เปิดใจ 2 เทคสตาร์ตอัพ ปั้นระบบ Food Solution เสริมเขี้ยวร้านอาหาร

10 มิ.ย. 2560 | 05:00 น.
เป็นเพราะมูลค่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2560 สูงถึง 3.97 แสนล้านบาท เติบโตจากปี 2559 ประมาณ 2-4% แบ่งเป็นร้านอาหารขนาดกลางและเล็กประมาณ2.75 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น69% ของตลาดรวม ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะไม่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการ แต่จะใช้คนบันทึกข้อมูลตั้งแต่การรับออร์เดอร์ลูกค้า การเช็กสต๊อกวัตถุดิบ การทำบัญชี และการรับชำระเงินด้วยเงินสด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการ

Krid-Pic-3 นั่นจึงเป็นที่มาที่ธนาคารกสิกรไทย และบริษัท แอดวานซ์อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)หรือ เอไอเอส ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ 2 เทคสตาร์ตอัพคือ FoodStory และ FlowAccount เพื่อพัฒนาระบบ Food Solution ในการช่วยบริหารจัดการร้านอาหารครบวงจรครั้งแรกของไทย

อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นายฐากูร ชาติสุทธิผลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบายจำกัด เจ้าของซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารจัดการร้านอาหาร “Food-Story” และนายกฤษฎา ชุตินธรกรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ฯ ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้

[caption id="attachment_157691" align="aligncenter" width="503"] นายฐากูร ชาติสุทธิผลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบายจำกัด นายฐากูร ชาติสุทธิผลประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ลีฟวิ่ง โมบายจำกัด[/caption]

++จุดเริ่มต้น
ฐากูร: ก่อนหน้านี้ ยังไม่มีแพลตฟอร์มสำหรับร้านอาหารที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ซึ่งปัญหาและอุปสรรคที่ได้เจอในร้านอาหารบ่อยๆ คือเรื่องของการสั่งอาหาร การเรียกเช็กบิลที่ต้องใช้ระยะเวลารอนานจึงเกิดเป็นความคิดที่จะสร้างระบบเพื่อมาช่วยบริหารจัดการและอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจร้านอาหารให้ง่ายขึ้น

++ระบบการทำงานเป็นอย่างไร
ฐากูร: สำหรับการให้บริการของ Food Solution ประกอบด้วยเทคโนโลยี 4 ส่วนหลักที่เข้ามาใช้ทำงานร่วมกัน คือ 1.Food Story จะดูแลเรื่องระบบบริหารจัดการร้านอาหาร โดยทำงานบนไอแพด การรับออร์เดอร์และส่งออร์เดอร์ไปที่ระบบหลังร้านเพื่อปรุงอาหาร ขณะเดียวกันระบบจะตัดยอดวัตถุดิบในสต๊อกซึ่งจะเป็นการช่วยลดระยะเวลาและความผิดพลาด 2.Flow Account ที่ดูแลเรื่องของระบบบัญชีออนไลน์โดยการเชื่อมต่อกับ FoodStory ซึ่งจะมีการอัพเดตยอดขายและต้นทุนของร้านเข้าระบบบัญชีออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาลงบัญชีด้วยตัวเองเมื่อสิ้นสุดการขายในแต่ละวัน

ส่วนที่ 3 ธนาคารกสิกรไทย ให้บริการรับชำระเงินด้วย mPOS ซึ่งรองรับการชำระได้ทั้งบัตรเครดิตหรือเดบิตผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับไอแพด อีกทั้งการเชื่อมต่อผ่าน API กับระบบบญั ชีออนไลน์ FlowAccount ของลูกค้ากับบัญชีที่ผู้ประกอบการที่ผูกไว้กับแอพพลิเคชัน K PLUS SMEซึ่งจะสามารถชำระยอดค้างจ่ายที่มีในระบบของ FlowAccount ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และ 4.คือระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจาก เอไอเอส ที่จะเชื่อมต่อการทำงานของระบบการให้บริการทั้งหมดเข้าด้วยกันแบบไร้รอยต่อเมื่อมีการเชื่อมต่อกับทุกระบบเข้าด้วยกันจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานนั้นถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วขึ้น

++เป้าหมาย
ฐากูร: เป้าหมายของการพัฒนาระบบ Food Solution คือเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอีในการเชื่อมต่อระบบแบบครบวงจร ซึ่งตามหลักของธุรกิจเอสเอ็มอีนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการมีความต้องการมากที่สุดคือระบบที่จะเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจ ทั้งการจัดทำบัญชีเพื่อส่งให้กรมสรรพากร ดังนั้น Food Solution นั้นจะเข้ามาช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆทั้งการชำระเงิน ยอดขาย และรายจ่ายที่สามารถตรวจสอบได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นความสะดวกสบายที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลยกับการร่วมมือกันในครั้งนี้นายฐากูร กล่าว

[caption id="attachment_157692" align="aligncenter" width="335"]  กฤษฎา ชุตินธรกรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ฯ กฤษฎา ชุตินธรกรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท โฟลว์แอคเคาท์ฯ[/caption]

++ประสิทธิภาพมากแค่ไหน
กฤษฎา: เจ้าของร้านอาหารจะสามารถบริหารจัดการได้ดีขึ้นทั้งในเรื่องของการบริการลูกค้า การสั่งอาหาร การรับชำระเงิน รวมไปถึงระบบหลังบ้านอย่างการจัดทำบัญชีหรือตรวจสอบสต๊อกสินค้าที่ผู้ประกอบการจะทำได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลาในการทำงานมากขึ้น ซึ่งจะครอบคลุมฟังก์ชันหลักๆ ของร้านอาหารเล็กๆ ให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับร้านอาหารที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้เลย ด้วยเงินลงทุนที่ไม่แพง เริ่มต้นเพียงเดือนละ 1,779 บาท ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเจ้าของกิจการที่ยังไม่มีระบบในการบริหารจัดการเลย ที่จะหันมาลองใช้งานระบบ Food Solution ด้วยต้นทุนที่ตํ่าและการใช้งานที่ง่ายด้วยอุปกรณ์อย่างไอแพดหรือสมาร์ทโฟน

สำหรับระบบ Food Solution ที่พัฒนาร่วมกันครั้งนี้เป็นครั้งแรกของการให้บริการโซลูชันแบบครบวงจรและไม่ได้มีการคิดค่าบริการจากผู้ใช้งานเพิ่มเติม โดยผู้ประกอบการสามารถชำระค่าบริการได้แบบรายเดือนตามขนาดของแพ็กเกจที่เลือกใช้กับทางเอไอเอส อีกทั้งข้อมูลทั้งหมดมีการเชื่อมต่อถึงกันได้โดยไม่ต้องแยกชำระค่าบริการของแต่ละระบบให้ยุ่งยากอีกต่อไป

++คาดหวังอย่างไร
กฤษฎา: เบื้องต้นนั้นกระแสตอบรับเป็นไปในทิศทางบวก โดยมีผู้ประกอบการให้ความสนใจ กับการร่วมมือกันของทั้ง 3 โซลูชัน ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาที่ผู้ประกอบการกำลังเผชิญอยู่ซึ่งเราต้องการให้ผู้ประกอบการเข้าใจภาพลักษณ์ของการดำเนินธุรกิจ เพราะโลกในปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก เดิมทีในการตรวจสอบยอดขายอาจจะตรวจสอบเป็นรายเดือน แต่ในปัจจุบันเราต้องตรวจสอบยอดขายเป็นรายวันหรือรายชั่วโมงเพื่อให้ทราบถึงผลตอบรับจากโปรโมชัน หรือความเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที

อย่างไรก็ตามค่อนข้างมั่นใจกับการร่วมมือกันครั้งนี้เพราะทางเอไอเอส และธนาคารกสิกรไทยนั้นถือว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพในการให้บริการ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการได้แน่นอน อยากให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ระบบในการบริหารจัดการอย่าง Food Solution ให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้มีเวลาในการบริหารงานในส่วนอื่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,268 วันที่ 8 - 10 มิถุนายน พ.ศ. 2560