TPIPPเดินหน้าขยายโรงไฟฟ้าอีก 3 โรงเพิ่มกำลังผลิต440 MW

04 เม.ย. 2560 | 15:07 น.
บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ หรือ TPIPP ผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงาน เชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเ ชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ฯ 5เม.ย.นี้ ด้านผู้บริหารเดินหน้าขยายอาณาจั กรโรงไฟฟ้า เร่งก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อีก 3 โรง คาดเริ่ม COD ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ ดันกำลังการผลิตติดตั้งเพิ่มเป็ น 440 MW จากปัจจุบันอยู่ที่ 150 MW พร้อมลงทุนปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลัง งานความร้อนทิ้งที่มีอยู่เดิมแล ะติดตั้งเครื่องคัดแยกขยะเพื่อใ ช้งานที่หลุมฝังกลบของบริษัทจั ดการขยะ รวมถึงเตรียมลงทุนซื้อหม้อผลิตไ อน้ำเพื่อเพิ่มความมั่นคงในการผ ลิตกระแสไฟฟ้า

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการ บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมนำหุ้นเข้าทำการซื้อขายในต ลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวั นที่ 5 เมษายนนี้ เป็นวันแรก โดยใช้ชื่อย่อ ‘TPIPP’ ในการซื้อขาย หลังได้เสนอขายหุ้น IPO จำนวน 2,500 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 1 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจั ดสรรหุ้น ประชาชนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน ในราคาหุ้นละ 7 บาท และได้รับความสนใจอย่างคึกคัก โดยบริษัทฯ จะนำเงินที่ได้จากการระดมทุน ไปใช้ลงทุนในโครงการต่างๆ และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนรวมถึ งชำระหนี้คงค้าง

ทั้งนี้ TPIPP เป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าพลั งงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมถึงธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเ ชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจตามแนวทาง ‘ขยะเป็นศูนย์’หรือ Zero Waste เพื่อเป็นผู้นำในธุรกิจผลิตและจำ หน่ายไฟฟ้าโดยใช้พลังงานหมุนเวี ยนที่สะอาด และมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตไฟฟ้า รวมถึงคำนึงถึงหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดี มีรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้ อม

“เรามีวิสัยทัศน์ก้าวเป็นผู้นำธุ รกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยใช้พลังงานหมุนเวียนที่สะอาด และมีประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตไฟฟ้า จากการนำขยะจากชุมชนและขยะจากหลุมฝังกลบมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิง RDF ที่มีค่าความร้อนสูง เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะเดียวกัน เรามีจุดยืนการทำธุรกิจด้วยแนวคิ ด Clean and Green Energy, Clean Up Country ที่จะช่วยลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นจำนวนมากในแต่ละวัน” นายประชัย กล่าว

คุณภากร เลี่ยวไพรัตน์ นายภากร เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP กล่าวว่า บริษัทฯ มีธุรกิจหลัก 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ได้แก่ ธุรกิจโรงไฟฟ้าที่มุ่งเน้นโรงไฟ ฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ (RDF) และโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีโรงไฟฟ้าที่ COD แล้ว 4 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 150 MW ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขย ะ 2 โรง กำลังการผลิตติดตั้งโรงละ 20 MW และ 60 MW รวมเป็น 80 MW ปัจจุบันมี กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าจำนวน 73 MWและได้รับส่วนเพิ่มราคารับซื้อไ ฟฟ้า (Adder) ที่ 3.50 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เพิ่มเติมจากค่าไฟฟ้าพื้นฐานเป็ นเวลา 7 ปีนับจากวันที่เริ่มซื้อขายไฟฟ้ า และมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งอีก 2 โรง กำลังการผลิตติดตั้งโรงละ 40 MW และ 30 MW รวมเป็น 70 MWโดยมี บมจ.ทีพีไอ โพลีน เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้า

พร้อมกันนี้ บริษัทฯ ยังมีสถานประกอบการผลิตเชื้อเพลิ ง RDF ที่นำขยะจากชุมชนและขยะจากหลุมฝั งกลบในพื้นที่ต่างๆ มาผ่านกระบวนการคัดแยกและแปรรูป เป็นเชื้อเพลิง RDF เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟ ฟ้า โดยปัจจุบันมีความสามารถรับขยะชุ มชนเข้าสู่กระบวนการผลิต 4,000 ตันต่อวัน สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF ได้ 2,000 ตันต่อวัน

ส่วนธุรกิจหลักกลุ่มที่สองคือ ธุรกิจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพ ลิงและก๊าซธรรมชาติ (NGV) ภายใต้เครื่องหมายการค้า ‘ทีพีไอพีแอล’ (TPIPL) รวม 12 แห่ง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากการขายอินทรียวัต ถุที่เหลือใช้จากสถานประกอบการผ ลิตเชื้อเพลิงRDF ให้แก่บริษัท ทีพีไอ โพลีน ชีวะอินทรีย์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ.ทีพีไอ โพลีน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบผลิตปุ๋ยชี วภาพ โปรไบโอติกส์เพื่อการเลี้ยงสัตว์ และการกำจัดสิ่งปฏิกูลในน้ำอี กด้วย

กรรมการผู้จัดการใหญ่ TPIPP กล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงไฟฟ้าอีก 3 โรง คาดจะเริ่ม COD ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ทั้งหมด ส่งผลให้มีกำลังการผลิตติดตั้งเ พิ่มขึ้นอีก 290 MW รวมเป็น 440 MW ประกอบด้วย 1.โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจาก ขยะ 70 MW ซึ่งหลังก่อสร้างแล้วเสร็จจะนำกำ ลังการผลิตติดตั้งไปรวมกั บโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้ง 30 MW เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจ ากขยะ 100 MW เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าให้ กฟผ. 2.โรงไฟฟ้าถ่านหิน 150 MW และ 3.โรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 70 MW ที่ออกแบบให้ผลิตไฟฟ้าสำรองป้อน ให้แก่โรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิ งจากขยะ 60 MW หรือโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจ ากขยะ 70 MW โรงใดโรงหนึ่ง ในกรณีที่เครื่องจักรชำรุด

ทั้งนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างขยายสถานประกอบการผลิตเชื้อเพลิง RDF ให้สามารถรับขยะชุมชนได้เพิ่มขึ้นเป็น 6,000 ตันต่อวัน จากเดิม 4,000 ตันต่อวัน ซึ่งจะนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง RDF เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ตันต่อวัน จากเดิม 2,000 ตันต่อวัน นอกจากนี้ ยังมีแผนปรับปรุงโรงไฟฟ้าในปัจจุบัน ได้แก่ การปรับปรุงโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนทิ้งเพื่อเพิ่มอัตราการใช้ กำลังการผลิตไฟฟ้าและโครงการติดตั้งเครื่องคัดแยกขยะเบื้องต้นเพื่อใช้งานที่หลุมฝังกลบของบริษัทจัดการขยะ คาดว่าทั้ง 2 โครงการจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2ปีนี้ รวมถึงมีโครงการลงทุนซื้อหม้อผลิ ตไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิง RDF อีก 2 เครื่อง เพื่อสำรองให้กับโรงไฟฟ้าพลังงานเชื้อเพลิงจากขยะ 60 MW และ 70 MW คาดว่าจะเริ่มเปิดดำเนินการได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2561

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกั นการจำหน่าย กล่าวว่า ธุรกิจของ TPIPP มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี  เนื่องจากอยู่ระหว่างขยายโรงไฟ ฟ้าอีก 3 โรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผลการดำเนินงาน ในอนาคต ประกอบภาครัฐมีนโยบายให้การส่งเ สริมธุรกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังง านหมุนเวียน ที่เป็นส่วนสำคัญในแผนพัฒนากำลั งการผลิตไฟฟ้าของประเทศและเป็นช่ วยลดการพึ่งพาการนำเข้าพลังงานซึ่ งเป็นเป้าหมายของประเทศ รวมถึงยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจ ากแนวโน้มความต้องการใช้ไฟฟ้าใน ประเทศระหว่างปี 2557-2579 ที่คาดว่าจะเพิ่มในอัตราเฉลี่ยร้ อยละ 2.7 ต่อปี

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าของ TPIPP มีจุดเด่นและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน โดยมีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการขยะ ตลอดจนสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่มี ความเหมาะสมในการคัดแยกขยะในประ เทศไทย และสามารถนำมาแปรรูปเป็นเชื้อเพ ลิง RDF ที่ให้ค่าความร้อนสูงซึ่งจะส่งผลดีต่อการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ TPIPP ยังได้รับประโยชน์จากการจัดหาความร้อนทิ้งในกระบวนการผลิตปูนซี เมนต์ และการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ บมจ.ทีพีไอ โพลีน ในฐานะบริษัทแม่อีกด้วย

นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายแล ะรับประกันการจำหน่าย กล่าวว่า TPIPP เป็นบริษัทฯ ที่มีศักยภาพการเติบโตที่ดี เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการดำ เนินธุรกิจด้านโรงไฟฟ้าพลั งงานเชื้อเพลิงจากขยะและโรงไฟฟ้ าพลังงานความร้อนทิ้ง โดยปี 2559 TPIPP มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างก้า วกระโดด โดยมีกำไรสุทธิ 1,824.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 270% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อนที่มีกำไรสุทธิ 493.36 ล้านบาท และมีรายได้รวม 4,433.32 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58.62% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ที่ผ่านมาที่มีรายได้รวม 2,794.83 ล้านบาท