ต้องมนต์'ลัคเนา' (จบ) วิถีมุสลิมเปอร์เซีย แห่ง ชมพูทวีป

25 ก.พ. 2560 | 11:00 น.
การเดินทางมาเที่ยว“ลัคเนา”เมืองหลวงในรัฐอุตรประเทศ ของ “อินเดีย” ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เมื่อได้เหินฟ้าไปกับ“สายการบินไทยสมายล์”

Take a Trip ฉบับนี้จะนำคุณตามรอยวิถีชีวิตของมุสลิมเปอร์เซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติที่ปกครองเมืองแห่งนี้ในอดีต โดยจะนำคุณไปพบกับความอลังการของ “บาราอิมามบารา” (Bara Imambara) หรืออัครมัสยิด ศาสนสถานของชาวมุสลิมที่สร้างด้วยศิลปะผสมผสานระหว่างฮินดูกับมุสลิม ที่ตั้งตระหง่านโดดเด่นอยู่ในเขตเมืองเก่า ซึ่งถูกสร้างในปีค.ศ.1784 เพื่อเป็นที่อยู่ให้กับท่านอาซาฟ “Asafuddaula” เจ้าเมืองหรือสุลต่านในยุคนั้น

[caption id="attachment_132116" align="aligncenter" width="503"] “บารา อิมามบารา” (Bara Imambara) “บารา อิมามบารา” (Bara Imambara)[/caption]

อัครมัสยิดแห่งนี้เต็มเปี่ยมไปด้วยกุศโลบายในการออกแบบก่อสร้าง คุณจะเห็นว่าภายในห้องโถงซึ่งเป็นท้องพระโรงขนาดใหญ่ไร้เสาค้ำมีลูกเล่นในการก่อสร้างที่ใช้แสงสว่างธรรมชาติตามช่องหลืบกำแพงจุดสังเกตการณ์จากภายในที่มองเห็นถึงหน้าประตูทางเข้าใหญ่โดยคนนอกมองไม่เห็นบรรยากาศภายในวังคุณจะพบกับบรรยากาศความโอ่โถง และความประณีตของงานศิลปกรรมผสมผสานระหว่างฮินดูกับมุสสิม เน้นโทนสีเขียวอ่อน ลวดลายปูนปั้นประดับสวยงามตามจุดต่างๆอีกทั้งยังมีทางเดินเป็น “เขาวงกต” ภายในเพื่อป้องกันการบุกรุกถึงด้านในอาคาร ที่มีมัสยิด ขนาดใหญ่อยู่ใกล้เคียง

MP26-3239-3 ทั้งภายในพื้นที่เดียวกับบารา อิมามบารา ยังเป็นที่ตั้งของ “มัสยิดอัสฟี” (Asfi Mosque)มัสยิดโบราณขนาดใหญ่ ซึ่งมีแลนด์มาร์ก คือ “หอระฆังแฝด” สองหอสูงเด่นเป็นสง่า มีโดมบนยอดอาคารมัสยิด 3โดมโดยมัสยิดแห่งนี้ตั้งอยู่บนแท่นขั้นบันไดสูงเวลาฝนตกน้ำจะไหลลงมาอย่างงดงาม แม้เราจะไม่ได้ไปเยือนที่นี่ในเวลาฝนพร่ำ แต่ด้วยความอลังการของที่นี่ เพราะมีทั้งวังและมัสยิดรวมอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน ก็ทำให้ บารา อิมมามบารา ได้รับการยกย่องให้เป็นมัสยิดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอินเดีย และที่แห่งยังชวนเราหลงใหลได้มากมาย กับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้น

[caption id="attachment_132120" align="aligncenter" width="335"] Jawab ตรงข้ามหลุมฝังศพเจ้าหญิง Jawab ตรงข้ามหลุมฝังศพเจ้าหญิง[/caption]

อีกหนึ่งไฮไลต์ของมัสยิดที่แม้จะมีขนาดเล็กกว่า แต่ก็งดงามไม่แพ้กัน นั่นก็คือ “โชดาอิมามบารา” (ChotaImambara) อนุมัสยิดที่สร้างขึ้นในปีค.ศ. 1837 โดย “โมฮัมเหม็ดอาลีชาห์” ณ ที่แห่งนี้ คุณจะตื่นตาไปกับโดมทองขอบกระจกเป็นทอง และเครื่องประดับหลากหลายที่ทำเป็นสีเงินและทอง และราชบัลลังก์เงิน การตกแต่งภายใน ล้วนเป็นศิลปะอาหรับที่แกะสลักด้วยช่างฝีมือประณีตประดับด้วยโคมไฟที่ประกอบด้วยกระจกแลดูระยิบระยับงามจับใจ มัสยิดแห่งนี้จัดว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ทันสมัยและยังเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรักของครอบครัวกษัตริย์ด้วย

[caption id="attachment_132119" align="aligncenter" width="377"] Chota มัสยิด ใส่ผ้าคลุมเวลาเข้า Chota มัสยิด ใส่ผ้าคลุมเวลาเข้า[/caption]

ระหว่างทางที่จะไป “โชดาอิมามบารา” คุณต้องผ่านซุ้มประตูเมืองที่มีตลาดนัดย่อยๆให้คุณได้ อิ่มเอมกับการลิ้มลองอาหารพื้นเมือง ที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวอย่างเราๆร่วมปรุงอาหารด้วย ทำเอาเรารู้สึกมีความสุขจากอาหารที่ตัวเองมีส่วนร่วมโชว์ฝีมือรวมถึงเสน่ห์ของร้านค้าแบบวิถีชาวบ้าน และความใจดีของชาวลัคเนา ไม่แปลกที่จะเราจะตกหลุมรักเมืองน่ารักที่มากด้วยเสน่ห์ณ ดินแดนภารตะแห่งนี้

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,239
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม พ.ศ. 2560