10 ม.ค.2565 - ปี 2565 เป็นอีกปี ที่ภาคธุรกิจไทยยังต้องจับตา เฝ้าระวัง ผลกระทบจากความเปราะบางของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในประเทศ จากความท้าทายใหม่ๆ ไวรัส "โอมิครอน " และ " ไวรัสกลายพันธุ์ล่าสุด เดลตาครอน" แรงเหวี่ยงดังกล่าว ย่อมส่งถึงภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เปิดบทสรุป ปี 2564 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565
นายไชยยันต์ ชาครกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์มากว่า 30 ปี กล่าวถึง ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ที่ผ่านมา ว่า เป็นปีที่เกิดรูปแบบการฟื้นตัวที่ขาดสมดุลขึ้น หรือการฟื้นตัวแบบ K-Shaped เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของหลายประเทศโดยเฉพาะกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีการฟื้นตัวได้ดี
โดยเศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีการขยายตัวได้ราว 5.9% จากที่หดตัว 3.1% ในปี 2563 ซึ่งมีประเทศสหรัฐ และประเทศกลุ่มยุโรป รวมถึง ประเทศจีนเป็นหัวหอกนำการเติบโต
ขณะที่เศรษฐกิจของอีกหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยมีการฟื้นตัวที่ช้า โดยเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขยายตัวได้เพียงเล็กน้อยที่ราว 1% จากที่หดตัวถึง 6.1% ในปี 2563 เปราะบาง ฟื้นตัวได้ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายๆประเทศ
สำหรับปี 2565 นี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าเศรษฐกิจโลก จะเติบโตลดลง อยู่ที่ 4.9% ส่วนเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ราว 4.5% ซึ่งเป็นทิศทางที่ดีกว่า หน่วยงานทางเศรษฐกิจของรัฐและเอกชนไทยประเมินไว้ ว่าปี 2565 จีดีพีไทยจะโตราว 3-4% เท่านั้น และถือว่ายังไม่กลับไปสู่ระดับปกติในช่วงก่อนเกิดการระบาด
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงเครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่
การส่งออก ประเมินว่า ปีนี้ยังเติบโตขึ้นได้ ขณะ การลงทุนของภาครัฐ มูลค่าอาจลดลง เนื่องจากในช่วงปีที่ผ่านมา มีการลงทุนกระตุ้นอย่างมาก ส่วนการบริโภคภาคเอกชน
และ การลงทุนภาคเอกชน นั้น หวังว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆของรัฐ ทั้ง การเยียวยากลุ่มอาชีพอิสระ ,คนละครึ่ง , ช้อปดีมีคืน ที่รัฐบาลออกมาอย่างต่อเนื่อง จะช่วยผลักดันให้เกิดการจับจ่าย ผลักดันเม็ดเงินออกมาในระบบ และสุดท้าย ภาคการท่องเที่ยว
จากนโยบายเปิดประเทศ หวังว่าจะทำคนในระบบ 5-7 ล้านคน มีรายได้เพิ่มขึ้น กลับมาจับจ่ายใช้สอยอีกครั้ง และดันให้จีดีพีไทยโต 3-4% ตามเป้า
เปิดปัจจัยเสี่ยงตลาดอสังหาฯ เมื่อ เงินเฟ้อ มีแนวโน้มสูงขึ้น
แต่ ทั้งนี้ นายไชยยันต์ ระบุว่า เศรษฐกิจ ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ตลอดจนการเร่งตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อทั่วโลก นำไปสู่การเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในหลายประเทศ ในขณะที่กำลังซื้อภายในประเทศที่ยังอ่อนแอจากผลกระทบของการระบาด ระดับหนี้ครัวเรือนที่ทรงตัวในระดับสูง ความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์
" สิ่งที่น่าห่วง คือ เงินเฟ้อของโลก การปรับขึ้นของราคาน้ำมัน ขณะนี้ ดีเซลลิตรละ 30 บาท สิ่งเหล่านี้ จะทำให้ข้าวของแพงขึ้น ส่งผลผู้ประกอบการต้องบริหารต้นทุน เพื่อให้ราคาสินค้าอยู่ในวงจำกัด ที่ผู้บริโภคซื้อได้ เพราะประชาชนกำลังลำบาก เงินเดือนไม่ขยับ เช่นเดียวกับ ราคาบ้าน อาจตรึงมือขึ้นมาบ้าง มีเพียงปัจจัยบวกเรื่องดอกเบี้ยไทยที่ยังยืนอยู่ในอัตราต่ำ "
ลลิล กางแผนเปิดใหม่ 10-12 โครงการ ฝ่าตลาดโต10%
สำหรับแนวโน้มการดำเนินธุรกิจของภาคอสังหาฯนั้น ล่าสุด นอกจาก โอมิครอน และมี การกลายพันธุ์ เดลตาครอน เข้ามาท้าทายใหม่ ยอมรับทำให้เอกชน เกิดความกังวล พบบางบริษัท แม้ยังมีการขยายการเติบโต แต่เป็นแบบระมัดระวังความเสี่ยงสูงสุด ภายใต้ความคาดหวังว่า ทิศทางตลาดปีนี้จะฟื้นตัวดีขึ้นกว่าปีก่อนหน้า ฉะนั้น ต้องทำการบ้านกันอย่างหนัก สำคัญสุด มองว่า คือ การควบคุมกระแสเงินสด ค่าใช้จ่ายต่างๆ ให้เหมาะสม เพราะอย่างที่ระบุข้างต้น เราอาจเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อโลก การขึ้นต่อราคาสินค้า และการขึ้นดอกเบี้ย ที่้จะเกิดผลกระทบต่อภาคใหญ่ของอสังหาฯ
อย่างไรก็ดีภาคอสังหาริมทรัพย์ มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐที่ได้มีการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอน และค่าธรรมเนียมจำนอง สำหรับที่อยู่อาศัยที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทออกไปจนถึงสิ้นปี 2565 การผ่อนปรนเกณฑ์ LTV จากธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงตลาดแนวราบที่ยังได้แรงหนุนจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยแนวสูงมาเป็นที่อยู่อาศัยแนวราบซึ่งตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ดีกว่าในยุค New Normal
รวมถึง ความพร้อมด้านสภาพคล่องทางการเงิน การหาทำเลแบบมืออาชีพ เชี่ยวชาญมาถึง 30 ปี ความแข็งแกร่งของบุคลากรภายใน และแผนธุรกิจที่เตรียมพร้อมมาอย่างดี จึง คิดว่าบริษัทจะสามารถผ่านอุปสรรคปีนี้ไปได้
โดยปีนี้ บริษัท ยังคงเน้นการขยายธุรกิจแนวราบ สำหรับการเปิดตัวโครงการใหม่ แบ่งเป็น บ้านเดี่ยว 45% ทาวน์โฮม 55% เจาะตลาดราคา 2-8 ล้านบาท โดยทำเลสำคัญ ยังเป็น กทม.- ปริมณฑล 90% เนื่องจาก ทำเลต่างจังหวัด ยังต้องประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่มีการฟื้นตัวช้ากว่า 1 ระลอก ทั้งในเมืองรอง และอีอีซี
แผนธุรกิจในปีนี้
" เรามั่นใจว่า ปีนี้ เศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัว การส่งออก การบริโภค การลงทุนภาคเอกชน ภาคท่องเที่ยว จะดันให้ จีดีพีไทยโต 3-4% เพิ่มความต้องการในตลาดอสังหาฯ โตได้ 10% โดยเฉพาะแนวราบ ผ่านแผนธุรกิจที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง ทั้งปัจจัยเงินเฟ้อ และหนี้ครัวเรือน "
แบรนด์อสังหาฯรายแรก แบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสในไทย French Colonial Style
ด้านนายชูรัชฏ์ ชาครกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ในปี 2565 นี้ จะยังคงให้ความสำคัญกับตลาดที่อยู่อาศัยในกลุ่มแนวราบที่เป็น Real Demand ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในยุค New Normal ได้ดีกว่า เพราะมีพื้นที่สีเขียวในการผ่อนคลาย และมีพื้นที่ใช้สอยที่รองรับการใช้ชีวิต ตอบสนองความต้องการในหลากหลายรูปแบบทั้งการ Work from Home และการเรียนผ่านระบบออนไลน์
ซึ่งบริษัทฯ ให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ทั้งในเรื่องความสวยงามด้านการออกแบบ และฟังก์ชันการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์แบบ โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ถือเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์รายแรกที่จุดกระแสนิยมในแบบบ้านสไตล์ฝรั่งเศสในประเทศไทยด้วยการออกแบบ French Colonial Style ที่นำความงดงามของสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่เรียบหรูมาประยุกต์เข้ากับการสร้างสรรค์ฟังก์ชันที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ชีวิตสังคมเมือง บนทำเลศักยภาพในราคาที่คุ้มค่าจับต้องได้
ทั้งนี้ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ยังคงขับเคลื่อนองค์กรภายใต้กลยุทธ์ Lalin The Next เพื่อก้าวสู่การเป็นแบรนด์อสังหาริมทรัพย์เพื่อคนไทย มุ่งหวังเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนต่อไป ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ลูกค้า คู่ค้า พันธมิตรต่างๆ ขณะเดียวกันนำเสนอนวัตกรรมการอยู่อาศัย LI (Lalin Innovation for Living) ที่ครอบคลุม 3 ส่วน ประกอบด้วย
“ในส่วนภาพรวมสถานะด้านการเงิน กล่าวได้ว่าบริษัทฯ มีความแข็งแกร่งอย่างมาก โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) เพียง 0.6 เท่า ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 1.4 – 1.5 เท่า รวมทั้งมีกระแสเงินสดสำรองเพื่อรองรับการขยายธุรกิจอีกกว่า 1,000 ล้านบาท โดยในปี 2565 นี้ บริษัทฯ ได้จัดสรรงบในการซื้อที่ดินไว้ประมาณ 1,100 – 1,300 ล้านบาท และพร้อมปรับเพิ่มให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เพื่อรองรับการขยายธุรกิจตามแผนงาน และการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ”