิจครึ่งปีหลัง พบว่าการส่งออกและการเมืองระหว่างประเทศ จะเป็นปัจจัยบวกและปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง

นายสมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานวิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังปัจจัยสนับสนุนกำลังซื้อจะมาจาก 2 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ใช้แรงงานนอกระบบ และ 2.กลุ่มผู้ใช้แรงงานที่เป็นลูกจ้างจากภาคการผลิตและภาคบริการ

[caption id="attachment_178354" align="aligncenter" width="503"] การเมือง-ส่งออก‘หนุน-รั้ง’จีดีพีครึ่งหลัง การเมือง-ส่งออก‘หนุน-รั้ง’จีดีพีครึ่งหลัง[/caption]

ขณะนี้สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมาจากแรงงานนอกระบบ แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะชะลอตัว แต่น่าจะช่วยให้การบริโภคฟื้นตัวได้ดีขึ้น ประกอบกับภาคส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นในหลายภาคการผลิต อาทิ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเลียม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่สำคัญปัจจุบันเริ่มเห็นตัวเลขการใช้กำลังการผลิตที่ปรับเพิ่มหลังจากลดลงในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาหลายภาคธุรกิจมีการใช้กำลังผลิตเกิน 70% อาทิ แผงวงจรรวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น เหล่านี้จะเป็นแรงหนุนภาคการส่งออก และกลุ่มนี้จะเป็นกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตามความกังวลที่ต้องติดตามใกล้ชิด คือสถาน การณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้าน ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ซึ่งอาจมีผลต่อรายได้ของผู้ใช้แรงงานภาคบริการ

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยรอบนี้จะมีสัญญาณบวกจาก 3 ด้านที่จะส่งผลต่อกำลังซื้อ ประกอบด้วย รายได้ภาคเกษตรที่ค่อยๆขยับแต่ยังไม่เห็นรายได้ของกลุ่มระดับกลางและค้าปลีก

[caption id="attachment_157124" align="aligncenter" width="500"] นายอมรเทพ จาวะลา นายอมรเทพ จาวะลา[/caption]

ปัจจัยที่ 2 คือ ครึ่งปีหลังมีโอกาสเห็นการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวแม้ไตรมาส 2 โอกาสจะติดลบต่อเนื่องจากไตรมาสแรก

ปัจจัยที่ 3 ภาคการส่งออกซึ่งก็เป็นกลุ่มที่ต้องใช้เวลาเช่นกัน เพราะที่ผ่านมาอัตราการเติบโตจีดีพีจะมาจากภาคต่างประเทศและการส่งออก แต่รอบนี้การส่งออกส่วนใหญ่เกี่ยวกับสินค้าเกษตรและราคาสินค้าโภคภัณฑ์แต่ในกลุ่มสินค้าอื่นยังต้องใช้เวลา

“คนในประเทศยังไม่รู้สึกดีนั้น เพราะเราเติบโตได้จากภายนอก ทั้งการส่งออก การท่องเที่ยวจึงต้องใช้เวลากว่าแรงส่งจะกระเพื่อมเข้ามาในประเทศซึ่งอาจต้องใช้เวลา 1-2 ไตรมาส แม้ภาคส่งออกจะเป็นปัจจัยบวกแต่หากสถานการณ์พลิกผันจากราคาสินค้าเกษตรและราคานํ้ามันกลับข้าง การส่งออกก็ยังเป็นโจทย์ครึ่งปีหลังเช่นกัน”

MP27-3278-A นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้บริหารงานวิจัย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังยังเผชิญโจทย์ท้าทาย ทั้งในส่วนของการลงทุนเอกชนไม่ฟื้น ขณะที่ราคานํ้ามันมีแนวโน้มอ่อนตัวจากช่วงครึ่งแรกของปี จะทำให้เป็นแรงกดดันการส่งออกในรูปของมูลค่าลดลงได้ และรายได้ภาคเกษตรอาจจะชะลอตัวลงจากผลผลิตที่ออกเยอะทำให้ราคาไม่สูง

นอกจากนี้พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จะมีผลกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.08% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.24 หมื่นล้านบาท โดยมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะหายไปประมาณ 40% รวมถึงต้นทุนนายจ้างที่จะเพิ่มขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,278 วันที่ 13 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560