สมุดภาพ สรรเสริญพระบารมี เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง

26 มี.ค. 2560 | 02:00 น.

ร้อยเรื่องเล่า ล้านเรื่องราว
การผนึกพลังครั้งสำคัญ
สู่การรวบรวมพระบรมฉายาลักษณ์ใน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ
ที่มีค่ายิ่งต่อดวงใจปวงพสกนิกรไทยทั้งชาติ
สมุดภาพเทิดพระเกียรติ “สรรเสริญพระบารมี”


MP29-3247-b ภาพประชาชนหลายแสนคนมุ่งหน้าสู่พระบรมมหาราชวังและตลอดเส้นทางจากโรงพยาบาลศิริราชเพื่อรับขบวนพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ สิ่งหนึ่งที่ปรากฏชัดคือในมือประชาชนแต่ละคนล้วนมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ บ้างก็นำธนบัตรที่มีอยู่ติดตัวมาเพ่งพิจารณา พร้อมๆ กับน้ำตาที่ไหลรินไม่ขาดสาย เสียงสะอื้นดังสะท้อนก้องไปทั่วท้องถนนที่เงียบสงัดใต้ผืนฟ้าที่มืดสนิท หนังสือพิมพ์ทุกฉบับที่วางแผงในเช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ พร้อมกับข่าวที่ไม่มีประชาชนคนใดอยากรับรู้ถูกจับจองและกอดไว้แนบอกจนเกลี้ยงแผง เวลาผ่านไปเนิ่นนานเท่าไหร่มิอาจทราบได้ แต่หัวใจที่รอคอยได้หยุดเวลาไว้ที่ถนนเบื้องหน้า เพ่งมองการเคลื่อนตัวของวงล้อที่ค่อยๆ เคลื่อนออกมาจากประตูโรงพยาบาลศิริราชการเฝ้ารอส่งขบวนเสด็จฯ สุดท้ายสู่พระบรมมหาราชวัง

สมุดภาพเทิดพระเกียรติชุดสรรเสริญพระบารมี นับเป็นงานชิ้นแรกที่ทุกสื่อในเครือ “สปริง กรุ๊ป” ซึ่งประกอบด้วย สถานีข่าวสปริงนิวส์ ทีวีดิจิทัล ช่อง ๑๙ สถานีวิทยุ สปริงเรดิโอ เอฟ เอ็ม ๙๘.๕ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ นิตยสารชั้นนำในเครือ MEI หนังสือพิมพ์ไลฟ์สไตล์รายสัปดาห์แจกฟรี BLT และกลุ่มสื่อพันธมิตรซึ่งดำเนินธุรกิจด้านป้ายโฆษณา อย่าง บริษัท อควา คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รวมถึงบริษัท แอปริคอท จำกัด บริษัทผู้ผลิตสื่อโฆษณามืออาชีพ ได้ร่วมมือผนึกกำลังอย่างเป็นทางการ

MP30-3247-h กว่าจะเป็นสมุดภาพเทิดพระเกียรติ
สรรเสริญพระบารมี


"การตระหนักในหน้าที่สื่อมวลชนในช่วงเวลาที่มีความหมายยิ่งกับคนไทยทุกคนนี้ สิ่งที่พวกเราชาว สปริง กรุ๊ป จะทำได้คือการร่วมกันสร้างสิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่จะเป็นบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญและส่งต่อเป็นความทรงจำอันมีค่ายิ่งของคนไทยตราบชั่วลูกชั่วหลาน"

ใช่วงบ่ายของวันอังคารที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ การระดมคณะทำงานที่ผ่านการคัดสรรจากแต่ละส่วนงานของ สปริง กรุ๊ป เริ่มต้นขึ้น ภายใต้เจตจำนงอันยิ่งใหญ่ของ คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในฐานะประธานกรรมการโครงการสมุดภาพเทิดพระเกียรติชุดสรรเสริญพระบารมี และ คุณวทันยา วงษ์โอภาสี กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด รองประธานกรรมการโครงการฯ ที่มีความตั้งมั่นในการจัดทำโครงการเพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ผู้อุทิศพระองค์บำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการในฐานะพระประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยมายาวนานที่สุดในโลกถึง ๗๐ ปี และเพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ให้ขจรขจายไปทั่วโลก

[caption id="attachment_136712" align="aligncenter" width="503"] ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
ประธานกรรมการบริหารบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด[/caption]

ธนาชัย ธีรพัฒนวงศ์
ประธานกรรมการบริหารบริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด


การประกอบร่างสร้างเนื้อหาเพื่อผลิตชิ้นงานที่ดีที่สุดและมีคุณภาพที่สุด ภายใต้การรวมความจงรักภักดีของคนไทยทั้งประเทศพร้อมๆ กับการสร้างความแตกต่างในช่วงเวลาที่ทุกสื่อและทุกหัวใจต่างมุ่งตรงไปที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯเช่นเดียวกัน สู่การผนึกพลังครั้งสำคัญครั้งแรกในประเทศไทยเป็น “สมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมี” การเรียงร้อยเรื่องราวที่มีหลักการและเส้นการเล่าเรื่องที่ชัดเจนจากคณะทำงานรายการโทรทัศน์ สถานีข่าวสปริงนิวส์ การรวบรวมข้อมูลและพระบรมฉายาลักษณ์โดยคณะทำงานหนังสือฉบับพิเศษ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ และการกำหนดทิศทางการออกแบบศิลป์โดยคณะทำงานหนังสือพิมพ์ไลฟ์สไตล์รายสัปดาห์แจกฟรี BLT และนิตยสารชั้นนำในเครือ MEI เพื่อสร้างผลงานชิ้นประวัติศาสตร์โดยเครือ สปริง กรุ๊ป ได้เริ่มต้นขึ้น โดยมีคุณหรรษา ถนอมสิงห์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับดูแลสายงานโทรทัศน์และสำนักข่าวสปริงนิวส์ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และคุณพีระพัฒน์ พีระมานผู้อำนวยการฝ่ายรายการ สถานีข่าวสปริงนิวส์ เป็นผู้กำกับดูแลงานออกแบบศิลป์และเนื้อหาสมุดภาพสรรเสริญพระบารมี

 จากบทเพลงสู่การตั้งชื่อสมุดภาพ “สรรเสริญพระบารมี”
“วันนั้น อากาศมืดครึ้มไปทั่ว ไม่มีแสงแดด ทำให้แลดูครึ้มเยือกเย็น ลมเหนือที่เริ่มจะพัดในเดือนตุลาคมหยุดนิ่ง ในวันนั้นแม้แต่ใบไม้สักใบก็ไม่มีกระดิก เสียงนกเล็กๆ ที่เคยร้องอยู่ตามพุ่มไม้ก็เงียบหายไป ธรรมชาติทั่วทั้งกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะแสดงความโศกสลดในความวิปโยคอันยิ่งใหญ่”
(คึกฤทธิ์ ปราโมช, ๒๕๔๔: ๔๐๗)

เนื้อความตอนหนึ่งในนวนิยายอมตะเรื่อง “สี่แผ่นดิน” อธิบายถึงการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในเดือนตุลาคม เมื่อ ๑๐๖ ปีก่อนดูราวจะเป็นความรู้สึกเดียวกันกับความเงียบงันที่เกิดขึ้นทั่วทั้งผืนแผ่นดินไทยพระบรมมหาราชวังทั้งในยามแสงตะวันส่องฉายและในยามน้ำค้างตกแรงช่วงค่ำคืนยังคลาคล่ำไปด้วยแสงเทียนที่พลิ้วไหวไปตามกระแสลม และบทเพลงที่ทรงความหมายสะเทือนความรู้สึกของคนไทยทั้งประเทศในยามนั้น จะเป็นเพลงใดมิได้เลย ถ้าไม่ใช่บทเพลง
“สรรเสริญพระบารมี”

“ไม่ว่าจะไปที่ไหน อยู่ที่ไหน เวลาได้ยินเพลงนี้จะรู้สึกเหมือนได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ท่านอยู่เบื้องหน้า รู้สึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯที่พระองค์ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อพวกเราชาวไทยทุกคน”

จากแนวคิดของคุณหรรษา ถนอมสิงห์ หัวหน้าคณะทำงานสู่แรงบันดาลใจในการน้อมนำชื่อบทเพลง “สรรเสริญพระบารมี” เป็นจุดตั้งมั่น และหลักการในการสร้างสรรค์ผลงานครั้งสำ คัญนี้และการประชุมในตอนค่ำของวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ ท่อนสำคัญในบทเพลงสรรเสริญพระบารมีได้ถูกผนวกรวมกับแนวคิดการเล่าโดยยึดตามเส้นเวลา ของ อาจารย์ต่อ-ดร.นันทพร วงษ์เชษฐาสู่การกำหนดชื่อตอนในเล่มที่ ๑ ว่า ตอน “นบพระภูมิบาล” ถ่ายทอดเรื่องราวพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งสะท้อนความผูกพันระหว่างพระองค์กับประชาชนที่มาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ อย่างล้นหลามในทุกหนทุกแห่ง จนเกิดเป็นภาพ “นบพระภูมิบาล” น้อมกราบแทบฝ่าพระบาทพระองค์ท่านด้วยความบริสุทธิ์ใจยิ่ง

สมุดภาพเล่มที่ ๒ ประกอบด้วยตอน “เอกบรมจักริน” เรื่องราวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ตั้งแต่พระราชสมภพ และเจริญวัยเป็นยุวกษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ตอนที่ ๒ “พระสยามินทร์” การขึ้นสู่พระราชบัลลังก์ขึ้นเป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จฯ เจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยประเทศทั่วโลก ทรงเดินหน้าพัฒนาประเทศด้วยฝ่าพระบาทสู่การแก้ปัญหาความยากจนบนแผ่นดินไทยอย่างยั่งยืนและตอนที่ ๓ “พระยศยิ่งยง” เรียบเรียงพระราชกรณียกิจสำคัญและการก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนาในปี ๒๕๓๕ เมื่อดอกผลจากพระเสโทที่หลั่งริน เกิดเป็นการพัฒนาน้อยใหญ่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริกระจายตัวอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประชาราษฎร์น้อมสรรเสริญ พระเกียรติยศเกริกไกรสู่สากล

[caption id="attachment_136711" align="aligncenter" width="503"] วทันยา วงษ์โอภาสี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด วทันยา วงษ์โอภาสี
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด[/caption]

วทันยา วงษ์โอภาสี
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สปริงนิวส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด


 หลอมรวมความรู้สึก สู่ “สมุดภาพฯ”แห่งความจงรักและภักดี
การตกผลึกร่วมกันในคณะทำงานว่าต้องการเล่าเรื่องในแบบสมุดภาพ ที่ใช้ภาพดำเนินเรื่องมากกว่าการใช้เนื้อหาเป็นเส้นนำเรื่องทำให้การคัดสรรพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดมีความท้าทายกว่าเดิม คุณบุรฉัตร ศรีวิลัย บรรณาธิการสมุดภาพสรรเสริญพระบารมี เล่าว่า ความตั้งใจของการทำในขณะนั้นคืออยากให้ทุกคนที่ยังตกอยู่ในภวังค์แห่งความเศร้าโศกเสียใจมีรอยยิ้มและกำลังใจให้ลุกขึ้นสู้อีกครั้ง อยากให้ทุกๆ หน้าที่เปิดขึ้นมาได้รู้สึกว่าพระองค์ท่านทรงอยู่กับเราตลอดเวลา เป็นความสุข เป็นรอยยิ้มทุกยามเมื่อได้ระลึกถึงพระองค์ จึงตั้งใจเรียบเรียงและคัดสรรพระบรมฉายาลักษณ์ผ่านมุมมองที่รู้สึกอบอุ่น เป็นเสมือนแสงพระอาทิตย์สาดฉายให้ความอบอุ่นในยามเช้า ที่พร้อมปลอบประโลมส่งความสุขและรอยยิ้มให้กับทุกคน

MP30-3247-f “หากจุดเด่นของหนังสือคือการเรียบเรียงเนื้อหาผ่านตัวอักษรแต่ละคำ หลอมรวมเป็นประโยค เป็นบรรทัด เป็นเรื่องราวในแต่ละหน้าสำหรับสมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมีทั้งสองเล่ม คือการเล่าเรื่องในแบบของรายการโทรทัศน์ ผ่านการจัดวางจังหวะภาพ และใช้เนื้อหาเป็นองค์ประกอบเสริมให้ภาพส่งความรู้สึกสู่สายตาผู้อ่านในแต่ละหน้า หลอมรวมเป็นความรู้สึก ความทรงจำ ที่เกิดขึ้นสอดประสานระหว่างหัวใจและหัวสมองไปพร้อมๆ กัน”

MP30-3247-d สำหรับงานด้านการออกแบบนั้น คุณสิราวิชญ์เดชชนาพรสิทธิ์ ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ สมุดภาพสรรเสริญพระบารมี ได้ตีโจทย์การออกแบบในครั้งนี้ว่า ต้องการให้มีความร่วมสมัยรูปแบบตัวอักษรที่ใช้สามารถส่งผ่านความรู้สึกของคำว่า “สรรเสริญพระบารมี” ได้อย่างครบถ้วน องค์ประกอบรวมทั้งหมด โทนสีที่ใช้ในเล่มที่หนึ่งให้ความอบอุ่นผนวกรวมกับการคัดเลือกกรอบเข้าไปเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของภาพในแต่ละหน้า พร้อมๆ กับการเลือกใช้กรอบรูปแบบโพลารอยด์ การใช้คลิปเหมือนสมุดภาพสมัยก่อน การสร้างพื้นที่ให้แต่ละหน้าผ่านการจัดวางภาพพระบรมฉายาลักษณ์เล็กกลาง ใหญ่ ผนวกรวมกับตัวอักษรบรรยายภาพที่พอดี จนเกิดความลงตัวของการหลอมรวมความรู้สึกของเนื้อหาและงานศิลป์ เกิดเป็นสมุดภาพที่ให้ความอบอุ่นและรอยยิ้มสมดังที่ตั้งใจ

MP30-3247-e ในส่วนของสมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมี เล่มที่ ๒ ซึงมีเนื้อหารวมถึง ๒๕๐ หน้าคุณมาณพ จงสกุล ครีเอทีฟ ไดเร็กเตอร์ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ได้รับช่วงและผสานงานการออกแบบต่อยอดจากสมุดภาพเล่มที่ ๑พร้อมการวางเทคนิคทางการดีไซน์เสริมเนื้อหาในแต่ละตอนให้มีความหลากหลายมากขึ้น ขับความอบอุ่นของเนื้อหาเคียงคู่กับความสง่างามของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี โดดเด่นด้วยปกสีน้ำเงิน Royal Blue และลายพลิ้วไหวของมหานทีสีทันดร ชูความวิริยะอุตสาหะในการประกอบพระราชกรณียกิจตลอดรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย
MP30-3247-c ความท้าทายไม่ได้อยู่ที่เนื้อหาแต่อยู่ที่การจัดเรียงและการยืนยันความถูกต้อง
ภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีการเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตและสังคมออนไลน์นับหลายหมื่นภาพรวมถึงภาพในคลังภาพดั้งเดิมที่ทางสื่อเก็บรวบรวมไว้ได้ถูกนำมาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งพระบรมฉายาลักษณ์แต่ละภาพนอกจากสะท้อนอารมณ์และเรื่องราวในแต่ละตอนได้เป็นอย่างดีแล้ว ต้องสามารถยืนยันความถูกต้อง อาทิ วัน เดือน ปี และสถานที่ ได้อย่างชัดเจน รวมถึงบุคคลสำคัญที่อยู่ในภาพชื่อเสียงเรียงนามต้องถูกต้องซึ่งนับเป็นความโชคดียังของคณะทำงานที่ได้รับการเอื้อเฟื้อภาพพระบรมฉายาลักษณ์ส่วนหนึ่งจากคุณนภันต์ เสวิกุล ช่างภาพระดับตำนานผู้มีโอกาสถวายงานบันทึกภาพพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯในการเสด็จฯ เยือนถิ่นทุรกันดารในพื้นที่ต่างจังหวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นเวลาหลายปีพร้อมข้อมูลเชิงลึกของภาพ ทำให้สมุดภาพเล่มนี้มีเนื้อหาที่ไม่เคยปรากฏที่ไหนมาก่อน นอกจากนั้นการสะกดคำในแต่ละประโยคทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ได้รับการตรวจทานนับครั้งไม่ถ้วนหนังสือหลายสิบเล่มถูกเปิดทีละหน้า ปักหมุดเรื่องราวและภาพพระบรมฉายาลักษณ์ที่สำคัญ ก่อนนำมาตรวจทานและเรียบเรียงขึ้นใหม่อีกครั้ง

ตลอดระยะเวลา ๒ เดือนของการจัดทำสมุดภาพ หนังสือเล่มต่างๆ เพิ่มเข้ามาในห้องประชุมไม่มีที่สิ้นสุด หลายภาพเรียกน้ำตา หลายภาพเรียกรอยยิ้ม การประชุมคัดสรรที่ดำเนินติดต่อกันเกือบทั้งวันไม่ได้ทำให้พลังของคณะทำงานแต่ละคนลดลง เพราะนี่คือครั้งเดียวในชีวิตที่จะถวายงานผ่านทุกภาพและตัวอักษรส่งต่อเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนอย่างมิทรงรู้สึกเหน็ดเหนื่อย พระมหากษัตริย์ที่ทรงถือเอาทุกข์สุขของราษฎรเป็นยิ่งกว่าทุกข์สุขของพระองค์เอง พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นพลังแห่งแผ่นดิน ดังพระนาม “ภูมิพล” ที่ได้รับการสรรเสริญจากอาณาประชาราษฎร์ในทุกแว่นแคว้น

เมื่อผนวกกับงานพิมพ์อย่างพิถีพิถันโดยโรงพิมพ์ตะวันออก สมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมี เล่มที่ ๑ และเล่มที่ ๒ ที่ปรากฏสู่สายตาประชาชนชาวไทย จึงสวยงามและทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง

ตอนพิเศษ “ยงยศยงศักดามหาวชิราลงกรณ”
“...ฝนโปรยอยู่ตลอดเวลา แตรสังข์ดุริยางค์เริ่มประโคม ทหารบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีปืนใหญ่ทั้งบกและเรือยิงกันอย่างสะเทือนเลื่อนลั่นเสียงไชโยโห่ร้องก็ดังอยู่สนั่นหวั่นไหว สมใจประชาชนแล้ว เราอยากได้พระราชโอรส เราอยากได้สยามมกุฎราชกุมาร เราก็ได้ดังใจนึกพระราชาในระบอบประชาธิปไตย พระราชาของประชาชน...ดวงใจทุกๆ ดวงมีความสุข ดวงใจทุกๆ ดวงรวมกันอยู่ที่พระมหากษัตริย์ไทย”

ตอนหนึ่ง ณ ช่วงเวลาอันเป็นมงคลยิ่งโมงยามแห่งการพระราชสมภพ ในสมเด็จพระเจ้าอย่หูัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี คือจุดเริ่มต้นแห่งความปิติยินดียิ่งของประชาชนชาวไทย และในวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นทรงราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี คณะทำงานสมุดภาพฯ จึงมีแนวคิดจัดทำเนื้อหาตอนพิเศษเพื่อเทิดพระเกียรติและถ่ายทอดเรื่องราวพระราชกรณียกิจในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

การสืบค้นภาพพระบรมฉายาลักษณ์และข้อมูลพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙ จนครบเนื้อหาทั้ง ๔ ตอน ภาพที่สร้างความประทับใจให้กับคณะทำงานคือภาพที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงพระราชบิดาและพระราชมารดาตลอดรัชสมัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รอยยิ้มแห่งความปลื้มปิติของประชาชนระหว่างการรับเสด็จฯ ภาพพระหัตถ์ของพระองค์กุมมือประชาชนด้วยสายพระเนตรแห่งความเอื้ออาทร ภาพความองอาจและสง่างามของรัชทายาท พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเข้ารับราชการในกองทัพไทยเฉกเช่นเดียวกับสามัญชนชาวไทย ผู้รับใช้ประเทศชาติ สู่เนื้อหาในตอนพิเศษ “ยงยศยงศักดา มหาวชิราลงกรณ”พระบารมีเกริกไกร ทวยราษฎร์เทิดไท้ องค์ราชัน

 ครั้งแรกที่บทเพลง“สรรเสริญพระบารมี”ทั้ง ๙ รูปแบบถูกรวบรวมไว้ในที่เดียว
หนึ่งในความพิเศษของสมุดภาพฯ เล่มที่ ๒ คือ การรวบรวมเพลงสรรเสริญพระบารมี ซึ่งผ่านการขับร้องและบรรเลง รวมถึงการบันทึกเสียงขึ้นใหม่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างผลงานชิ้นประวัติศาสตร์ครั้งนี้ไปพร้อมๆ กัน คุณชยธร ธนวรเจต ผู้อำนวยการฝ่ายรายการ สถานีข่าวสปริงนิวส์ผู้คัดสรรเพลงสรรเสริญพระบารมีทั้ง ๙ รูปแบบเล่าว่า เพลงสรรเสริญพระบารมีที่มีการขับร้องและบรรเลงด้วยความจงรักภักดีของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนนั้นโดยแท้จริงแล้วมีนับร้อย นับพันรูปแบบ การคัดเลือกเพลงสรรเสริญพระบารมีซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ของการผนึกพลังกันในครั้งนี้จึงคัดสรรจากหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ

MP31-3247-b ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นจอมทัพไทย คณะทำงานได้นำเสนอการขับร้องและบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจาก ๓ เหล่าทัพ คือ กองทัพบกกองทัพเรือ และกองทัพอากาศ นอกจากนั้นความผูกพันระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันการศึกษาไทยยังแน่นแฟ้น หล่อหลอมเป็นจิตวิญญาณสร้างนักพัฒนาผ่านพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแด่นิสิต นักศึกษา ทั่วประเทศเป็นระยะเวลาหลายสิบปีจวบจนถึงปัจจุบัน จึงได้คัดเลือกงานขับร้องประสานเสียงจาก ๓ มหาวิทยาลัยเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการส่งผ่านความจงรักภักดีผ่านบทเพลงสรรเสรญิ พระบารมีคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รวมถึงการบรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าชั้นนำของไทยคือ วงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพอีกด้วย นอกจากนั้นคณะทำงานยังร่วมกันคัดสรรบุคคลที่มีโอกาสถวายงาน รังสรรค์เป็นบทเพลงสรรเสริญพระบารมีในแบบฉบับของตนเอง อาทิการบรรเลงขลุ่ยของ อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดีศิลปินแห่งชาติ ผู้มีโอกาสได้ถวายการบรรเลงขลยุ่ต่อหน้าพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ และ ผศ.ดร.ภาธร ศรีกรานนท์หนึ่งในสมาชิกวง อ.ส. วันศุกร์กับการบรรเลงแซกโซโฟนเพลงสรรเสริญพระบารมีที่บันทึกเสียงขึ้นใหม่สำหรับสมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมีเป็นการเฉพาะ

จากหนึ่งแสนความประทับใจผ่านสมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมีเล่มที่ ๑ ตอนนบพระภูมิบาล ที่มอบความอบอุ่นให้กับประชาชนทั่วประเทศในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา สู่นับล้านความประทับใจอันไม่มีที่สิ้นสุดกับสมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมีเล่มที่ ๒ ที่เตรียมพร้อมเผยแพร่สู่สายตาชาวไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก ในรูปแบบ ๒ ภาษา ๕๐,๐๐๐ เล่ม ผ่านสถานทูตไทยในต่างประเทศ สถานทูตต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศในประเทศไทย หน่วยงานราชการ โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และห้องสมุดในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

กล่าวได้ว่า “สมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมี” คือความสำเร็จครั้งสำคัญของการผนึกพลังในรูปแบบ Multi-platform ของเครือสปริง กรุ๊ป และเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เมื่อ ภาพ เนื้อหา และบทเพลงสรรเสริญพระบารมี หลอมรวมกันเป็นหนึ่ง เกิดเป็นความสมบูรณ์ของการรังสรรค์งานในครั้งนี้รวมกันในสามมิติ คือ

  มิติที่หนึ่ง
ความซาบซึ้งและความประทับใจด้านภาพซึ่งสัมผัสผ่านทางสายตาการรวบรวมภาพพระบรมฉายาลักษณ์ไม่เฉพาะเพียงเป็นส่วนหนึ่งในการบันทึกประวัติศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังทำให้พวกเราได้เห็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงทำงานหนักในฐานะผู้ปกครองแผ่นดินอย่างแท้จริงตลอดรัชสมัย

  มิติที่สอง
มิติทางโสตสัมผัสโดยการนำโอกาสครั้งสำคัญนี้รวบรวมเพลงสรรเสริญพระบารมีในเวอร์ชันที่ทรงความหมายยิ่ง กับเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ได้รับการบรรเลงและขับร้องจากสถาบัน หน่วยงาน และบุคคล ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ อย่างแท้จริง

  มิติที่สาม
มิติที่เป็นหัวใจสำคัญของการรังสรรค์สมุดภาพเทิดพระเกียรติสรรเสริญพระบารมีในครั้งนี้ คือ มิติที่อยู่ในหัวใจของคนไทยทุกคน ภาพประทับใจและภาพความทรงจำของคนไทย เมื่อจับแผ่นกระดาษแล้วค่อยๆ พลิกไปในแต่ละหน้า คือภาพเดียวกัน ภาพแห่งความจงรักภักดี ภาพแห่งความรักและภาพแห่งความรู้สึกน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ซึ่งเป็นมิติของการสัมผัสทางจินตภาพที่ประทับไว้กลางหัวใจปวงชนชาวไทยตราบนิจนิรันดร์

ติดตามการร่วมกิจกรรมเพื่อรับสมุดภาพฯ ได้ในทุกช่องทางของสื่อในเครือสปริง กรุ๊ป ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

[caption id="attachment_136706" align="aligncenter" width="503"] MP30-3247-g ภาพหน้า ๑๒[/caption]

ภาพหน้า ๑๒
เรื่องราวการเสด็จพระราชสมภพในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯในเช้าวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ หลังจากในหลวงรัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชสมภพได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมง สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงส่งโทรเลขถวายสมเด็จพระพันวัสสาฯ ว่า “ลูกชายเกิดเช้าวันนี้ สบายดีทั้งสอง ขอพระราชทานนามทางโทรเลขด้วย”

ในคราวนั้นเอง มิอาจคาดเดาได้ว่ามีสิ่งดลพระราชหฤทัยหรือทรงเล็งเห็นกาลสำคัญในอนาคตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชทานนามพระโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อครั้งที่ดำรงพระองค์เยี่ยงสามัญชนในต่างแดนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช”อันมีความหมายว่า “กลังอันยิ่งใหญ่ของแผ่นดิน”

[caption id="attachment_136704" align="aligncenter" width="503"] ภาพหน้า ๓๖ ภาพหน้า ๓๖[/caption]

ภาพหน้า ๓๖
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯเริ่มทรงฉลองพระเนตรเมื่อมีพระชนมายุราว ๑๐ พรรษาหลังจากครูประจำชั้นสังเกตว่า เวลาพระองค์จะทรงจดบันทึกจากกระดานดำ จะต้องทรงลุกขึ้นไปบ่อยๆ นอกจากนี้ระหว่างการเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่ ๑ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเคียงพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และทรงได้รับพระฉายาในหมู่ราษฎรว่า“เจ้าฟ้าแว่น”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,247 วันที่ 26 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2560