ส.ป.ก. ลงพื้นที่สระแก้ว  หนุน 63 รายเลี้ยงโคเนื้อ

15 มิ.ย. 2560 | 14:10 น.
 

วันนี้(วันที่ 15 มิ.ย.) นายสมปอง อินทร์ทอง เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.)พร้อมด้วยนายกล้าณรงค์ พงษ์เจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว และคณะผู้บริหาร ลงพื้นที่ตรวจติดตาม        แปลงที่ดิน No 2879 ซึ่งตั้งอยู่บ้านหนองแอก หมู่ที่ 14 ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งมีเนื้อที่ 655-0-09 ไร่ มีราษฏรที่ได้รับการจัดที่ดิน รวม 63 ราย ซึ่ง ส.ป.ก. มีแผนการพัฒนาในพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ราษฏรเลี้ยงโคเนื้อ แบบปราณีต(โคบาลบูรพา) ส่วนแปลงพื้นที่เกษตรแปลงรวม  ได้ส่งเสริมการปลูกหญ้าเนเปียร์ เพื่อเป็นอาหารสัตว์ ลดต้นทุนการผลิต

3534 สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่ยึดคืน อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว   ส.ป.ก. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน 12 แห่ง รวม 18 กิจกรรม อาทิ เช่น  1. ก่อสร้างสระเก็บน้ำ เนื้อที่ ประมาณ  131-1-61 ไร่ ความจุประมาณ  1,280,000  ลบ.ม.

2.พัฒนาระบบแพร่กระจายน้ำไปยังพื้นที่เพาะปลูกและพื้นที่อยู่อาศัย จัดตั้งหอถังสูง จำนวน 1 แห่ง ขนาดความจุ 64 ลบ.ม. สูง 12 ม.  ก่อสร้างโรงสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำ  โดยท่อ ชนิดท่อ PVC ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.250 ม. ความยาว 4.50 กม.  อีกทั้งได้จัดระบบผันน้ำจากนอกพื้นที่ โดยมีอาคารบังคับน้ำจำนวน 1 แห่ง (ลักษณะเป็นท่อระบายน้ำ  ขนาด 2x2.5x2.5 เมตร)

3. ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อแบบประณีต(โคบาลบูรพา)   4. ปลูกพื้นอาหารสัตว์ โดยใช้พื้นที่แปลงเกษตรรวม 69 ไร่  5. บริหารแหล่งน้ำเพื่อชุมชน โดยใช้พื้นที่แหล่งน้ำชลประทาน  6. ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อพลาสติก (กบ ปลาดุกบิ๊กอุย) 7. จัดตั้งสหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน 8. จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน 9. ส่งเสริมการเกษตรแบบพอเพียงโดยใช้พื้นที่ 5 ไร่ 10. ส่งเสริมการปลูกหม่อนเพื่อการแปรรูปและเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร  11. ปรับปรุงบำรุงดินด้วยพื้นปุ๋ยสด 12. ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ    13. สนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์

เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวเสริมว่า ส.ป.ก. ยังดำเนินการจัดหาพัฒนาระบบไฟฟ้าและจัดหาบ่อบาดาล เพื่ออุปโภค บริโภค จัดอบรมคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์(หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์จัดตั้งใหม่) และส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่  ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การคัดเลือกเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย คือ 1.ผู้อพยพโยกย้ายจากพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ 2.ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการของทางราชการ

3.เกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินในท้องถิ่น และขึ้นทะเบียนกับ ส.ป.ก.  และหน่วยงานอื่น และ4.เกษตรกรรุ่นใหม่ของ ส.ป.ก.เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนา(จำนวนแปลงที่จัดสรรให้เกษตรกรรุ่นใหม่ ไม่เกินร้อยละ 5 ของจำนวนแปลงที่ดินที่จัดสรรทั้งหมด และขนาดเนื้อที่ที่จัดสรรให้แต่ละรายไม่เกินกึ่งหนึ่งของเนื้อที่จัดสรรให้เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่นั้น)