ขบ.เผยเดือนเม.ย.จัดเก็บภาษีรถได้กว่า 406 ล้าน

22 พ.ค. 2560 | 04:30 น.
กรมการขนส่งทางบก ระบุ!ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครนิยมมาใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีที่สำนักงานของกรมฯมากที่สุด เฉพาะเดือนเมษายน 60 สามารถจัดเก็บภาษีรถได้กว่า 406 ล้านบาท รองลงมาเป็นช่องทาง “เลื่อนล้อ ต่อภาษ" ชำระภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ และหน่วยรับชำระภาษีเคลื่อนที่ตามโครงการ“ช็อปให้พอ แล้วต่อภาษี” พร้อมสนับสนุนและพัฒนาการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาให้บริการประชาชนหลากหลายยิ่งขึ้น

[caption id="attachment_152952" align="aligncenter" width="503"] นายณันทพงศ์ เชิดชู นายณันทพงศ์ เชิดชู[/caption]

นายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) กล่าวว่า จากการที่ได้อำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเลือกชำระภาษีรถประจำปีได้หลากหลายช่องทางนั้น ผลปรากฏว่าเดือนเมษายน 2560 ประชาชนยังคงนิยมใช้บริการรับชำระภาษีรถยนต์ ณ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 5 ของขบ.มากที่สุด จำนวน 434 แสนราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 406 ล้านบาท รองลงมาเป็นการใช้บริการรับชำระภาษีรถผ่านช่องทาง “เลื่อนล้อ ต่อภาษี” (Drive Thru for Tax) ชำระภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถ จำนวน 6 หมื่นราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 109 ล้านบาท และการใช้บริการชำระภาษีรถที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์ – อาทิตย์ตามโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) มีประชาชนมาใช้บริการจำนวน 3.8 หมื่นราย จัดเก็บภาษีรถได้ทั้งสิ้น 57 ล้านบาท การรับชำระภาษีรถผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่เว็บไซต์ www.dlte-serv.in.th สามารถจัดเก็บภาษี ได้ทั้งสิ้น 13 ล้านบาท ส่วนที่ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน ที่ให้บริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 15.00 น. จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 11 ล้านบาท ส่วนช่องทางอื่นๆ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส สามารถจัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 7 ล้านบาท และการรับชำระภาษีรถที่ไปรษณีย์และผ่านโทรศัพท์มือถือ จัดเก็บภาษีได้ทั้งสิ้น 1 ล้านบาท

รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวเพิ่มเติมว่า ขบ.มุ่งพัฒนาคุณภาพการให้บริการให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อราชการได้รับความสะดวก รวดเร็ว ด้วยการนำระบบ QR Code ใช้เป็นช่องทางเข้าถึงแอพพลิเคชั่น DLT eForm แอพพลิเคชั่นที่ให้บริการด้านทะเบียนและภาษีรถ นอกจากนี้ได้จัดตั้ง“ศูนย์ราชการสะดวก (Government Easy Contact Center : GECC)” ในการให้บริการประชาชนที่มาติดต่อสอบถามข้อมูล พร้อมให้คำแนะนำต่างๆ โดยมีการจัดตั้งศูนย์ราชการสะดวก (GECC) ที่กรมการขนส่งทางบก จตุจักร สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 – 4 และสำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ

"สำหรับเจ้าของรถที่มีความประสงค์ชำระภาษีรถล่วงหน้าก็สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน และต้องเป็นรถที่ไม่ค้างชำระภาษีรถเกินกว่า 1 ปี สำหรับรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี ต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ซึ่งปัจจุบันมีระบบการรายงานผลแบบออนไลน์ ทำให้เจ้าของรถได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น" รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าวในที่สุด