ตลาดอสังหาฯ EEC Comeback(ตอนที่2)

26 มิ.ย. 2560 | 23:38 น.
MP35-3273-B บทความตอนที่ 1 ได้กล่าวถึงปัจจัยสนับสนุนสำคัญทั้งการขยายตัวด้านอุตสาหกรรม การลงทุนของเอกชน การขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว และที่สำคัญคือ การลงทุนของภาครัฐในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC (Thailand’s Eastern Economic Corridor) ที่มาทั้งการส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั้งการขยายท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือมาบตาพุด รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภารองรับ 15 ล้านคน

สำหรับบทความในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่สำคัญของภาครัฐที่จะรองรับการพัฒนา EEC ของรัฐบาลล่าสุดมีความเห็นชอบโครงการภายใต้แผนงานพัฒนา (พ.ศ. 2560-2564) ที่ต้องเร่งดำเนินการในปี 2560 จำนวน 36 โครง การ วงเงินรวม 8.9 แสนล้านบาท ส่วนที่จะไปดำเนินการในพื้นที่ EEC มีจำนวน 100 โครงการ (รวมโครงการของทหารเรือ) วงเงิน 594,807 ล้านบาท อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง การเปิดใช้สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (ขยายเป็นสนามบินนานาชาติแล้วเสร็จจะรองรับผู้โดยสารได้ 5 ล้านคนต่อปีในระยะแรกและ 15 ล้านคนต่อปีในระยะต่อไป) ที่จะเพิ่มอุปสงค์ด้านการท่องเที่ยว การลงทุนในจังหวัดชายฝั่งตั้งแต่ชลบุรี พัทยา ระยอง จันทบุรี ไปถึงจังหวัดตราด ทำท่าว่าจะฟื้นตัวจากปัจจัยสนับสนุนสำคัญทั้งด้านอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัว แนวโน้มการลงทุนของเอกชนมากขึ้นทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ ตลาดที่อยู่อาศัย โรงแรม และภาคอุตสาหกรรม
โดยโครงการสำคัญๆ เช่น

1.โครงการรถไฟความเร็วสูง ภาคตะวันออก แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก โดยตามแนวเส้นทางจะมี 7 สถานี และใช้สถานีรถไฟเดิมต่อจากสถานีบางซื่อ เป็นสถานีมักกะสัน สุวรรณภูมิ/ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา ระยอง (กำลังศึกษาเพิ่มเข้าสนามบินอู่ตะเภา) วิ่งด้วยความเร็ว 250 กม.ต่อชม.

2.โครงการขยายสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติแห่งที่ 3

[caption id="attachment_168596" align="aligncenter" width="503"] ตลาดอสังหาฯ EEC Comeback(ตอนที่2) ตลาดอสังหาฯ EEC Comeback(ตอนที่2)[/caption]

เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3 ล้านคนในปีหน้า อนาคตจะขยายเป็น 15 ล้าน และ 60 ล้านคนในปี 2575 อันจะส่งผลให้การท่องเที่ยว การลงทุนในภาคตะวันออกขยายตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศสามารถบินตรงมาลงที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา-พัทยา สนามบินแห่งนี้เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะเป็นสนามบินนานาชาติที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และจะทำให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลมาท่องเที่ยง การลงทุนในภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมจากการเดินทางที่สะดวกมาก โดยจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง การเชื่อมโยงด้วย Airport Link ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา

3.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2, 3, 4 ระยะที่ 2 (ปี 2554-2560) การก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 2 และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทางทิศใต้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมภายนอกแบบเดียวกันกับอาคารหลังที่ 1 แต่ตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการก่อสร้างท่าอากาศยานต้องใช้เวลาอย่างตํ่าถึง 5 ปี ทำให้แผนการรื้อฟื้นท่าอากาศยานดอนเมืองจึงถูกนำมาใช้ชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบเต็มเฟสจะเสร็จสิ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปีเป็น 60 ล้านคนต่อปี

โครงการพัฒนาท่าอากาศ ยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 3 ช่วงปี 2559-2564 ตั้งเป้าหมายให้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 75 ล้านคน โดยจะขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันตก ก่อสร้างถนนด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 2 หลุมจอดอากาศยานประชิดอาคาร จำนวน 28 หลุดจอด การสร้างอุโมงค์ และระบบขนส่งผู้โดยสาร การปรับปรุงคุณภาพดินเพื่อเตรียมการก่อสร้างทางวิ่งเส้นที่ 4

โครงการพัฒนาท่าอากาศ ยาน ระยะที่ 4 ซึ่งจะมีการก่อ สร้างอาคารผู้โดยสารและอาคารเทียบเครื่องบิน ด้านทิศใต้หลุมจอดอากาศยาน ถนนเชื่อมต่อด้านหน้าอาคารผู้โดยสารอาคารที่จอดรถยนต์ อุโมงค์รองรับผู้โดยสาร 90 ล้านคนต่อปี ถึง ปี 2575

4.โครงการทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา ระยะทาง 68 กิโลเมตร เป็นโครงการที่ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากความจำเป็นในการพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมต่อท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังพื้นที่ต่างๆ ทุกรูปแบบ ได้แก่ การขนส่งทางราง การขนส่งทางถนน และทางพิเศษสายบูรพาวิถี-พัทยา เป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในอนาคต

5.โครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางภาคตะวันออก โครงการก่อสร้างทางคู่เส้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของทางคู่ตอนศรีราชา-ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอยในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 2 วงเงินลงทุนโครงการ 11,348 ล้านบาท

6.โครงการมอเตอร์เวย์สาย “พัทยา-มาบตาพุด” ระยะทาง 32 กิโลเมตร เป็นส่วนต่อขยายจากโครงการเดิม คือ มอเตอร์เวย์สายกรุงเทพฯ-พัทยา อยู่ในการดูแลของกรมทางหลวง ระยะทาง 31 กิโลเมตร วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง ช่วยส่งเสริม และสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ เชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิ ท่าเรือแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกด้วย

7.โครงการขยายท่าเรือ มาบตาพุด ระยะที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 1 และ 2 พัฒนาเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2542 มีการใช้บริการส่งออกหนาแน่น เริ่มใกล้ขีดความสามารถของท่าเรือ ดังนั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เตรียมดำเนินการขยายท่าเรือระยะที่ 3 ตามแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ซึ่งเป็นไปตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เพื่อรองรับการขนส่งในอนาคต ทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ นั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,273 วันที่ 25 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560