กรมทางหลวงเปิด ทล.24 (อ.นางรอง- อ.ปราสาท) เชื่อมอีสานใต้ - ตะวันออก-อาเซียน

26 ก.พ. 2560 | 12:27 น.
กรมทางหลวงเปิด ทล.24 (อ.นางรอง- อ.ปราสาท) เชื่อมอีสานใต้ - ตะวันออก-อาเซียน พร้อมจัดการแข่งขันจักรยาน ปั่นวัดใจทางหลวงหมายเลข 24 HIGHWAYS BIKE ON ROUTE 24

Still0207_00003 วันนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2560) เวลา 7.00 น. นายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีเปิดกรมทางหลวงเปิด ทล.24 (อ.นางรอง- อ.ปราสาท)พร้อมมีการแข่งขันจักรยาน ปั่นวัดใจทางหลวงหมายเลข 24 HIGHWAYS BIKE ON ROUTE 24    โดยมี   นายพิชิต  อัคราทิพย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาม นายชาติชาย  ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม  นายสราวุธ  ทรงศิวิไล รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบำรุงทาง พร้อมทั้งนายอนุสรณ์   แก้วกังวาน ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์  และนายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งผู้บริหารจากกระทรวงคมนาคม กรมทางหลวง ภาคราชการ และเอกชน ตลอดจนนักปั่นจักรยานกว่า 3,000 คน

8308 นายสราวุธ  ทรงศิวิไล  รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบำรุงทาง เปิดเผยว่า  กรมทางหลวงได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.สีคิ้ว-อุบลราชธานี ตอน อ.นางรอง - อ.ปราสาท  ระยะทางรวมกว่า 66.71 กม.โดยมีจุดเริ่มต้นที่   เริ่มจากกิโลเมตรที่ 73+283 บริเวณแยกถนนหัก ตำบลถนนหัก อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ไปสิ้นสุดที่กิโลเมตร 140 ตำบลวังแอน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์   โดยก่อสร้างเป็นทางมาตรฐานทางชั้นพิเศษ จากเดิม 2 ช่องจราจรไปกลับ เป็น 4 ช่องจราจร ก่อสร้างเป็นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต ด้านซ้ายทางก่อสร้างคันทางใหม่ 2 ช่องจราจร ผิวจราจรกว้าง 7 เมตร ไหล่ทางด้านนอกกว้าง 2.5 เมตร ไหล่ทางด้านในกว้าง 1.5 เมตร ช่วงจุดตัดทางแยกทำการก่อสร้างเป็นแบบผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็กหนา 25 ซม. งบประมาณในการก่อสร้าง 1,976 ล้านบาท

สำหรับโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 24 สาย อ.สีคิ้ว - อุบลราชธานี เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างขยายทาง 4 ช่อง จราจรระยะที่ 2 ของกรมทางหลวงระยะทาง รวม 160  กม.  กรมทางหลวงแบ่งการก่อสร้างเป็น 7 ตอนผ่านพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ – สุรินทร์ - ศรีสะเกษ ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว 3 ตอน ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ 4 ตอน คาดว่าจะแล้วเสร็จตลอดสายในปี 2562

“เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสายจะทำให้ทางหลวงหมายเลข 24 สายอำเภอสีคิ้ว - อุบลราชธานี เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์แบบของภาคอีสานตอนใต้ และเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน จะช่วยแก้ปัญหาการจราจรโดยการระบายปริมาณการจราจรจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (อีสานใต้)สู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และไปสู่ภาคตะวันออก ทำให้การสัญจรไป-มา ของประชาชนสะดวก ปลอดภัย โดยเฉพาะย่านชุมชน ได้มีการแบ่งทิศทางการจราจรชัดเจน และทำให้การขนส่งสินค้าและผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นส่งเสริมการเดินทางระหว่างประเทศอาเซียนและการท่องเที่ยวในภูมิภาคอีกด้วย   รวมถึงรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้น เป็นการพัฒนาพื้นที่ ส่งเสริมการส่งออก อีกทั้งยังส่งเสริมอุตสาหกรรม ในพื้นที่” รองอธิบดีกรมทางหลวงฝ่ายบำรุงทาง กล่าว