กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ผนึกพลังชุมชน ร่วมสร้างฝายและอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่า

14 มิ.ย. 2560 | 23:00 น.
นาย พิทักษ์ พฤทธิสาริกร กรรมการผู้จัดการกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย กล่าวว่า "จากเจตนารมณ์ในการเป็นองค์กรที่สร้างสรรค์คุณค่าอยู่คู่สังคมไทย กลุ่มบริษัทฮอนด้าในประเทศไทย จึงร่วมกันจัดตั้ง “กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย” ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นกองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือพี่น้องชาวไทยเมื่อประสบภัยพิบัติตามธรรมชาติมาโดยตลอด

Main Photo 2

โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำลุ่มน้ำปราจีนบุรีนี้ถูกจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการสร้างฝายหินก่อ ฝายภูมิปัญญา บวชป่าและปลูกต้นไม้ เพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ป่าต้นน้ำ และชะลอการไหลของแหล่งน้ำสาขาที่เชื่อมต่อคลองสายสำคัญด้านล่างเพื่อให้ชุมชนดงขี้เหล็กมีน้ำเก็บไว้ใช้ เพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คาดว่าจะมีพื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์กว่า 1,565 ไร่ ครอบคลุม 3 หมู่บ้าน กว่า 450 ครัวเรือน”

HKKT 1
ด้านนายวีระ วงศ์แสงนาค กรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า “มูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ ได้คัดเลือกตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 60 ชุมชนแกนนำ ขยายผลได้ 932 หมู่บ้าน ร่วมดำเนินงานเป็นเครือข่ายการจัดการทรัพยากรน้ำชุมชน ตามแนวพระราชดาริ โดยใช้กรอบคิด กรอบงาน และหลักการทรงงาน เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร ดิน น้ำ ป่า มาประยุกต์ใช้ อาทิ การพึ่งตนเอง การคิดให้เชื่อมโยงกัน การใช้ธรรมชาติแก้ธรรมชาติ การจัดงานให้เหมาะสมกับภูมิสังคม การลงมือทำและสร้างตัวอย่างความสำเร็จ จนขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นได้ เกิดเป็น “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งปัจจุบันมี 13 แห่ง กระจายอยู่ทุกภาคของประเทศไทย”

HKKT 5

HKKT 9

โดยกิจกรรมจิตอาสาที่ห้วยเกษียร ตำบลดงขี้เหล็ก ในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2558 โดยกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทยจำนวนกว่า 23 ล้านบาท ดำเนินการใน 3 พื้นที่ครอบคลุมตำบลนาแขมและเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี และตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี โดยการสร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกหญ้าแฝกและไม้ยืนต้น ตลอดจนบวชป่า คาดว่าหลังจากดำเนินการเสร็จในปี 2560 จะช่วยสำรองน้ำในพื้นที่ให้เกษตรกรมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมหลาก รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับประโยชน์ 17,658 ไร่ เพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำรวม 3,529,750 ลบ.ม.ต่อปี มีชาวปราจีนบุรีได้รับประโยชน์กว่า 4,935 ครัวเรือน