ออกแล้วหลักเกณฑ์จัดแถวแรงงานต่างด้าวเข้าระบบ

07 ก.ค. 2560 | 10:19 น.
“บิ๊กบี้”สั่ง 4 ข้อจัดแถวแรงงานต่างด้าว”รวดเร็วเรียบร้อย” ก.แรงงานตั้งศูนย์ทั่วประเทศรองรับ ประกาศหลักเกณฑ์วางกติกาเข้าระบบ ยันค่าใช้จ่ายแค่หลักพันบาท

การประชุมซูเปอร์บอร์ดวันนี้(7 กรกฎาคม 2560) นายสุทธิ สุโกศล ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน เผยว่า พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีแรงงาน สั่งการให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ประกอบด้วยส่วนบัญชาการ ส่วนติดตามและรายงานผล ส่วนวิเคราะห์ข่าวสาร ส่วนรับเรื่องราวร้องทุกข์ ส่วนประชาสัมพันธ์ และส่วนปฎิบัติการระดับจังหวัด

 

พล.อ.ศิริชัยยังส่งการให้กำหนดแนวทางเพื่อออกประกาศให้การปฎิบัติงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ โดย 1.เร่งออกมาตรการดำเนินการเร็วที่สุด 2เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานทุกคนต้องโปร่งใสไร้ทุจริต 3.เร่งออกอนุบัญญัติโดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และ4.ให้ทุกหน่วยงานติดตามรายงานสถานการณ์เป็นรายวัน

[caption id="attachment_176285" align="aligncenter" width="503"] นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ โฆษกกระทรวงแรงงาน นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ โฆษกกระทรวงแรงงาน[/caption]

นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ โฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงได้ออกประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตทำงานและการอนุญาตให้ทำงานตามพ.ร.ก.การจ้างแรงงานต่างด้าวแล้ว มีแนวทางการทำงานจากนี้ที่ชัดเจนคือ 1.เปิดศูนย์เฉพาะกิจรับแจ้งการทำงานของแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติที่มีนายจ้างอยู่แล้วแต่ไม่มีเอกสารอะไรเลย จังหวัดละ 1 แห่ง กรุงเทพฯ10 แห่ง ตั้งแต่ 24 กรกฎาคม-7 สิงหาคม เวลา 08.30-16.30 น.ไม่มีวันหยุด ส่วนสถานที่จะแจ้งอีกครั้ง ขั้นตอนปฏิบัติให้นายจ้าง หรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นมายื่นเรื่องโดยไม่ต้องพาแรงงานต่างด้าวมาด้วย ใช้เอกสารสำเนาบัตรประชาชนนายจ้างที่แท้จริง สำเนาเอกสารบัตรประชาชนผู้รับมอบฉันทะ เอกสารมอบฉันทะ หากเป็นนิติบุคคล ให้นำสำเนาการจดทะเบียนนิติบุคคล พร้อมภาพถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 1นิ้วครึ่งคูณ 2 นิ้วครึ่ง 2 ใบ ของลูกจ้างต่างด้าว หากลูกจ้างต่างด้าวมีเอกสารยืนยันตัวบุคคลอะไรให้นำมาด้วย แม้จะเป็นพาสปอร์ตหมดอายุก็ตาม

หลังปิดศูนย์วันที่ 7 สิงหาคมแล้ว เจ้าหน้าที่จะเร่งตรวจสอบความถูกต้องการแจ้งทำงาน รายที่ไม่มีปัญหาสามารถออกใบนัดให้นายจ้างมารับโควต้าหรือใบรับรองการจ้างคนต่างด้าวได้เลย โดยขั้นตอนนี้นายจ้างต้องมาเอง พร้อมนำตัวลูกจ้างต่างด้าวมาด้วย รายที่มีข้อสงสัยจะเชิญมาสอบถามเพิ่มเติมก่อน เมื่อได้รับเอกสารแล้วให้พาแรงงานต่างด้าวไปพิสูจน์สัญชาติ เมื่อได้ใบรับรองแล้วให้พาไปขอวีซ่าทำงาน และตรวจสุขภาพเพื่อทำบัตรประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว และขออนุญาตทำงาน โดยมีค่าใช้จ่ายใบคำร้อง 100 บาท ค่าธรรมเนียมออกใบอนุญาต 900 บาท

2-7-768x460 “แรงงานเมียนมาจะสะดวกกว่าสัญชาติอื่น เพราะทางการให้ความร่วมมือมาตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทย 6 ศูฯย์ ไม่ต้องกลับ  ส่วนลาวและกัมพูชา แรงงานต้องกลับไปพิสูจน์สัญชาติที่ประเทศต้นทาง แต่ตอนนี้รัฐมนตรีแรงงาน กำลังหารือกับทางการลาวขอให้มาอำนวยความสะดวกในไทย”

นายอนันตชัยกล่าวต่อว่า 2.กลุ่มที่มีเอกสารแต่เปลี่ยนนายจ้าง หรือเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน สามารถแจ้งเปลี่ยนนายจ้างหรือสถานที่ให้ตรงกับที่ทำงานจริงได้ที่สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่ทำงาน โดยมีค่าใบคำร้อง 100 บาท ค่าธรรมเนียม 900 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน 3.แรงงานที่ถือบัตรสีชมพู พิสูจน์สัญชาติแล้วแต่ไม่ได้ขออนุญาตทำงานตามกำหนดภายใน 15 วันนั้น ให้ยื่นคำร้องที่สำนักงานจัดหางานในพื้นที่ที่ทำงาน มีค่าใบคำร้อง 100 บาท ค่าธรรมเนียม 900 บาท และ4.กล่มที่มีพาสปอร์ต แต่ถือวีซ่าประเภทอื่นที่ไม่ใช่วีซ่าทำงาน หรือนายจ้างที่ลูกจ้างต่างด้าวถือใบอนุญาตใกล้หมดอายุ ให้ไปขอใบอนุญาตทำงานได้ที่สำนักงาน มีค่าทำร้อง 100 บาทและค่าธรรมเนียม 900 บาท ให้เร่งดำเนินการทันทีอย่าชะล่าใจ ส่วนนายจ้างที่ต้องการแรงงานต่างด้าวรายใหม่ให้ดำเนินการตามระบบเอ็มโอยูตามช่องทางปกติ และอีกกลุ่มที่น่าจะมีปัญหาคือกลุ่มที่มีเอกสารรับรองตัวบุคคล แต่ไม่มีวีซ่าทำงาน ให้มาขอโควต้าได้ที่ศูนย์เฉพาะกิจที่จะตั้งขึ้น แล้วพาไปเปลี่ยนวีซ่าให้ถูกต้อง

3-3-768x460 “ช่วงนี้ผ่อนผันแล้ว คนที่ทำผิดกฎหมายอยู่มีโอกาสรีบมาดำเนินการให้ถูกกฎหมายเสีย อย่าทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องอีก ยืนยันว่ารัฐบาลและกระทรวงไม่มีเจตนาไม่อนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวแต่ขอให้ทำให้ถูกกฎหมาย โดยขั้นตอนการแจ้งความประสงค์ขอใช้แรงงานต่างด้าวไม่มีค่าใช้จ่าย หากมีเจ้าหน้าที่เรียกรับผลประโยชน์ให้แจ้งผู้บริหารกระทรวงได้ทุกคนทันที หรือโทร.1694 จะได้ตรวจสอบและลงโทษเด็ดขาด และยืนยันว่า ค่าธรรมเนียมการขออนุญาตทำงานที่บอกว่า 20,000 บาทนั้น เป็นอัตราสูงสุดตามกฎหมาย แต่ที่กฎกระทรวงกำหนดไว้คือ ค่าใบคำร้อง 100 บาท บวกค่าธรรมเนียม 900 บาท ต้องยึดตามนี้” โฆษกกระทรวงแรงงานย้ำ