เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ด่วน ร้องรัฐเร่งทบทวนปัญหาแรงงานต่างด้าว

30 มิ.ย. 2560 | 09:30 น.
เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ด่วน 5 ข้อ ร้องรัฐเร่งทบทวนปัญหาแรงงานต่างด้าว เผย ลูกจ้าง-นายจ้าง-เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติ เกิดความสับสน เผย นายจ้างเริ่มละทิ้งลูกจ้างตัวเอง

วันนี้ (30 มิถุนายน) เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ออกแถลงการณ์ด่วน เรื่อง ขอให้รัฐเร่งทบทวนรากเหง้าปัญหา การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านนโย บายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ปรากฎข้อความดังต่อไปนี้

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมั ติพระราชกำหนดการบริหารจัดการกา รทำงานของคนต่างด้าว ตามข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหม ายของกระทรวงแรงงานโดยเฉพาะการป้องกันการขยายตัวของปัญหาที่นำไป สู่การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานขอ งแรงงานหรือการกระทำอันเป็นการค้ ามนุษย์ต่อคนต่างด้าว โดยให้มีผลบังคับใช้วันที่ 23 มิ ถุนายน 2560

หลังมีการประกาศใช้แล้ว ทางเครือข่ายสมาชิกประชากรข้ามช าติ ได้รับแจ้งจากฝ่ายลูกจ้างและนาย จ้างถึงกระบวนการบังคับใช้กฎหมา ย เนื่องจากมีการกำหนดมาตรการทางก ฎหมายเพิ่มเติมหลายประการจากกฎห มายเดิม ได้แก่ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่าง ด้าว พ.ศ.2551 และพระราชกำหนดการนำคนต่างด้าวม าทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ.2558 โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทกำหนดโทษทั้ งสำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่มิไ ด้มีการจ้างงานหรือทำงานตามเงื่ อนไขของกฎหมายในลักษณะที่สูงขึ้ น จนนำสู่การสร้างความสับสนทั้งฝ่ ายลูกจ้าง นายจ้าง และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติในการ แก้ไขปัญหากระบวนการจ้างงานทั้ง ระบบภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้

โดยเครือข่ายฯพบว่า นายจ้างเริ่มละทิ้งลูกจ้างตัวเอ ง ลูกจ้างถูกกวาดล้างจับกุมโดยเจ้ าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในการคว บคุมตัวและส่งกลับเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการอาศัยช่องทางของเจ้าห น้าที่บังคับใช้กฎหมายในการพยาย ามเรียกรับเงินจากทั้งตัวแรงงาน และนายจ้าง ดังนั้น เครือข่ายประชากรข้ามชาติจึงขอเ รียกร้องให้รัฐดำเนินการอย่ างเร่งด่วนในการวางมาตรการด้ านกระบวนการจ้ างแรงงานแทนการปราบปรามแรงงาน อันเนื่องมาจากความไม่ชัดเจนด้า นนโนบายของการบริหารจัดการแรงงา นข้ามชาติ และไม่สอดคล้องกับสภาพรากเหง้าข องปัญหาการจ้างงาน ดังต่อไปนี้

1.การตราพระราชกำหนดฉบับนี้ อาศัยช่องทางตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่บัญญัติไว้ให้คณะรัฐมนตรีสาม ารถออกพระราชกำหนดได้ในกรณี”เพื่อ ประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอ ดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเ ทศ...” โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ “เป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจ จะหลีกเลี่ยงได้”

เครือข่ายประชากรแรงงานข้ามชาติ เห็นว่า กรณีการจัดการแรงงานต่างด้าว มิได้เป็นหนึ่งใน “กรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบ ด่วนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้” ซึ่งจำเป็นต้องตราเป็นพระราชกำห นด ประกอบกับแนวทางการตราพระราชกำห นดภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวตามรัฐ ธรรมนูญฉบับก่อนหน้า จะเห็นได้ชัดว่าฝ่ายบริหารหรือค ณะรัฐมนตรีจะใช้ช่องทางนี้อย่าง จำกัด เเละเป็นข้อยกเว้นเฉพาะปร ะเด็นที่เสี่ยงต่อความมั่ นคงของประเทศด้านอื่น

ดังนั้นรัฐบาลควรพิจารณาเปิดโอก าสให้มีการรับฟังความคิดเห็นจาก ภาคส่วนต่างๆอย่างรอบด้าน รวมถึงการออกงานวิชาการออกมารอง รับ เพื่อนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงแ ก้ไขกฎหมายฉบับนี้ต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ขอ งรัฐในการบัญญัติกฎหมายให้ครอบค ลุมการบริหารจัดการการทำงานของค นต่างด้าวได้ทั้งระบบและการส่งเ สริมงานที่มีคุณค่าและการพัฒนาที่ ยั่งยืนอย่างเเท้จริง

2.เครือข่ายประชากรเเรงงา นข้ามชาติเห็นว่านิติ นโยบายของกฎหมายฉบับนี้ มีบทลงโทษมากกว่ากฎหมายทุกฉบับที่ผ่านมา ซึ่งการที่รัฐมีมาตรการในการเพิ่ มโทษ เช่น การเพิ่มจำนวนเงินค่าปรับ หรือโทษจำคุก อาจจะยิ่งเป็นช่องทางในการทำผิด กฎหมาย การทุจริตในวงราชการ รวมทั้งส่งผลกระทบต่ อการประกอบกิจการที่จ้ างแรงงานข้ามชาติ ในขณะที่แนวทางในการจัดการเพื่อ ให้เกิดการขออนุญาตทำงานอย่างถู กต้อง เช่น การนำเข้า MOU จากประเทศต้นทางยั งมีปัญหาการดำเนินการที่เอื้อต่ อการจ้างงาน

นอกจากนี้กระบวนการลงโทษระหว่าง ลูกจ้างและนายจ้างยังมี ความแตกต่างกัน เช่น กรณีลูกจ้างทำงานโดยไม่มีใบอนุญ าตต้องระวางโทษจำคุกหรือปรับ กรณีที่นายจ้างฝ่าฝืน กำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะโทษปรับ อาจจะกลายเป็นประเด็นในการเลือก ปฏิบัติอีกได้ด้วย เครือข่ายฯขอเรียกร้องให้รัฐทบท วนมาตราการบทลงโทษที่มี มาตรการรุนแรง โดยเฉพาะให้ยกเลิกจำคุกโดยทันที

3.ยุติมาตรการของเจ้าหน้า ที่ในการกวาดล้าง จับกุมแรงงานข้ามชาติ และกำหนดนโยบายและมาตการในการปฏิบัติให้ชัดเจน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ในท้องที่ต่ างๆปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันอย่าง เป็นเอกภาพ ออกประกาศ แจ้งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงแ ละฝ่ายพลเรือนที่เกี่ยวข้องระมั ดระวังในการดำเนิ นการปราบปรามกลุ่มแรงานที่ขณะนี้ กระบวนการบริหารจัดการแรงงานข้ ามชาติมีความเปลี่ยนแปลงอย่ างกระทันหัน โดยที่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการออกกฎหมายยังมิได้มีการทำ ความเข้าใจถึงผู้มีส่วนได้เสียทุ กฝ่าย และแรงงานจำนวนมากยังอยู่ ในระหว่างปรับสถานะด้านการเข้ าเมืองและสิทธิการทำงาน การอาศัยอยู่ จึงทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวนี้ มีความเสี่ยงอย่างมากในการถูกกว าดล้างและจับกุม

4. ออกมาตรการด่วนที่จะสร้ างความมั่นใจต่อแรงงานข้ามชาติ และผู้ประกอบการว่ามาตรการการจัดระบบแรงงานข้ามชาติจะไม่ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน เพื่อยับยั้งการไหลออกของแรงงาน สืบเนื่องจากมีกระแสข่าวการปิ ดล้อมจับกุมแรงงานข้ามชาติ ในหลายพื้นที่ ดังที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2557

5. ขอให้พิจารณาข้อเสนอของ เครือข่ายประชากรข้ามชาติ ที่ยื่นถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ซึ่งทางเครือข่ายฯได้รวบรวมไว้จ ากเวทีแสดงความคิดเห็นต่อร่างพร ะราชกำหนด เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 โดยมีผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นตัวแทน ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการ ตัวแทนลูกจ้าง สภาอุตสาหกรรม ฝ่ายวิชาการ ผู้นำแรงงาน องค์กรพัฒนาเอกชน นักกฎหมาย

ด้วยความเคารพในสิทธิมนุษยชนและ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

เครือข่ายประชากรข้ามชาติ

mwg30066004 mwg30066003 mwg30066005