ยูนิลีเวอร์ต่อยอด แผนดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน

08 ก.ค. 2560 | 01:00 น.
ครงการความช่วยเหลือชุมชนของ ยูนิลีเวอร์ ยังคงเดินหน้าต่อ ภายใต้ความเชื่อในการสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชน ภายใต้ “แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน” (Unilever Sustainable Living Plan)
“สาโรจน์ อินทพันธุ์” ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กรและความยั่งยืน บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง กล่าวว่า แผนการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืน ยูนิลีเวอร์ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว จากการดำเนิน

[caption id="attachment_174285" align="aligncenter" width="335"] สาโรจน์ อินทพันธุ์ สาโรจน์ อินทพันธุ์[/caption]

ธุรกิจที่สร้างให้เติบโตได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม คือ

1.ต้องยกคุณภาพชีวิตของชุมชน ผ่านสินค้าของแบรนด์นั้นๆ ซึ่งตรงนี้เป็นโจทย์ ที่แต่ละแบรนด์ของยูนิลีเวอร์ต้องไปคิดกันว่าจะทำอย่างไร

2. เรื่องของขยะ แพ็กเกจจิ้งรีไซเคิลได้ ผลิตภัณฑ์ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. การผลิตและซัพพลายเชน ต้องลดการใช้น้ำ ลดการสร้างขยะ และ

MP32-3276-5 4. คือ คน พนักงานของยูนิลีเวอร์ และประชาชนทั่วไป เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความยั่งยืน ปีนี้ยูนิลีเวอร์ โดยผลิตภัณฑ์ คอมฟอร์ท น้ำเดียว สร้างพฤติกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน จากตัวผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนเลือกใช้ ก็สามารถช่วยประหยัดน้ำได้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ กิจกรรมกระตุ้นจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของน้ำในการดำรงชีวิต และรู้จักการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า “น้ำคือชีวิต แค่เปลี่ยนความคิด ชีวิตพอเพียง” เป็นการพัฒนาระบบน้ำเพื่อการบริโภคในพื้นที่ชุมชนกุดขาคีม จ.สุรินทร์ ด้วยการจัดการกรองน้ำดื่มจากแหล่งน้ำดิบในชุมชนที่มีปริมาณค่อนข้างสมบูรณ์ เพื่อนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภคราว 6,000 ลิตรต่อวัน เพื่อให้ชุมชนมีน้ำดื่มอย่างพอเพียง และลดรายจ่ายของคนในชุมชน และจัดกิจกรรมร่วมรณรงค์ให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า โดยร่วมกับ มูลนิธิอุทกพัฒน์

MP32-3276-4 “ดร.รอยล จิตรดอน” กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เล่าว่า พื้นที่เกษตรอีสานมีอยู่ 64 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทานประมาณ 5 ล้านไร่ เหลือพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อนได้อีกแค่ 2-3 แห่ง ก็เลยต้องมาจัดการน้ำนอกเขตพื้นที่ชลประทาน สำหรับพื้นที่ชุมชนกุดขาคีม เริ่มด้วยการเข้ามาฟื้นเรื่องกุด หรือบึงใหญ่ๆ ที่แยกมาจากแม่น้ำ โดยกรมชลประทานเข้ามาทำแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็ก หลังจากนั้นทางมูลนิธิฯ เข้ามาสนับสนุน จนกระทั่งเกิดการจัดน้ำชุมชน แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เรียกว่า “คณะกรรมการจัดการน้ำชุมชน”

MP32-3276-3 “พื้นที่ที่มูลนิธิฯ จะเข้าไปช่วยเหลือ คนในชุมชนต้องมีความพร้อม งานของเราเน้นตามแนวทางของ รัชกาลที่ 9 เราทำแผนที่ ถ่ายทอดความรู้ให้กับคน ได้กุดประมาณ 4 หมู่บ้าน เขามองเรื่องถังน้ำ ดูทิศทางการไหลของน้ำว่าไปทางไหน เขาเปลี่ยนแผนที่เป็นผัง ดูว่าแหล่งน้ำอยู่ตรงไหน ตรงไหนคือที่เกษตร พอมีข้อมูล ก็เช็คสถานะแหล่งน้ำ วางแผนการใช้น้ำ ทำให้เขารู้ว่าอะไรต้องพัฒนาต่อ ไม่ว่าหน่วยงานราชการมาเสริมตรงไหน ชุมชนต้องพร้อม พอมีผังเขาจะรู้ว่า เขามีน้ำเท่าไร จะปลูกพืชอะไร ปลูกได้เมื่อไร”

MP32-3276-6 สิ่งที่เห็นชัดเจน คือ สามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และทำให้ชาวบ้านรู้วิธีบริหารจัดการน้ำ รู้ว่าควรปลูกอะไรเมื่อไร จากเมื่อก่อนทำงานปีละ 5 เดือนจากการทำนา ตอนนี้สามารถปลูกพืชอื่นๆ ช่วยเสริมรายได้ ชาวบ้านมีงานทำตลอด 12 เดือน ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นทันที 3 เท่า นี่คือแผนการดำเนินชีวิตอย่างยั่งยืนที่ชัดเจน

[caption id="attachment_174284" align="aligncenter" width="471"] สิงห์ทอง เงินคำ สิงห์ทอง เงินคำ[/caption]

โครงการความช่วยเหลือของมูลนิธิฯ ยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จากปัจจุบันมีตัวอย่าง 60 ชุมชนทั่วประเทศ เป็นเทียร์ 1 และมีเทียร์ 2 อีกกว่า 1,000 หมู่บ้าน “สาโรจน์” บอกว่า ยูนิลีเวอร์จะปรึกษากับทางมูลนิธิอุทกพัฒน์ว่าจะสามารถเข้าไปช่วยเสริมในจุดไหนได้อีก สิ่งที่ยูนิลีเวอร์ทำ ต้องการให้เกิดแรงกระตุ้นไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป ทำให้เกิดการพัฒนาและสื่อสาร ช่วยในการรักษาน้ำ ทำให้น้ำมีคุณค่า กิจกรรมเหล่านี้ยูนิลีเวอร์จะดำเนินการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,276 วันที่ 6 - 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560