“พรเพชร”ท้วงตัดผู้พิพากษาฯพ้นทีมสรรหากกต.

09 มิ.ย. 2560 | 08:25 น.
สนช.ถกร่างพ.ร.บ.กกต. “พรเพชร”ทักท้วงปมตัดผู้พิพากษาอาวุโสออกจากคกก.สรรหา ก่อนโยนให้เป็นเรื่องที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาชี้ขาดส่งผู้พิพากษาฯร่วมทีมสรรหาหรือไม่

ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ( สนช.) ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช. เป็นประธาน วันนี้(9 มิ.ย.) ได้พิจารณา ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2

[caption id="attachment_159959" align="aligncenter" width="396"] นายพรเพชร วิชิตชลชัย นายพรเพชร วิชิตชลชัย[/caption]

นายตวง อันทะไชย ประธานกมธ. ชี้แจงว่า ร่างพ.ร.บ.กกต. มีทั้งหมด 78 มาตรา มีการแก้ไขเพิ่มเติม 18 มาตรา มีกรรมาธิการฯ เสียงข้างน้อย สงวนความเห็น 3 คน และมีสมาชิกสนช. ขอสงวนคำแปรญัตติ 14 คน ส่วนใหญ่แปรญัตติในมาตราที่เกี่ยวข้องกับดำรงอยู่ขอกรรมการ กกต.หลังร่างพ.ร.บ.ประกาศใช้

จากนั้น เปิดโอกาสให้สมาชิกอภิปรายเรียงรายมาตรา โดยในมาตรา 12 ว่าด้วยการสรรหากรรมการ กมธ.ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ ให้คณะกรรมการสรรหา เลือก กกต.ด้วยการลงคะแนนแบบเปิดเผย พร้อมบักทึกเหตุผลของคณะกรรมการสรรหาแต่ละคนไว้เป็นหลักฐานด้วย นายธานี อ่อนละเอียด สนช.อภิปรายแสดงความเป็นห่วงว่า จะไม่มีใครกล้าเป็นคณะกรรมการสรรหา เพราะต้องบันทึกเหตุผล เกรงว่าเป็นหลักฐานและถูกดำเนินคดีได้ อีกทั้งยังกังวลว่าจะเป็นบรรทัดฐานให้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆ ยึดแนวทางนี้ จึงเสนอให้ตัดเนื้อหาความดังกล่าวนี้ออกไป

ขณะที่นายพรเพชร ได้ท้วงติงประเด็นที่ กรธ.ตัดผู้พิพากษาอาวุโสออกจากคณะกรรมการสรรหา และส่งผลให้พวกเขามาทวงถามที่ตนได้ นอกจากนี้ยังเป็นกังวลว่าหากกระบวนการเลือก กกต.หลายรอบจนกว่าจะได้ กกต.ครบ ทำให้ กกต.ชุดเก่ารักษาการไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ อย่างนี้จะแก้ปัญหากันอย่างไร

ทั้งนี้หลังนายพรเพชร พูดจบ ได้สั่งพักการประชุมเป็นเวลา 15 นาที เพื่อหาทางออก แต่ใช้เวลาในการหารือถึง 50 นาที

จากนั้นสนช.กลับมาประชุมอีกครั้ง โดยกมธ.ยอมแก้ไขข้อความให้คณะกรรมการสรรหา ลงคะแนนแบบเปิดเผยและบันทึกเหตุผลเฉพาะบุคคลที่ได้รับการสรรหา ส่วนคนไม่ได้รับการสรรหาก็ไม่ต้องบันทึกเหตุผล ทั้งนี้คนที่ไม่ได้รับการเลือกในชั้นคณะกรรมการสรรหา สามารถกลับมาสมัครได้ และในกรณีที่ กกต.ยังสรรหาไม่ครบ 7 คน เพราะเกรงว่าจะไม่มีคนที่มีคุณสมบัติ ครบตามรัฐธรรมนูญมาสมัคร จึงกำหนดเอาไว้เพียงกรณีที่บุคคลที่ไม่ผ่านขั้นตอนความเห็นชอบของวุฒิสภาไม่สามารถกลับเข้ามาสมัครใหม่ได้

ส่วนเรื่องการตัดผู้พิพากษาอาวุโสออกไปนั้น ทางกมธ.ได้ชี้แจงว่าได้มอบให้อยู่ในอำนาจของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เป็นผู้พิจารณา ว่าจะส่งผู้พิพากษาอาวุโสมาร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาหรือไม่