บิ๊กไบค์เจ้าใหญ่ทวงบัลลังก์ เพิ่มโมเดลใหม่ราคาโดนด้านดูคาติ-คาวาซากิยอดซบ

02 ก.ค. 2560 | 00:00 น.
บิ๊กไบค์ ถือเป็นตลาดที่หอมหวน ชวนให้บริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ทั่วโลกหันมาลงทุนในไทย ด้วยความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นทุนเดิม และการสนับสนุนของรัฐบาล ส่งผลให้ปัจจุบันค่ายสองล้อท็อป10 ของโลกมีฐานการผลิตในประเทศไทยทั้งสิ้น

[caption id="attachment_170672" align="aligncenter" width="503"] บิ๊กไบค์เจ้าใหญ่ทวงบัลลังก์ เพิ่มโมเดลใหม่ราคาโดนด้านดูคาติ-คาวาซากิยอดซบ บิ๊กไบค์เจ้าใหญ่ทวงบัลลังก์ เพิ่มโมเดลใหม่ราคาโดนด้านดูคาติ-คาวาซากิยอดซบ[/caption]

เมื่อมองไปที่ตลาดส่งออกก็ฉลุย ตลาดในประเทศก็โตวันโตคืน จากความนิยมเฉพาะกลุ่มสู่รูปแบบการขายอย่างเป็นทางการ พร้อมจดทะเบียนถูกต้อง ในราคาที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้นแถมมีระบบสินเชื่อเช่าซื้อรองรับ

นอกจากนั้นแล้ว การที่ค่ายรถจักรยานยนต์ญี่ปุ่นได้การเอื้อประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement)ด้วยการลดภาษีนำเข้าแบบขั้นบันไดและกลายเป็น 0%ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ยิ่งทำให้ค่ายใหญ่จากญี่ปุ่นมีอาวุธครบมือมากขึ้น

appMP28-3086-A ถ้าอ้างอิงข้อมูลจากเจ้าใหญ่ฮอนด้า ที่ประกาศไว้ตอนต้นปีว่าตลาดบิ๊กไบค์ปีนี้จะเพิ่มเป็น 27,000 คัน(จาก23,000 คันในปี 2559) และตั้งเป้าหมายของตัวเองไว้10,800 คัน เติบโต 20% เมื่อเทียบกับปี 2559 อย่างไรก็ดีตัวเลขการขาย 5 เดือนที่ผ่านมาพบว่าเติบโตกว่า 135% เมื่อเทียบกับปี 2559 ทำให้ฮอนด้าปรับเป้าหมายใหม่เป็น 1.2 หมื่นคัน

ปัจจุบัน ฮอนด้ามีรุ่นนำเข้า อาทิ ซีบีอาร์ 1000,เอ็กซ์-เอดีวี, แอฟริกา ทวิน และ ซีอาร์เอฟ 250, รุ่นโกลด์วิง, ซีทีเอ็กซ์ 700, รุ่น ซีบี1100 ส่วนรุ่นผลิตในประเทศมีทั้งหมด 6 รุ่น ได้แก่ กลุ่ม500 ซีซี อย่าง ซีบี 500 เอฟ,ซีบี 500 เอ็กซ์, ซีบีอาร์ 500อาร์, รีเบล 500 ขณะที่กลุ่ม650 ซีซี ได้แก่ ซีบี 650 เอฟ,ซีบีอาร์ 650 เอฟ

“ยอดขายกลุ่มบิ๊กไบค์ของฮอนด้าเติบโตสูงกว่าตลาดรวม และในอนาคตจะมีการเพิ่มโมเดลนำเข้าเพราะได้รับสิทธิประโยชน์จาก JTEPA ซึ่งเรามั่นใจว่าเป้าหมายที่วางไว้จะทำได้อย่างแน่นอน ส่วนโมเดลในประเทศที่ได้รับความนิยม อาทิ รีเบล 500 ที่ลูกค้าหลายคนกำลังรอ เราพยายามเร่งผลิต เพื่อให้ทันกับความต้องการดังกล่าว” แหล่งข่าวจากบริษัทเอ.พี.ฮอนด้า จำกัด กล่าวและว่า

4_Event emcee June, Sawittree Rojanapruek on the Harley-Davidson Roadster-001 ส่วนพี่ใหญ่จากอเมริกาที่มาเรื่อยๆ แต่ต้องจับตามองมากที่สุดคือ “ฮาร์เลย์-เดวิดสัน”หลังประกาศจะลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย โดยเริ่มผลิตปลายปี 2561 แน่นอนว่าการเข้ามาใช้ไทยเป็นฐานการผลิตย่อมต้องส่งผลในแง่ของราคาที่จะปรับลดลงและทำให้ลูกค้าคนไทยจับต้องฮาร์เลย์ได้ง่ายขึ้น
ขณะที่ยอดขายของฮาร์เลย์-เดวิดสันในช่วงที่ผ่านมา มีการเติบโต 2 เท่า ซึ่งสาเหตุที่โตก็มาจากโมเดลที่ครบไลน์และการเพิ่มจำนวนดีลเลอร์ เดิมมีแค่ 3 แห่งตอนนี้ 6 แห่ง และภายในสิ้นปีจะเพิ่มเป็น 9 แห่ง

ประเด็นการแข่งขันโดยมีเจ้าใหญ่ทุ่มตลาด และค่ายรถจักรยานยนต์หน้าใหม่ตบเท้าเข้ามาลุยเมืองไทยมากขึ้น ยังส่งผลให้ค่ายที่เคยเป็นดาวรุ่งอย่าง ดูคาติและคาวาซากิ ได้รับผลกระทบพอสมควร

“ดูคาติ” ยอมรับว่ายอดขายในปัจจุบันลดลงไปมาก เมื่อเทียบกับอดีตที่เคยขายได้สูงสุดกว่า 3,000 คันต่อปี และแชร์กว่า 20% แต่พอแบรนด์ต่างๆ เริ่มขยับเข้ามาในตลาดมากขึ้น ประกอบกับเทรนด์รถเริ่มไปสู่คลาสสิก- วินเทจ ทำให้รถในสไตล์สปอร์ตอย่างดูคาติ เริ่มมียอดขายลดลงอย่างต่อเนื่อง

“ยอดขายรถใหม่ของดูคาติในปีนี้ยังลดลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจ ทำให้ผู้บริโภคไม่จับจ่ายใช้สอย,ผลิตภัณฑ์ไม่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าปัจจุบัน และการมีผู้เล่นในตลาดมากขึ้น” นายณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทดูคาทิสติ จำกัด หรือดูคาติไทยแลนด์ กล่าวและว่า

AppDucati_748_Studio การแก้เกมของดูคาติคือการเปิดตัว “ซูเปอร์สปอร์ต” ในเดือนสิงหาคมนี้ และปลายปีนี้จะมีโมเดลใหม่ในงานมอเตอร์เอ็กซ์โปและจะปรับปรุงบริการหลังการขาย พร้อมเปิดโปรแกรมสมาร์ท แพ็กเกจ เซอร์วิสลดค่าเมนเทนแนนซ์-ค่าแรง-ค่าอะไหล่ เฉลี่ยกว่า 42.5%และได้ปรับโครงสร้างอะไหล่ทุกรายการลดลงอีก 20% แนวทางต่อมาคือการขยายโชว์รูมจากปัจจุบันที่มี13 แห่ง จะเปิดเพิ่มอีก 2 แห่งได้แก่ ลพบุรี และพิษณุโลก

อีกหนึ่งค่ายบิ๊กไบค์ที่ยอดขายเริ่มชะลอตัวคือ“คาวาซากิ” เนื่องจากโมเดลไม่มีความสดใหม่ โดยยอดจดทะเบียนของคาวาซากิทั้งประเทศในช่วง 5 เดือน ลดลงประมาณ 5% อย่างไรก็ตามในปลายปีจะมีโมเดลใหม่2-3 รุ่น เพื่อผลักดันยอดขายรวมไม่ให้หล่นไปมากกว่านี้ส่วนการสื่อสารตลาดจะหยิบกลยุทธ์ออนไลน์ มาร์เก็ตติ้งผ่านโซเชียลมีเดีย ที่สามารถเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้โดยตรง

…ต้องจับตามองสำหรับตลาดบิ๊กไบค์ที่แบรนด์ใหญ่เริ่มรุกคืบในทุกเซ็กเมนต์ด้วยโปรดักต์ไลน์อัพหลากหลาย พร้อมราคาเข้าถึงได้ง่าย ส่วนแบรนด์ที่เล็กกว่าตัวเลขอาจจะไม่หวือหวาเหมือนในอดีต และต้องอาศัยการเปิดตัวรถใหม่ เป็นจังหวะเพื่อดันยอดขายต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,274
วันที่ 29 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560