เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

28 ต.ค. 2565 | 13:14 น.

ก้าวใหม่ “เกษตรฯ" จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร จังหวัดสุพรรณบุรี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านเกษตร ก้าวสู่การเกษตรยุคใหม่

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

 

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ณ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดโอกาสในการทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรในประเทศไทย เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของเกษตรกรไทย เติมเต็มความรู้เกษตรกรให้ตามทันเทคโนโลยี และนำมาใช้ได้อย่างเข้าใจ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร ที่อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

 

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

ดำเนินงานโดย บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นแห่งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชีย (แห่งแรกตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์) โดยศูนย์วิจัยฯ นี้ จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนภาครัฐในการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น โดรน สถานีอากาศอัจฉริยะ Digital application เพื่อเพิ่มคุณภาพในการทำงานด้านเกษตร สามารถเติมองค์ความรู้ให้เกษตรกรในจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวและปลูกพืชอื่นๆจำนวนมาก และศูนย์แห่งนี้ได้ขยายขอบข่ายการวิจัย ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวโพด รวมถึงพืชผักและไม้ผลต่างๆ ทั้งจะเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชนด้วย

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

“ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้น ทำให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการทำเกษตรมากขึ้นและกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และสร้างความมั่นคงของผลผลิต กระทรวงเกษตรฯ จึงมีนโยบายที่จะปรับปรุงการผลิตทางการเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และสนับสนุนให้เกษตรกรยุคใหม่รู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งเมล็ดพันธุ์ ดิน น้ำ ปุ๋ย รวมถึงลดการใช้แรงงานคน นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯยังมี 5 ยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตร

 

 

 

ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 2) ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 3) ยุทธศาสตร์ 3'S Safety/Security/Sustainability) 4) ยุทธศาสตร์บริหารเชิงรุกแบบบูรณาการทุกภาคส่วน และ 5) ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวศาสตร์พระราชา”

 

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

 

นายประภัตร กล่าวเพิ่มเติมว่า “ประเทศไทยมีพื้นที่กว่า 323 ล้านไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 149 ล้านไร่ อาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นอาชีพที่สำคัญของประเทศไทย แต่ปัญหาที่ของเกษตรกรไทย คือ มีต้นทุนการผลิตที่สูง ดังนั้นการลดต้นทุนการผลิตจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น จึงอยากฝากให้ทางบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด คิดค้น พัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ ด้วยความจริงใจและจริงจัง เพื่อผลิตยาและปุ๋ยที่ปลอดภัยต่อการทำการเกษตร เกษตรกร และผู้บริโภค”

 

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

 

ด้านนายเกออร์ก ชมิดท์ (H.E.Mr. Georg Schmidt) เอกอัครราชทูตสหพันธสาธาณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า มีความยินดีกับความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยเยอรมนีพร้อมสนับสนุนให้ประเทศไทยพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร เพื่อนำมาปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และขอบคุณกระทรวงเกษตรฯ ที่สนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกษตร ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสและกระตุ้นให้เกิดการการศึกษาวิจัยในอนาคตให้สอดรับกับความต้องการของเกษตรกรไทยต่อไป

 

 

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

ทั้งนี้ บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด เป็นผู้นำในนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร ซึ่งมีการดำเนินธุรกิจภายใต้พันธกิจหลัก “วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่ดี (Science for Better Life)” มุ่งเน้นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อช่วยเกษตรกรรับมือกับศัตรูพืชและโรคพืช ตลอดจนการนำเทคโนโลยีด้านการเกษตรใหม่ๆ มาใช้ในการทำการเกษตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและความเสี่ยง

 

เกษตรฯ จับมือ ไบเออร์ไทย เดินหน้าเปิดศูนย์วิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตร

ตลอดจนช่วยเสริมศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาบริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด ได้พัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรในหลายเรื่อง อาทิ เทคโนโลยีการปลูกข้าว เทคโนโลยีข้าวโพด (New Corn Varieties) การจัดการวัชพืชแบบผสมผสาน และโดรนเพื่อการเกษตร (Integrated Weed Management & Drone) นวัตกรรมการจัดการของเสีย (Phytobac technology) เป็นต้น และได้นำองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการวิจัยของบริษัทฯนำมาถ่ายทอดให้เกษตรกรในหลาย ๆ โครงการ